วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567

“ร้อยเอ็ด” ปิดฉาก“งานมหกรรมการศึกษาท้องถิ่น ครั้งที่ 11” อย่างยิ่งใหญ่

On August 21, 2019

ประเทศชาติจะพัฒนาต้องเริ่มจากการศึกษาและเยาวชน เพื่อมอบโอกาสการศึกษาที่เท่าเทียมทั่วทั้งประเทศการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นเรื่องสำคัญละเลยไม่ได้ ให้กับเด็กอีก 75 จังหวัดทั่ว ในงาน มหกรรมการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศ ครั้งที่ 11 จ.ร้อยเอ็ด จึงได้จัดนิทรรศการและกิจกรรมหลากหลาย สาระดีๆ ยิ่งกว่านั้นคือการจัดเสวนาเรื่อง “การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21”เชิญวิทยากร ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และ ดร.ตวง อันทะไชย สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติระดมความคิด ชี้แนะหัวข้อ โลกเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ระบบการศึกษาท้องถิ่น ปรับตัวรับมืออย่างไร ???

รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์: คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่กำหนดคุณภาพการศึกษาที่เรากำหนดให้ เน้นคุณภาพที่เกิดกับผู้เรียน แต่เราต้องรู้ก่อนว่า ในศตวรรษที่ 21 จะเกิดอะไรขึ้นสิ่งที่1 คนจะรู้หนังสือมากขึ้น2 จำนวนคนเรียนสูงจะมากขึ้น แต่การเรียนสูงไม่ได้บ่งบอกว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิต เราผลิตเด็ก แต่เด็กที่เราผลิต มีทักษะการทำงานไม่เป็นไปตามที่เขาอยากได้ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องการให้คนเรียนสูงเยอะขึ้น  3 รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นในวงการการศึกษา คนของเราเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ผ่านสื่อออนไลน์ผ่าน5 จี แต่สิ่งที่สำคัญสื่อเหล่นี้เด็กเราใช้เพื่อพัฒนาการเยนรู้ตัวเองได้แค่ไหน และต้องเรียนรู้อย่างถูกวิธี 4 เรียนรู้ตลอดเวลาฯลฯ

2

ในมุมมองผมคุณลักษณะของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 คือ 1 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ มีความสามารถในการสื่อสารภาษาไทยให้คล่องในระดับอนุบาล3มีความสามารถด้านเทคโนโลยียีดิจิตอลเราต้องการอุปกรณ์ที่เข้าถึง 4 มีความสามารถในการเรียนรู้ไผ่รู้พัฒนาตนเอง แม้สื่อดีถ้าไม่สร้างอุปนินิสัยเรียนรู้เพื่อการพัฒนา สมรรถนะของเด็กต้องดี 5 ความมุ่งมั่นมานะะอดทนเป็นตัวของตัวเอง ภารกิจหลักมีคาวามคิดอ่านด้วยเหตุผล ไม่ชักจูงได้ง่าย สู่พลเมืองที่เข้มแข็ง ไม่ถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ดี6 มีจิตสาธารณะ ต้องถูกฝึก ปลูกฝังจิตอาสา7  อยากเห็นคนไทยเป็นคนดี มีคุณธรรม และจริยธรรม8 อยากเห็นเด็กถูกฝึกทักษะแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เด็กจะรู้ว่าอะไรควรปรับปรุงแก้ไข9 เด็กไทยสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในเชิงเศรษฐกิจ  ต้องสอนในเชิงสมรรถนะ10 อย่าทิ้งอัตลักษณ์ความเป็นไทย

3

ด้านศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย: สิ่งที่การศึกษาระดับท้องถิ่นควรทำคือ 1 การศึกษาระดับท้องถิ่นควรจัดการศึกษาเพราะมีต้นทุนที่ดีแล้ว ท้องถิ่นมีความรับผิดชอบทางสังคม ต้องทำให้ดี 2 องค์กรท้องถิ่น มีความยืดหยุ่นและมีความเป็นเอกภาพ หัวใจสำคัญคือ มีอิสระที่คิดออกแบบ จัดการเรียนการสอน การค้นหาเด็กในโรงเรียนนั้น หัวใจสำคัญต้องมีเลนส์ที่ละเอียด จุดค้นหาที่เป็นข้ออ่อนของเด็ก เช่น ต้องหาเด็กพิเศษให้พบให้เร็ว เพื่อการรีบพัฒนา 3 คือองค์กรท้องถิ่นสามารถเชื่อมโยงการศึกษาไปให้ได้ ต้องจัดการเรียนการสอนให้เด็กสามารถใช้ชีวิตให้รอด หลักคิดคือเอาปัญหาของชุมชนเป็นฐานและให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการใช้ชีวิตจริง ๆ  โอกาสสำคัญที่4 คือ เราต้องขยายความคิดปรัชญา“เอ็ดดูเคชั่น ฟอร์ ออล” คือ ไม่ใช่การศึกษาเฉพาะนักเรียน แต่เพื่อทุกคนนั่นคือการศึกษานอกโรงเรียนตามอัธยาศัย นำไปสู่อาชีพ ท้องถิ่นควรรทำเรื่องการศึกษานอกโรงเรียน หรือ กศน. เพื่อทำให้คนเกิดความรู้อยู่ตลอดเวลา กิจการทุกอย่างที่ต้องทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ถ้าเราเข้าใจปรัชญานี้ก็จะดีมาก 4 การศึกษาท้องถิ่น ช่วยลดความเลื่อมล้ำของคนได้ วันนี้ท้องถิ่นได้ลดปัญหาความเลื่อมล่ำในสังคมมากมาย เช่น เด็กมาจากครอบครัวยากจนแค่ไหนก็ต้องได้เรียนขั้นพื้นฐาน หรือแม้แต่เด็กต่างด้าวก็ยังได้มาเรียน ต้องบริหารจัดการให้ได้  ผมคิดว่าองค์กรท้องถิ่นควรช่วยกันกำหนดเป้าหมายร่วมกัน  ต้องใช้โรงเรียนเป็น“คอมมูนิตี้เซ็นเตอร์” เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โรงเรียนท้องถิ่นต้องไม่มีรั้วของวัฒนธรรม อย่างสพฐ.วันหยุดยาวคือไปเที่ยว แต่ครูท้องถิ่นคือวันหยุดคือการทำงานที่หนักที่สุด คนญี่ปุ่นทำ7 ข้อ นอนเร็วตื่นเร็ว กินช้าวเช้าทุกวัน มีการพูดคุยกันในครอบครัวเด็ก ๆ ต้องทำการบ้านด้วยตัวเองโรงเรียนและพ่อแม่จะสอนว่า เด็ก ๆ ตอนเช้ามีหน้าที่ทำอะไร กำหนดให้เด็ก ๆ ดูทีวีเล่นเกมส์ให้เป็นเวลา ช่วยกันตัดสินใจร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน เพราะผู้ปกครองคือหุ้นส่วนของการจัดระบบการศึกษา ถ้าทำได้ระบบการศึกษาระดับท้องถิ่นจึงจะไปได้ไกล

4

ด้าน ดร.ตวง อันทะไชย: โลกเปลี่ยนชีวิตต้องเปลี่ยน ในอดีตยุคสองจี โทรเลข ธนาณัติเลิก ต่อไปยุค 5 จี มีทั้งfintech / block chain /digital/ business / robot ในอนาคตเราต้องไปสร้างนวัตกรรมก็ได้แม้ไม่ต้องจบปริญญา แต่ขอให้สร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้   ในระบบโรงเรียนเด็กๆ ต้องสังเกตตัวเองว่า การเรียนเรียนอะไรแล้วชอบ เราจึงต้องเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา  เรียนรู้วิชาชีวิตส่วนสถาบันฯ   เมื่อเรารู้ว่าเด็กเชี่ยวชาญเฉพาะอะไร ต้องสอนตอบโจทย์ให้ได้ ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของชาติไม่มีเครื่องมือใดดีไปกว่า ระบบการศึกษา ระบบการศึกษาสร้างคนและสร้างชุมชนได้  อย่ารอ อย่าคาดหวังต้องปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองไทยก่อน เนื่องจากการศึกษาเป็นเครื่องมือเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงโลกได้ ต้องทำตรงนี้ก่อน”

5

ท้ายสุดคณะตัวแทนผู้จัดงานหลัก นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย,นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด, นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น      และ นายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ดกล่าวถึงภาพรวมครั้งนี้ว่า ขอบคุณจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีความเต็มที่ในการเป็นเจ้าภาพเตรียมงานหลายเดือน ได้รับความอนุเคราะห์ร่วมมือจากหลายฝ่าย  จัดการแข่งขันถึง 5 สนามด้วยกันให้ผู้เข้าร่วมงานได้เลือกชมและเชียร์ตามอัธยาศัย นอกจากนี้ยังเปิดเมืองครั้งใหญ่ให้เหล่า คุณครู   ผู้ปกครอง และเด็กที่มาแข่งขันได้ไปทัศนศึกษา เรียนรู้วัฒนธรรม จากสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆเปิดให้ชมฟรีตลอดการจัดงาน เชื่อว่านอกจากแรงบันดาลใจดีๆในการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานของบุคลากรที่เข้าร่วมงานแล้ว ทุกคนยังประทับใจกับจังหวัดซึ่งเตรียมการเป็นเจ้าภาพอย่างดีด้วย

6


You must be logged in to post a comment Login