วันพฤหัสที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

เปิดตัวโครงการ Food Tech StartUp

On December 23, 2016

นายกิตติชัย ราชมหา ประธานสาขาการจัดการธุรกิจอาหาร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวว่า สถานการณ์การเลื่อนอันดับการส่ งออกอาหารโลกของประเทศไทยขึ้นสู่ อันดับที่ 13 ของโลก ถือเป็นสัญญาณที่ดีของประเทศไทย และจากสถานการณ์ดังกล่าว สามารถมองเป็นโอกาสสำคัญของเหล่ าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารทุ กขนาด ทั้งบริษัทขนาดใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ที่สามารถใช้โอกาสนี้ให้เป็ นประโยชน์ โดยผู้ประกอบการธุรกิจอาหารต้ องตื่นตัวกับการประยุกต์ใช้นวั ตกรรมเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ เนื่องจากจะเป็นการสร้างมูลค่ าเพิ่ม (Value Added) ให้กับตัวผลิตภัณฑ์และธุรกิจ อันจะนำไปสู่การแก้ไขข้อบกพร่ องของประเทศไทย ที่มีการส่งออกวัตถุดิ บอาหารจำนวนมาก แต่มีมูลค่าน้อย ทำให้ไม่สามารถแข่งขันในเรื่ องตัวเลขภาพรวมรายได้การส่ งออกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

นายกิตติชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ระบบนิเวศทางเศรษฐกิจของวงการธุ รกิ จอาหารและการเกษตรในประเทศไทยมี การพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก มีกระแสสังคมในเรื่องการผลักดั นให้ผู้ผลิตกลายเป็นผู้ ประกอบการเองโดยไม่ผ่านมือพ่อค้ าคนกลาง ประกอบกับแรงสนับสนุ นจากการรวมกลุ่มของหน่ วยงานภาครัฐ อาทิ โครงการ ”เมืองนวัตกรรมอาหาร” (Food Innopolis) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ ที่พร้อมทำหน้าที่เป็น “พี่เลี้ยง” หรือที่ปรึกษาในด้านการประกอบธุ รกิจด้านอาหารและการเกษตรอย่ างครบวงจร ทำให้ในปัจจุบันถือเป็นช่ วงเวลาที่ดีสำหรับผู้ ประกอบการและผู้ที่ต้องการเริ่ มต้นธุรกิจอาหาร ที่จะมี โอกาสในการประสบความสำเร็จด้ านธุรกิจเพิ่มขึ้น

นายกิตติชัย กล่าวเสริมว่า อย่างไรก็ตาม เทรนด์ธุรกิจอาหารต้องอาศัยนวั ตกรรมและเทคโนโลยีเป็นพื้ นฐานในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิ ดการเติบโตทั้งห่วงโซ่คุณค่า (value chain) โดยผู้ประกอบการธุรกิจอาหารยุ คใหม่ต้องรู้จักประยุกต์ใช้นวั ตกรรมเข้าสู่ธุรกิจ โดยเน้นหลักที่การพัฒนา 3 หัวใจสำคัญของธุรกิจอาหารในยุ คปัจจุบัน คือ
1) เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต (Productivity) นวัตกรรมสามารถใช้เพื่อพั ฒนาภาคการผลิต โดยเฉพาะในธุรกิจต้นน้ำ เช่น ผลิตผลทางการเกษตรและปศุสัตว์ ให้มีปริมาณมากขึ้น รองรับกับการเติบโตของจำนวนผู้ บริโภคทั่วโลก ตลอดจนลดอัตราการสูญเสียจากปั จจัยต่างๆ เช่น ปัญหาทางสภาพแวดล้อมและการเปลี่ ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change)
2) พัฒนาด้านความปลอดภัย (Safety) ประเด็นด้านความปลอดภัยเป็นเรื่ องที่สำคัญมากที่สุดในธุรกิ จอาหาร ซึ่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็ นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่ วยพัฒนาและควบคุ มมาตรฐานความปลอดภัยในทุ กกระบวนการผลิตอาหาร
3) ผลิตอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุ ขภาพ (Healthy & Wellness) อาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy & Functional Food) เป็นเทรนด์ระดับโลกที่ผู้บริ โภคทุกประเทศให้ความสนใจเป็นอั นดับ 1 โดยในปัจจุบันหัวใจหลักที่ใช้ เป็นตัวตัดสินในตลาดธุรกิจอาหาร คือ การคิดค้นและพัฒนาอาหารที่มี ประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพั ฒนาอาหารสุขภาพเพื่อตอบโจทย์สั งคมสูงวัย (Aging Society)

ทั้งนี้ ภายในช่วงต้นปี 2560 นี้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิ ทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) พร้อมด้วยสาขาการจัดการธุรกิ จอาหาร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะพันธมิตรหลักด้านวิชาการ การบริหารจัดการธุรกิจอาหาร (food business management) เตรียมพร้อมจัดโครงการ Food Tech Startup เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสตาร์ ทอัพธุรกิจอาหาร นำเสนอไอเดียธุรกิจต่อนักลงทุ นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยโครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้ โครงการสตาร์ทอัพไทยแลนด์ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมผู้ประกอบการสตาร์ทอั พด้านธุรกิจอาหาร และเตรียมความพร้อมนักสร้ างสรรค์นวัตกรรมธุรกิจอาหารเพื่ อแข่งขันในเวทีระดับโลก หรือ Global Food Innovation Contest ของทาง Global Entrepreneurial Network (GEN) ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีในการส่ งเสริมด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี อาหารของประเทศไทย เพิ่มศักยภาพด้านการสร้างมูลค่ าอาหารด้วยนวัตกรรมให้กับประเทศ เพื่อความสำเร็จในการเป็นแหล่ งอาหารของโลกอย่างเต็มรูปแบบ นายกิตติชัย กล่าวต่อ

อย่างไรก็ดี สาขาการจัดการธุรกิจอาหาร ของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นหลักสูตรการเรี ยนการสอนระดับปริญญาโทด้ านการบริหารจัดการธุรกิ จอาหารแห่งแรกและแห่งเดี ยวของประเทศไทยในปัจจุบัน ที่รวบรวมนักศึกษาจากบุ คลากรในธุรกิจอาหารทุกระดับ ทั้งผู้ริเริ่มธุรกิจสตาร์ทอั พธุรกิจอาหาร ผู้ประกอบการธุรกิ จอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม และพนักงานระดับบริหารขององค์ กรด้านอาหารขนาดใหญ่ ทำให้สาขาดังกล่าวนี้สามารถเป็ นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญด้ านการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาอุ ตสาหกรรมอาหารประเทศไทย นายกิตติชัย กล่าวทิ้งท้าย

ด้าน ผศ.ดร. อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิ ทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กล่าวว่า เดิมประเทศไทยเคยติดอันดับต้นๆ ของประเทศที่ส่งออกอาหารมากที่ สุดของโลก แต่ปัจจุบันอันดับได้ลดลงอย่ างต่อเนื่อง ด้วยปัญหาที่ว่าประเทศไทยส่ งออกวัตถุดิบอาหารจำนวนมาก แต่มูลค่าน้อย ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับต่ างประเทศที่มีการเพิ่มมูลค่าเข้ าสู่อาหารด้วยกรรมวิธีและนวั ตกรรมต่างๆ ด้วยปัญหาต่างๆ เหล่านี้ “เมืองนวัตกรรมอาหาร” (Food Innopolis) จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อพั ฒนาและยกระดับอุ ตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย ที่มีความได้เปรียบด้ านความหลากหลายทางชี วภาพและความอุดมสมบูรณ์ของแหล่ งอาหารโลก ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มผ่ านการพัฒนาและประยุกต์ใช้นวั ตกรรมเข้าสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อเสริ มแกร่งศักยภาพในการแข่งขันระดั บเวทีโลก
โครงการ “เมืองนวัตกรรมอาหาร” หรือ Food Innopolis เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพั ฒนา 2 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยี ชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) และอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future) ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่าง 35 หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิ จอาหารทุกระดับให้ใช้นวั ตกรรมและเทคโนโลยี ผ่านการบริการให้คำปรึกษาด้านต่ างๆ อาทิ การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่ อการพัฒนาด้านศึกษาวิจัย (Networking for Research and Development) และการต่อยอดธุรกิจเพื่อตี ตลาดต่างประเทศ (Business Accelerator) ผศ.ดร. อัครวิทย์ กล่าวเสริม
ทั้งนี้ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้จัดงานสัมมนา SIE Seminar ตอนที่ 7 “FOOD TECH 4.0 ปั้นให้ปัง ดังแบบก้าวกระโดด” เมื่อเร็วๆ นี้ ณ อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติ มสามารถสอบถามได้ที่ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเข้าไปที่ www.cmmu.mahidol.ac.th


You must be logged in to post a comment Login