- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 3 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 3 months ago
- โลกธรรมPosted 3 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 3 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 3 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 3 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 3 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 3 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 3 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 3 months ago
-
กาลเวลาผันผ่าน ‘อภินิหาร’มิเคยเปลี่ยน / โดย ทีมข่าวการเมือง
คอลัมน์ : เรื่องจากปก ผู้เขียน : ทีมข่าวการเมือง “พบอุโมงค์ลับ! ในธรรมศาสตร์ ส้องสุมอาวุธร้าย” พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเมื่อครั้งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นหนึ่งในข้ออ้างการล้อมปราบนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างโหดเหี้ยม หลังจากมีการใช้สื่อต่างๆปลุกระดมกล่าวหาว่าศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยในขณะนั้นเป็นคอมมิวนิสต์และเจตนาจะล้มล้างสถาบันเบื้องสูง โดยเฉพาะวิทยุยานเกราะได้กระจายเสียงปลุกระดมให้ฆ่านักศึกษาคอมมิวนิสต์ที่ชุมนุมกันอยู่ในมหาวิทยาลัย ขณะที่พระกิตติวุฒโฑ เกจิอาจารย์ดังในขณะนั้น ก็ออกมากล่าวย้ำสำทับว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” เหตุการณ์ 6 ตุลาถือเป็นประวัติศาสตร์และบทเรียนสำคัญของสังคมไทย ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นอีก แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครจดจำประวัติศาสตร์ ทำให้กว่า 40 ปีที่ผ่านมาสังคมไทยยังคงจมปลักกับสิ่งเลวร้ายเดิมๆ การใช้อำนาจแบบเดิมๆ เวียนว่ายอยู่ในวงจรอุบาทว์เดิมๆ การปลุกระดมและสร้างวาทกรรมบิดเบือนต่างๆเพื่อให้เกิดความเกลียดชังและจบลงด้วยการเข่นฆ่าประชาชนจากเจ้าหน้าที่รัฐเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าแทบจะเหมือนในอดีต เปลี่ยนเพียงสถานที่และเวลา ฝ่ายต่างๆยังคงรับบทละครเดิมๆ เปลี่ยนเพียงแค่ตัวแสดงเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 6 ตุลา...
- Posted 8 years ago
-
ปรองดองหรือขัดแย้ง / โดย สมศักดิ์ ไม้พรต
คอลัมน์ : จับกระแสการเมือง ผู้เขียน : สมศักดิ์ ไม้พรต อัพเดทการสร้างความปรองดองหลังดำเนินการมาได้ครบ 1 เดือน ช่วงที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองเปิดรับฟังความคิดเห็นจากพรรคการเมือง กลุ่มการเมืองต่างๆ และภาคประชาคม ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีหนังสือเชิญพรรคการเมืองทั้งหมด 70 พรรค กับ 2 กลุ่มการเมือง และอีก 60 องค์กรภาคประชาชน มีพรรคการเมืองให้ความร่วมมือเสนอข้อคิดเห็นแล้ว 53 พรรคการเมือง กับอีก 2 กลุ่มการเมือง โดยมี 4 พรรคการเมืองที่แจ้งว่ายังไม่พร้อม และ 13 พรรคการเมืองไม่สามารถติดต่อได้ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)...
- Posted 8 years ago
-
จุฬาฯกับขบวนการนักศึกษา / โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
คอลัมน์ : ถนนประชาธิปไตย ผู้เขียน : สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ เมื่อเกิดการยึดอำนาจโดยคณะทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำประเทศไทยสู่ยุคมืดแห่งเผด็จการ มีการจับกุมคุมขังปัญญาชนและนักการเมืองฝ่ายค้านจำนวนมาก ควบคู่กับการใช้นโยบายส่งเสริมการลงทุนและแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ และมีการควบคุมมหาวิทยาลัย โดยจอมพลสฤษดิ์รับตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยด้วยตนเอง เมื่อจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่กรรม จอมพลถนอม กิตติขจร ก็รับตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยแทน ส่วน พล.อ.ประภาส จารุเสถียร (ยศขณะนั้น) รับตำแหน่งอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภายใต้ยุคเผด็จการเต็มไปด้วยกิจกรรมแบบไร้สาระประเภทงานรับน้องรับพี่อันยืดเยื้อ ที่น่าสังเกตคือระบบโซตัสได้พัฒนาอย่างเข้มข้นและรุนแรงมากขึ้น โดยเน้นการรับน้องใหม่แบบอำนาจนิยมคือ รุ่นพี่สามารถกระทำการทรมานหรือสั่งรุ่นน้องอย่างไม่มีเหตุผล บังคับน้องใหม่เข้าห้องซ้อมเชียร์และขาดไม่ได้เด็ดขาด บังคับการแต่งกายของนิสิตปี 1 วิธีการที่สำคัญของรุ่นพี่คือการว้าก ใช้เสียงดัง...
- Posted 8 years ago
-
ภาวะจนตรอก? / โดย Pegasus
คอลัมน์ : เพื่อชาติประชาชน ผู้เขียน : Pegasus คำพังเพยไทยที่ว่า “สุนัขจนตรอก” คนเฒ่าคนแก่มักเตือนลูกหลานว่าอย่าต้อนสุนัขให้จนตรอก เพราะปรกติสุนัขนั้นเชื่องอยู่แล้ว ถ้าไปทำให้มันตื่นตกใจและจนตรอก สุดท้ายมันก็จะแว้งกัดและกัดไม่เบาด้วย เพราะมันต้องการเอาตัวรอดจากความอับจน ธรรมชาติของสัตว์จะไม่ต่อสู้เพื่อความบันเทิง แต่จะต่อสู้เพื่อความจำเป็นเท่านั้น เช่น แย่งอาหาร แย่งคู่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดเป็นความรุนแรงอย่างที่สุดและจะเกิดขึ้นได้เมื่อจำเป็น ส่วนเรื่องทางการเมืองนั้น ในอดีตจะไม่มีการไล่ล่ากันถึงตาย จะเปิดทางถอยให้อีกฝ่ายเสมอ แต่ระยะหลังฝ่ายไล่ล่าไม่อาจอ้างความชอบธรรมในการทำสิ่งที่ผิดปรกติได้อีก จึงกลับกลายเป็นความจำเป็นที่จะต้องใช้ทุกวิถีทางในการกวาดล้างและทำลายล้างฝ่ายตรงกันข้ามทางการเมืองให้สิ้นซาก การไล่ล่าเช่นนี้ทำให้การออมชอมเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ ความปรองดองยิ่งเป็นเรื่องเหลวไหล การเผชิญหน้ากลับกลายเป็นความจำเป็นและต้องเลือกระหว่างการดับสูญหรือการเอาชีวิตรอด เมื่อเป็นเช่นนี้การดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอดกลายเป็นความจำเป็น ไม่ว่าศัตรูหรือสิ่งคุกคามจะเป็นอะไร การต่อสู้เอาตัวรอดจากภัยคุกคามนั้นจะนำมาซึ่งความรุนแรงอย่างที่คาดหมายได้ยาก การปราบปรามผู้ต่อต้านบางครั้งก็ได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด เช่น กรณีคนขาวกำจัดชาวอินเดียนแดงด้วยปืนและโรคระบาด การล่าอาณานิคมในยุคหนึ่งบางครั้งการต่อต้านก็ได้ชัยชนะคือ การประกาศอิสรภาพทั้งที่เป็นการต่อสู้โดยตรงหรือฉวยโอกาส...
- Posted 8 years ago
-
ความจริงกับอำนาจ? / โดย สุรพศ ทวีศักดิ์
คอลัมน์ : ทรรศนะแสงสว่าง ผู้เขียน : สุรพศ ทวีศักดิ์ เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่าเขาคือ “ช่างซ่อมประชาธิปไตย” ฝ่ายประชาธิปไตยอาจจะขำๆกับคำพูดทำนองนี้ เพราะไม่ว่าวาทกรรม “ประชาธิปไตย 99.99 %” ไม่ว่าวาทกรรม “ทุกคนต้องอยู่ใต้กฎหมาย เสมอภาคตามกฎหมาย” กระทั่งคำแนะนำให้คนไทยมี “หิริโอตตัปปะ” ล้วนไม่สอดคล้องกับสภาวะความเป็นจริงที่เป็นมาและเป็นอยู่ นั่นคือความเป็นมาของรัฐบาล คสช. ที่มาจากรัฐประหารแล้วจะมาเป็น “ช่างซ่อมประชาธิปไตย” ได้อย่างไร และเมื่อการทำรัฐประหาร การสลายการชุมนุมที่มีประชาชนเสียชีวิตร่วม 100 คน เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่ไม่มีใครเคยรับผิด...
- Posted 8 years ago
-
Maturity-Enlightenment ภาวะหลังทันสมัยแบบไทยๆ / โดย เรืองยศ จันทรคีรี
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาสังคมปัญญาชนไทยได้วิวาทะกันมากเกี่ยวกับข้อเขียนของผู้ใช้นามแฝง “ใบตองแห้ง” และยังถูกขานรับจากอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ โดยเฉพาะอาจารย์นิธิถึงกับบอกว่า “…ประเทศไทยในระยะนี้เหมือนกับลำแสงที่มืดมน และกลายเป็นความไร้อนาคต ปัญหาทั้งประเทศไม่ได้อยู่ที่ คสช. เท่านั้น แต่อยู่ที่ความอัปลักษณ์ของสังคมไทยทั้งระบบ ต่อให้ คสช. จากไปก็ไม่แน่ใจว่าปัญหาของชาติบ้านเมืองจะดีขึ้น…” สำหรับความคิดดังกล่าวนี้ผมค่อนข้างจะเห็นด้วย ซึ่งความจริงก็เคยเห็นมาตั้งแต่ ศ.ดร.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งเป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า “The order of things and archeology” เกี่ยวข้องกับเรื่อง Postmodern เป็นหนังสือที่ผมคิดว่ามีคุณค่ามาก...
- Posted 8 years ago
-
ทำบ้านให้เป็นโรงงาน / โดย ณ สันมหาพล
คอลัมน์ : โลกไม่หยุดนิ่ง ผู้เขียน : ณ สันมหาพล การย้ายโรงงานไปไว้ที่บ้านเป็นกระบวนการ maker movement เพื่อเน้นที่ “คนทำ” ไม่ว่าจะเป็นคนทำเสื้อผ้า ทำผม ทำไฟ ทำอาหาร ทำเครื่องประดับ ฯลฯ ครั้งหนึ่งคนไทยเคยเรียกคนเหล่านี้ว่า ช่างเสื้อผ้า ช่างทำผม ช่างไฟ ช่างเครื่องประดับ ฯลฯ ซึ่งคนที่มีอาชีพเหล่านี้จะต้องมีเครื่องมือและแบบแผนการทำงานของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ มักใช้บ้านพักเป็นสถานที่ทำงาน ปัจจุบันรูปแบบการทำงานของผู้มีอาชีพเหล่านี้เริ่มกลับมาอีก และอาจทำให้เกิดการผลิตที่เปลี่ยนไปคือ จากการผลิตหรือทำในโรงงานก็จะไปอยู่ที่บ้านเหมือนในอดีต เป็น maker culture หรือวัฒนธรรมคนทำ เหมือนการเปลี่ยนจากการใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเพื่อใช้งานส่วนตัว จนมาถึงโน้ตบุ๊คที่หิ้วไปได้ทุกที่ ใช้งานได้ทุกรูปแบบและส่วนตัว ซึ่งมีประสิทธิภาพเหมือนนั่งทำงานในออฟฟิศ...
- Posted 8 years ago
-
ต้องหยุดแทรกแซงคณะสงฆ์ / โดย ประชาธิปไตย เจริญสุข
คอลัมน์ : ฟังจากปาก ผู้เขียน : ประชาธิปไตย เจริญสุข สถานการณ์วงการสงฆ์ไทยขณะนี้พูดง่ายๆว่าคือความแตกแยก เริ่มตั้งแต่มีการพูดเรื่องการปฏิรูปคณะสงฆ์สมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่คุณไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นคนทำงานตั้งแต่ปี 2557 หรือ 2558 ทำให้ความคิดเห็นเริ่มแตกแยกชัดเจน โดยกลุ่มคุณไพบูลย์ต้องการปฏิรูปแบบรุนแรง รวมทั้งสายพุทธะอิสระก็ออกมาเป็นระยะๆ ขณะที่คณะสงฆ์ต้องการให้เบากว่านั้นและจะจัดการกันเอง ไม่ใช่รัฐบีบบังคับ จนถึงช่วงพระราชทานเพลิงศพอดีตสมเด็จพระสังฆราชก็เริ่มมีปัญหาการแต่งตั้งสังฆราชใหม่ ซึ่งโยงไปกรณีวัดพระธรรมกาย รวมทั้งการตั้งข้อหาพระธัมมชโยว่าฟอกเงินและรับของโจร โยงถึงสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชขณะนั้น ทำให้ท่านโดนแจ้งข้อหากรณีครอบครองรถหรูและอะไรอีกสารพัด กลายเป็นความแตกแยกใหญ่ ฝ่ายคณะสงฆ์ต้องการแบบหนึ่ง แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งต้องการอีกแบบหนึ่ง เป็นความแตกแยกในเชิงความคิดและเชิงอุดมกาณ์ รวมทั้งเชิงการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกันหลายอย่าง พอประเด็นสมเด็จพระสังฆราชปิดไปก็มาเจอกรณีพระธัมมชโยและวัดพระธรรมกายที่เป็นปัญหามาโดยตลอด การปิดล้อมวัดด้วยมาตรา 44 นำไปสู่ความแตกแยกมากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะกับกลุ่มคุณไพบูลย์...
- Posted 8 years ago
-
Unstable City / โดย สนานจิตต์ บางสพาน
คอลัมน์ : สากกะเบือยันเรือรบ ผู้เขียน : สนานจิตต์ บางสพาน ดัดจริตพาดหัวภาษาปะกิตซะหน่อย อากาศมันร้อน สภาพจิตใจไม่ค่อยจะเสถียร เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ขึ้นๆลงๆตามอุณหภูมิ บ่ายๆริมๆสี่สิบ เผลอหน่อย อ้าว…ไอ้ห่าน พระพิรุณหลั่งมาเหมือนฝนอันชื่นใจซะงั้นแหละ ภาคอีสานนี่มาเกินความต้องการ เพราะแถมพายุกับลูกเห็บมาด้วย เดือดร้อนหลังคาปลิว บ้านพัง ไร่นากระจุยกระจาย สภาพการณ์ในกรุงเทพฯทั้งเศรษฐกิจและการเมืองก็วูบๆวาบๆไปเรื่อยๆ เผลอหลุดเรื่องขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มหน่อยเดียวร้องเป็นเจ๊กตื่นไฟ หมาโดนน้ำร้อนสาด และลิงยืนบนสังกะสีเผาไฟกันหมดทั้งประเทศ เพราะคนที่เดือดร้อนคือคนซื้อสินค้าตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ วันนี้สากกะเบือและครกจำนำไม่ได้แล้ว เรือดำน้ำขนาดอ่าวไทยลึกแค่ 80 เมตร เพ่ก็ยังจะซื้อให้ได้ ก็เอาสิ จะได้เป็นหนี้กันทั้งประเทศ มากน้อยก็แล้วแต่ชะตากรรม พูดกันจังปรองดองๆ ห่านพะโล้อะไรครับเพ่ ปฏิบัติการ...
- Posted 8 years ago
-
ทารกฮิตเลอร์ / โดย ศิลป์ อิศเรศ
คอลัมน์ : ร้ายสาระ ผู้เขียน : ศิลป์ อิศเรศ สำนักข่าวทั่วโลกตีพิมพ์ภาพเด็กทารกหน้าตาขึงขัง แสดงท่าทีก้าวร้าว โดยบรรยายว่าเป็นภาพถ่ายในวัยเด็กของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จนเวลาล่วงเลยไปหลายปีความจริงถูกเปิดเผยออกมาว่าทารกในภาพไม่ใช่ผู้นำเผด็จการนาซี วันที่ 22 ตุลาคม 1933 หนังสือพิมพ์ชิคาโกทริบูนตีพิมพ์ภาพถ่ายเด็กทารกเคียงคู่กับภาพอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ขณะยืนรับการเคารพจากกองทัพนาซีจำนวนนับแสนคน โดยบรรยายว่าทารกน้อยคนนี้คืออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในวัยไม่เต็มขวบปี หลังจากที่ภาพฮิตเลอร์ในวัยทารกถูกเผยแพร่ออกไปก็มีหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นๆทั่วโลกนำไปพิมพ์ซ้ำ รวมถึงหนังสือพิมพ์ในออสเตรียซึ่งเป็นบ้านเกิดของฮิตเลอร์เอง และไม่ได้พิมพ์ซ้ำเพียง 1-2 ครั้ง แต่พิมพ์ซ้ำติดต่อกันนานหลายปี ทารกในภาพหวีผมเรียบแปล้ปัดข้าง หน้าตาขึงขัง ปากกัดริมฝีปากตามสไตล์คนร้ายในแก๊งอันธพาล มือทั้ง 2 ข้างเท้าพื้นคล้ายท่าเตรียมจู่โจมของสุนัขพันธุ์บูลด็อก แสงและเงาบนใบหน้าขับความก้าวร้าวให้ดูโดดเด่น ภาพทารกฮิตเลอร์ถูกนำไปตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งถึงปี...
- Posted 8 years ago
-
โอวาทพระสังฆราช / โดย พระพยอม กัลยาโณ
คอลัมน์ : พระพยอมวันนี้ ผู้เขียน : พระพยอม กัลยาโณ ช่วงนี้เรื่องไม่ดีทำท่าจะผ่านไป เรื่องดีๆงามๆก็เสริมขึ้นมา อย่างสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จเป็นประธานในพิธีพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตรพระสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนตะวันออกที่วัดโสธรวราราม ฉะเชิงเทรา สมเด็จพระสังฆราชประทานพระโอวาทว่า เกียรติยศและตำแหน่งที่ได้รับพระราชทานมาจากพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภกนั้น มิใช่เป็นเครื่องเชิดชูตนไว้ให้อยู่ในที่สูงทางโลก แต่เป็นเครื่องเตือนให้ต้องระมัดระวัง สังวรในทางธรรมยิ่งขึ้น ให้สมกับพระบรมราชูปถัมภ์ที่พระราชทาน เกียรติยศนั้นเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับหน้าที่คือ การดำเนินตามพระพุทธานุศาสนี (คำสอนของพระพุทธเจ้า) ที่ประทานไว้แก่ภิกษุบริษัทจนตลอดพระชนม์ชีพให้บริบูรณ์พร้อมด้วยอัตสมบัติคือ การครองตนในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มิให้ใครตำหนิได้ว่าพระสาวกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่งามด้วยศีล ไม่งามด้วยอาจาระ ขณะเดียวกันภิกษุบริษัทต้องปฏิบัติบำเพ็ญตนให้บริบูรณ์ด้วยปรัตถะคือ ประโยชน์ของผู้อื่น โดยเฉพาะการอนุเคราะห์เกื้อกูลแก่ชาวโลกโดยทั่วไป พระครูที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศไปแล้ว แม้จะประคองไว้ในมือของท่านด้วยกำลังมือ กำลังแขนอย่างภาคภูมิ แต่ต้องไม่ลืมว่าได้รับพระราชทานสัญญาแห่งภารธุระในการบริหารกิจการพระศาสนา...
- Posted 8 years ago