- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 3 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 3 months ago
- โลกธรรมPosted 3 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 3 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 3 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 3 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 3 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 3 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 3 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 3 months ago
-
มิจฉาทิฐิ / โดย พระพยอม กัลยาโณ
คอลัมน์ : สำนักข่าวพระพยอม ผู้เขียน : พระพยอม กัลยาโณ สงกรานต์ที่ผ่านไปปีนี้ได้ข้อคิดอะไรหลายอย่าง คนไทยที่รักษาจารีตประเพณีอย่างเคร่งครัด ถูกต้องเหมาะสม ไม่ทำอะไรที่พิเรนทร์หรือเสียภาพพจน์ภาพลักษณ์ของจังหวัด ของประเทศ โดยเฉพาะการรดน้ำดำหัวและเล่นน้ำที่วัดสวนแก้วมาแน่นวัด มีโยมมาสรงน้ำอาตมาติดต่อกันหลายวัน มาทำบุญทั้งที่สวนกับเศรษฐกิจไม่ดี แต่คนก็ยังมาทำบุญไม่ได้ลด มีบางกลุ่มแต่เป็นส่วนน้อยที่เล่นพิเรนทร์ เอาปลาร้า น้ำปัสสาวะไปสาด นี่ต้องเรียกว่า “มิจฉาทิฐิ” อย่างแรง คนที่มิจฉาทิฐิถือว่าเป็นอันตราย พระพุทธเจ้าบอกว่า มิจฉาทิฐิเป็นศัตรูที่ร้ายกาจของชีวิตมนุษย์เลย ใครจะทำร้ายเราได้มากเท่ากับมิจฉาทิฐิไม่มี ดูสิมันทำร้าย มันไปหาน้ำอัปรีย์อะไรมาสาดมารด เห็นผิดเป็นชอบ เห็นชั่วเป็นดี เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นน้ำปัสสาวะ น้ำมันเครื่อง น้ำปลาร้าที่เขาเอาไว้กินไว้แกงไว้ใช้ ดันเอามาสาดใส่กัน ดีที่ตำรวจจับติดคุก 15...
- Posted 8 years ago
-
รัฐซ้อนรัฐ? / โดย ทีมข่าวการเมือง
คอลัมน์ : เรื่องจากปก ผู้เขียน : ทีมข่าวการเมือง ตามหลักเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ต้องหมดสถานะการบังคับใช้ แต่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กลับมีบทบัญญัติในมาตรา 265 วรรคสอง ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สามารถใช้มาตรา 44 ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหมือนเดิมว่า “ชอบด้วยรัฐธรรมนูญปัจจุบันและชอบด้วยกฎหมาย เเละมีผลบังคับใช้ต่อไป” รัฐซ้อนรัฐ-อำนาจซ้อนอำนาจ หมายความว่ามาตรา 44 ยังมีอำนาจมากล้นจนกว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การใช้อำนาจต่างๆทั้งที่ผ่านมาและในอนาคต แม้จะขัดกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันหรือไม่ก็ถือว่าถูกต้องชอบธรรม...
- Posted 8 years ago
-
อำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ / โดย สมศักดิ์ ไม้พรต
คอลัมน์ : จับกระแสการเมือง ผู้เขียน : สมศักดิ์ ไม้พรต รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของไทยประกาศใช้แล้วอย่างเป็นทางการ ตามความเข้าใจของประชาชนทั่วไปเข้าใจเหมือนกันว่ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศ จะมีอะไรมาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ แต่นั่นเป็นความเข้าใจผิด ต้องทำความเข้าใจกันใหม่ ในยามที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะปรกติรัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุด แต่ในยามที่บ้านเมืองไม่อยู่ในภาวะปรกติรัฐธรรมนูญทั้งฉบับมีศักดิ์ศรีด้อยกว่าอำนาจที่ถูกเขียนไว้เพียงมาตราเดียวคือมาตรา 44 เป็นที่ทราบกันว่าแม้รัฐธรรมนูญใหม่จะประกาศใช้แล้วอย่างเป็นทางการ แต่อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับปี 2557 ที่สิ้นสภาพบังคับใช้ไปยังคงอยู่ และถูกรับรองโดยรัฐธรรมนูญใหม่ มาตรา 265 บทบัญญัติในมาตรา 44 ระบุว่า ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน...
- Posted 8 years ago
-
ก้าวสู่พิธีกรรมเลือกตั้ง / โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
คอลัมน์ : ถนนประชาธิปไตย ผู้เขียน : สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ หลังจากคณะทหารใช้อำนาจเผด็จการมาเกือบ 3 ปี ในที่สุดก็มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 6 เมษายน ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย สื่อมวลชนหลายสำนักอธิบายว่า สังคมไทยจะเริ่มต้นนับหนึ่งไปสู่ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการนับหนึ่งใหม่ครั้งที่ 9 นับตั้งแต่รัฐประหาร พ.ศ. 2490 และถ้าคิดว่าประเทศไทยปฏิวัติเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 การเริ่มต้นใหม่ปีนี้ก็เป็นปีที่ 85 ของระบอบรัฐธรรมนูญไทย ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเป็นการนับหนึ่งที่นำสังคมไทยฟื้นคืนสู่ประชาธิปไตยจริงหรือไม่ หรือจะยิ่งทำให้การเมืองเหลวไหลยิ่งกว่าเดิม ปัญหาประการแรกคือ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย เพราะบทเฉพาะกาลกำหนดให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังอยู่ต่อไป คณะรัฐบาลเผด็จการและสภาแต่งตั้งยังอยู่จนกว่าจะมีสภาชุดใหม่และรัฐบาลใหม่...
- Posted 8 years ago
-
ประชาธิปไตยที่แท้จริง / โดย Pegasus
คอลัมน์ : เพื่อชาติประชาชน ผู้เขียน : Pegasus รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่เกิดจากองคาพยพของฝ่ายรัฐประหารที่เป็นเผด็จการซึ่งยอมรับกันทั่วไป จึงมีบางฝ่ายมองว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่วางกับดักเพื่อสืบทอดอำนาจของเผด็จการในเสื้อคลุมประชาธิปไตยหรือไม่ การเลือกตั้งและการมีรัฐธรรมนูญไม่ได้หมายความว่าเป็นประชาธิปไตย แต่เป็นข้ออ้างของเผด็จการทั่วไปต่อชาวโลกเท่านั้น ส่วนองค์กรระหว่างประเทศหรือประเทศคู่ค้าอื่นๆจะมีส่วนกดดันฝ่ายเผด็จการให้ยอมคายอำนาจนั้นมีทางเดียวคือ ประชาชนจำนวนมากต้องถือโอกาสที่เปิดให้มีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อเตรียมการเลือกตั้ง โดยแสดงให้เห็นว่าต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยเต็มใบอย่างไร วิธีง่ายๆคือเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญปี 2540 แล้วใช้สิทธิและเสรีภาพเคลื่อนไหวในทุกประเด็นที่เสียไป การจะเคลื่อนไหวนี้พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยต้องรู้จักที่จะต่อสู้ ไม่ใช่อ้างว่าเพิ่งได้รัฐธรรมนูญใหม่ ควรทดลองใช้ระยะหนึ่งก่อนแล้วค่อยแก้ไขภายหลัง ซึ่งเป็นการหลอกลวงของพรรคการเมืองที่ฝักใฝ่เผด็จการเพื่อแสวงอำนาจเท่านั้น นอกจากการเคลื่อนไหวตามทิศทางของอุดมการณ์แล้ว สิ่งที่พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยควรทำอย่างยิ่งคือ การสร้างสาขาพรรคการเมืองเพื่อเชื่อมโยงถึงประชาชนในระดับล่างอย่างแท้จริง อย่างน้อยก็ควรใกล้เคียงกับการเป็นพรรคของมวลชน ไม่ใช่บริษัทพรรคการเมือง ซึ่งนายทุนพรรคการเมืองต้องปล่อยมือจากระบบพรรคครอบครัว และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย รวมถึงการคัดเลือกตัวแทนของพรรคมากขึ้น การกอบโกยผลประโยชน์โดยไม่สนใจสภาพแวดล้อมที่สุ่มเสี่ยงของคนส่วนน้อย ทำให้พรรคการเมืองหลายพรรคหมดพลังในการชี้นำมวลชนและอาจทำให้ถูกกวาดล้างได้โดยง่ายไม่ว่าจะมีการทุจริตหรือไม่ก็ตาม การไม่มีพลังของประชาชนเป็นหลังพิงก็คือการล่มสลายของพรรคการเมืองนั่นเอง เมื่ออุดมการณ์และทิศทางของพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยเป็นไปอย่างถูกต้องแล้ว สิ่งที่ควรจะทำคือการรณรงค์ให้เป็นประชาธิปไตยในทุกประเด็นอย่างต่อเนื่อง โดยให้เป็นนโยบายของพรรคในการหาเสียงเลือกตั้งว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย...
- Posted 8 years ago
-
เสรีภาพกับศีลธรรม / โดย สุรพศ ทวีศักดิ์
คอลัมน์ : ทรรศนะแสงสว่าง ผู้เขียน : สุรพศ ทวีศักดิ์ เห็นการถกเถียงในโลกโซเชียลมักมีคนแสดงออกว่าปกป้อง “สิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” จากคำด่าหรือคำที่ตนเองมองว่ามีความหมายในทางดูถูกเหยียดหยาม พร้อมๆกับเห็นว่าควรเอาผิดทางกฎหมายกับคนที่ใช้คำพูดหรือเขียนแบบนั้น เป็นความจริงว่าแนวคิดเรื่อง “สิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ในกรอบสิทธิมนุษยชนและเสรีประชาธิปไตยเป็น “แนวคิดเสรีนิยม” (liberalism) คำถามสำคัญมีว่า คนที่กำลังแสดงออกว่าตนเองเป็น “นักเสรีนิยม” ที่ต้องการปกป้องสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จากคำด่าหรือคำที่ตนเองมองว่ามีความหมายในทางดูถูกเหยียดหยามและควรเอาผิดทางกฎหมายกับคนที่ใช้คำเช่นนั้น พวกเขาเป็นนักเสรีนิยมจริงหรือไม่ หรือปกป้องหลักการแบบเสรีนิยมจริงหรือไม่ เพื่อตอบคำถามนี้ ผมขอคัด “แนวคิดเสรีนิยม” จากหนังสือ “ปรัชญาสาธารณะ-Public Philosophy” ของไมเคิล แซนเดล...
- Posted 8 years ago
-
ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ-การค้า / โดย เรืองยศ จันทรคีรี
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี ผมและ ดร.ณัฐวุธ วัชรกุลดิลก มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ในการค้นคว้าและศึกษาประวัติศาสตร์เราจำเป็นจะต้องมองป่าทั้งป่าให้เห็น นั่นคือการมองภาพรวมนั่นเอง ซึ่งเราต้องยอมรับว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงหนีเรื่องการเมืองและอำนาจไปไม่ได้ ดังนั้น ในการมองประวัติศาสตร์จำเป็นต้องมองไปที่เรื่องของระบบอำนาจและประวัติศาสตร์การเมืองในช่วงนั้นๆ ส่วนข้อมูลหลักฐานอื่นๆ เช่น หลักฐานทางโบราณคดี เป็นเพียงส่วนย่อยที่เราจะต้องเอาเข้ามาสนับสนุนเพื่อให้มีความสมเหตุสมผลในการอธิบายถึงความถูกต้องของข้อเท็จจริงในเรื่องอำนาจและการเมืองมากยิ่งขึ้น ถ้าเราอ่านงานประวัติศาสตร์แล้วมักจะเห็นว่านักประวัติศาสตร์กระแสหลักมองข้ามตรงนี้ คือไม่มองภาพรวมก่อน แต่ไปจับเอาเรื่องปลีกย่อย เช่นเรื่องหลักฐานโบราณคดี เอามาเป็นประเด็นหลักในการเขียนประวัติศาสตร์ แล้วเอาเรื่องหลักคือเรื่องของอำนาจและการเมืองในประวัติศาสตร์เป็นเพียงประเด็นย่อยเข้าไปสนับสนุนสมมุติฐานที่เกี่ยวข้องกับโบราณคดีของตัวเอง ตรงนี้จึงเป็นจุดผิดเพี้ยนของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วในประวัติศาสตร์มีเรื่องการเมืองอยู่ และการเมืองก็อยู่ในประวัติศาสตร์นั้นๆอย่างปฏิเสธไม่ได้ คือการเมืองและอำนาจผูกติดอยู่กับผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและการค้า ยกตัวอย่างอังกฤษและฝรั่งเศสตกลงและทำสัญญาลับๆจะใช้ประเทศไทยเป็นรัฐกันชนของตนเอง โดยแบ่งไทยออกเป็น 2 ส่วนคือ ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเขตอิทธิพลของอังกฤษ ซึ่งตอนนั้นอังกฤษยึดครองพม่าแล้ว...
- Posted 8 years ago
-
ตื่นกลัวสงครามโลก / โดย ณ สันมหาพล
คอลัมน์ : โลกไม่หยุดนิ่ง ผู้เขียน : ณ สันมหาพล เกิดการตื่นกลัวการเกิดสงครามโลกแบบไม่ได้ตั้งใจหรือโดยบังเอิญ หลังจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ ในฐานะผู้นำชาตินิยมที่ชอบชูความเป็นใหญ่และความเป็นเลิศของสหรัฐ ไม่มีใครปฏิเสธความเกรียงไกรของกองทัพและอาวุธยุทโธปกรณ์ของสหรัฐ การแสดงท่าทีของทรัมป์ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวคึกคักในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ รวมทั้งการให้ความสำคัญกับอาวุธนิวเคลียร์อีกครั้ง โดยเฉพาะเหตุการณ์เชื่อมโยงต่างๆ เมื่อทรัมป์ใช้อำนาจสั่งให้กองทัพสหรัฐยิงขีปนาวุธโจมตีซีเรีย เป้าหมายคือฐานทัพอากาศ หลังจากซีเรียปฏิบัติการโจมตีเมืองที่ฝ่ายกบฏยึดครองโดยใช้อาวุธเคมี ซึ่งเป็นอาวุธต้องห้ามของโลก ทำให้ประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายร้อยคน ในจำนวนนี้มีเด็กด้วยไม่น้อย ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้นำสูงสุดของสหรัฐจะสั่งให้ยิงขีปนาวุธเพื่อทำลายฐานที่มั่นของศัตรู สมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน ในปี 2541 หลังสถานทูตอเมริกัน 2 แห่งในแอฟริกาตะวันออกถูกกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์ระเบิดฆ่าตัวตายบุกโจมตี คลินตันสั่งให้ยิงขีปนาวุธโจมตีการประชุมของกลุ่มอัลกออิดะห์ในอัฟกานิสถาน และโจมตีโรงงานในซูดานที่สงสัยว่ามีส่วนพัวพันในการผลิตอาวุธเคมี ทำให้นักสังเกตการณ์แปลกใจในกรณีทรัมป์ เนื่องจากทราบดีว่าทรัมป์ไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติการโจมตีในลักษณะดังกล่าว ยิ่งกรณีซีเรีย ทรัมป์ไม่เห็นด้วยกับการที่สหรัฐเข้าไปพัวพันทางทหาร ซึ่งเมื่อ...
- Posted 8 years ago
-
สังคมแห่งความหวาดกลัว / โดย ประชาธิปไตย เจริญสุข
คอลัมน์ : ฟังจากปาก ผู้เขียน : ประชาธิปไตย เจริญสุข อาจารย์ณฐพงศ์มองสถานการณ์การเมืองปัจจุบันว่า ยังมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเข้มงวดและเข้มข้นภายใต้ข้ออ้างเรื่องความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง นำกฎหมายเป็นเครื่องมือในการควบคุมประชาชน โดยเฉพาะมาตรา 44 ถือเป็นการรุกคืบเชิงนโยบายทางการเมืองและการพัฒนาประเทศ เช่น เราพูดเรื่องประเทศไทย 4.0 อย่างติดปาก โดยไม่รู้ว่าในเชิงสาระเนื้อหาจริงๆคืออะไร ผมมองว่าวาทกรรมไทยแลนด์ 4.0 ยังให้ความสำคัญกับการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจในระบบทุนนิยมขนาดใหญ่ โดยปัญหารากเหง้าเดิมของสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเหลื่อมล้ำ ความยุติธรรม สิ่งแวดล้อม ไม่ได้รับการตอบสนองหรือแก้ไขมากนัก การประชุมงานสัปดาห์สิทธิมนุษยชนขององค์กรภาคีด้านสิทธิมนุษยชนกว่า 10 องค์กรที่ผ่านมา เราเห็นตรงกันว่าวันนี้สังคมไทยกำลังตกอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “สังคมแห่งความหวาดกลัว” จากการใช้อำนาจที่ไม่ปรกติ มาตรการและเครื่องมือทางกฎหมายควบคุมและจำกัดสิทธิเสรีภาพมากขึ้น ซึ่งในอนาคตอาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงมากขึ้น การเสื่อมทรุดของระบบนิติธรรมและการหยุดยั้งความเป็นประชาธิปไตยที่อาจนำสังคมไทยไปสู่ความขัดแย้งที่จะรุนแรงและร้าวลึกมากขึ้น ในภาพรวมเราอาจเห็นว่าวันนี้ดูสงบและเงียบ แต่ผมมองว่าเกิดจากการขึงและตรึงด้วยอำนาจและความกลัว...
- Posted 8 years ago
-
ประเทศทำตามอำเภอใจ / โดย สนานจิตต์ บางสพาน
คอลัมน์ : สากกะเบือยันเรือรบ ผู้เขียน : สนานจิตต์ บางสพาน ทำได้ตามใจคือไทยแท้ เรากลับคืนสู่ยุคสมัยเดิมๆของสันดานที่หยั่งรากลึกของผู้คนในประเทศนี้ ประเทศที่ทุกคน “ทำได้ตามใจคือไทยแท้” เหลือแต่พวกเจ๊กจีน ลูกครึ่ง คนอีสาน คนเหนือ คนใต้บางพวก บางกลุ่ม บางเหล่าเท่านั้นที่เป็นแค่ “ผู้อาศัย” หรือผู้พลัดถิ่นที่พลัดหลงเข้ามาอาศัยเช่าบ้านเขาอยู่ ไม่ต้องไปโทษกันและกัน เราต่างทำได้ตามใจเสมอกัน แต่ที่ไม่เสมอกันคือ ผู้คนที่มีอำนาจวาสนา มีเงินตรา มีชื่อเสียง มีปืนและมีกำลัง ทำตามใจตัวเองบ่อยครั้งและถี่กว่า นึกอยากจะทำอะไรก็ทำ นึกอยากจะสั่งให้ผู้คนส่วนใหญ่ทำอะไรก็สั่ง ไม่ทำตามก็อ้างและใช้กฎหมายมาเล่นงาน กฎหมายที่น่าจะเรียกขานกันได้ว่า “กฎหมายฉบับตามอำเภอใจ” กูจะทำอย่างนี้ กูจะเอาอย่างนี้ พวกมึงมีปัญหาไหม พวกมึงจะหือเหรอ...
- Posted 8 years ago
-
จอมโจรขวัญใจ / โดย ศิลป์ อิศเรศ
คอลัมน์ : ร้ายสาระ ผู้เขียน : ศิลป์ อิศเรศ เขาเป็นเพียงแค่ฟันเฟืองเล็กๆในเหตุการณ์ปล้นรถไฟขนเงินบันลือโลก แต่ความสามารถเฉพาะตัวที่ทำให้หลุดรอดเงื้อมมือกฎหมายไปได้ครั้งแล้วครั้งเล่าทำให้เขากลายเป็นขวัญใจของกลุ่มคนที่ไม่ปลื้มรัฐบาล โรนัลด์ บิกส์ หรือที่นิยมเรียกชื่อเล่นว่า “รอนนี่” เกิดในตระกูลผู้ยากไร้ทางตอนใต้ของกรุงลอนดอนเมื่อปี 1929 จึงไม่น่าแปลกใจที่เขาจะมีประวัติลักเล็กขโมยน้อย ไม่ว่าจะเป็นของชิ้นเล็กๆ เช่น ดินสอ ปากกา ไปจนถึงของใหญ่ เช่น รถยนต์ เรียกว่าเดินเข้าออกตะรางเป็นว่าเล่นตั้งแต่นมเพิ่งแตกพาน พออายุได้ 30 ปี รอนนี่แต่งงานมีลูกชายน่ารัก 2 คน เขาตัดสินใจเลิกอาชีพโจรโดยเด็ดขาด ก้มหน้าก้มตาหากินสุจริตด้วยการเป็นช่างทาสี แต่โชคไม่ดีนัก รายได้ไม่พอเลี้ยงดูครอบครัว งานง่าย รายได้ดี รอนนี่ตัดสินใจโทรศัพท์หาบรูซ...
- Posted 8 years ago