- ระลึกถึงพ่อหลวง ร.9Posted 14 hours ago
- 5 ธ.ค.วัดสวนแก้วแตกแน่Posted 1 day ago
- จะกลับมาแบบไหนPosted 2 days ago
- เลือกงานให้โดน บริหารคนให้เป็น ตาม“ลัคนาราศี”Posted 2 days ago
- ต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์ อยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างPosted 2 days ago
- โลภ•ลวง•หลง เกมพลิกชีวิต รีแบรนด์หรือรีบอร์นPosted 2 days ago
- กูไม่ใช่ไก่ต้มเว้ย! อย่ามาต้มกูเลย..Posted 2 days ago
- หยุดความรุนแรง-ลวงโลกPosted 3 days ago
- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 6 days ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 1 week ago
เปิดตัว Convention Day – The Essence of Fame
นายนพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า ธุรกิจการจัดประชุมนานาชาตินั้น เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทยเติบโต โดยทีเส็บได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องผลทางด้านเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมไมซ์ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในองค์รวมในปี พ.ศ. 2558 พบว่าอุตสาหกรรมไมซ์ของไทย มีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจหลายด้าน โดยมูลค่าการใช้จ่ายทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจจากการดำเนินกิจกรรมของอุตสาหกรรมไมซ์ คิดเป็นจำนวน 2.2 แสนล้านบาท อุตสาหกรรมไมซ์ยังส่งผลต่อการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจประมาณ164,000 อัตรา และยังส่งผลประโยชน์เชิงปริมาณที่เกิดจากการสร้างเครือข่าย การสร้างตราสินค้าและการแบ่งปันทักษะระหว่างอุตสาหกรรม ในส่วนของอุตสาหกรรมการประชุมนานาชาติ หรือ Convention นั้น ทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยเป็นจำนวนถึง 66,426 ล้านบาท สร้างรายได้ทางภาษีให้กับภาครัฐจำนวนกว่า2,900 ล้านบาท อีกทั้งยังสร้างงานให้แก่บุคลากรของประเทศมากกว่า 46,000 ตำแหน่ง
“โดยภาพรวมการดำเนินงานด้านการประชุมนานาชาติระหว่างเดือนตุลาคม 2558 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยชนะการประมูลสิทธิ์ 16 งาน มีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศประมาณ 12,000 คน ประมาณการรายได้เข้าประเทศ 1,000 ล้านบาทในส่วนของงานประชุมที่ทีเส็บให้การสนับสนุนระหว่างเดือนตุลาคม 2558 จนถึงปัจจุบัน มีจำนวน 90 งาน จำนวนผู้เข้าประชุมจากต่างประเทศประมาณ 44,000 คน ส่วนนี้สร้างรายได้ประมาณ 3,800 ล้านบาท ตัวอย่างงานสำคัญ อาทิงาน Asian Utility Week 2016 เป็นงานเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจพลังงานซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญสำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยมีผู้ร่วมงานจากต่างประเทศประมาณ 1,000 คน และ อีกงานหนึ่งที่มีความสำคัญในฐานะประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลกคืองาน Pig, Poultry and Dairy Focus Asia 2016 ซึ่งเป็นงานการประชุมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร ด้านการพัฒนาองค์ความรู้ของการเพาะเลี้ยงและการบริหารจัดการการเพาะเลี้ยงสุกร สัตว์ปีกและโคนม มีผู้ร่วมงานทั้งจากทวีปแอฟริกา ออสเตรเลีย เอเชีย และวิทยากรจากยุโรปและอเมริกา รวมทั้งหมดประมาณ 500 คน”
ด้าน นางสาววิชญา สุนทรศารทูล ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดประชุมนานาชาติ กล่าวถึงการจัดงาน Convention Day ว่า ในปีนี้จะเป็นการจัดงานในรูปแบบใหม่ที่ทีเส็บจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อมอบเข็มเชิดชูเกียรติ International Conference Bid Achievement ให้กับ 16 สมาคมและองค์กรของไทยที่ได้ทุ่มเทและเสียสละประโยชน์ส่วนตัวทำงานประมูลสิทธิ์แข่งขันกับประเทศอื่นๆ ภายใต้การสนับสนุนของทีเส็บ จนได้รับชัยชนะสามารถดึงงานการประชุมนานาชาติเข้ามาจัดในประเทศไทยได้สำเร็จ ทั้งนี้ ผลงานชนะการประมูลสิทธิ์ที่ได้รับเข็มเชิดชูเกียรติเป็นผลงานที่เกิดขึ้นในรอบปีงบประมาณ 2559 การจัดงาน Convention Day จึงจัดขึ้นภายใต้แนวคิด The Essence of Fame ในวันที่ 19 กันยายน 2559 เวลา 17.00-20.30 น. ณ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ พระราชวังพญาไท โดยพลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติมาร่วมงานและมอบเข็มเชิดชูเกียรติให้กับสมาคมและองค์กรที่ชนะการประมูลสิทธิ์ ซึ่งงานที่ชนะการประมูลสิทธิ์มีหลากหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งงานประชุมด้านการแพทย์ สัตวแพทย์ ปศุสัตว์ การศึกษา ดนตรี โลจิสติกส์ และการท่องเที่ยว
นอกจากการมอบเข็มเชิดชูเกียรติ ไฮไลท์อื่นๆ ของงาน Convention Day ประกอบด้วย นิทรรศการ Hall of Fame เพื่อเผยแพร่ผลงานชนะการประมูลสิทธิ์ของทั้ง 16 สมาคมและองค์กร ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมงานมีโอกาสได้รับชมและรับรู้รายละเอียดผลงานการชนะการประมูลสิทธิ์ลำดับถัดมาคือ การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “แรงบันดาลใจ สร้างสรรค์อนาคตไทย” โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์มณเฑียร บุญตัน ประธานมูลนิธิคนตาบอดไทย และกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ เป็นวิทยากร
“ทีเส็บคาดว่าการจัดงาน Convention Day ในรูปใหม่นี้ จะช่วยกระตุ้นให้บทบาทในการประมูลสิทธิ์งานประชุมของสมาคมวิชาชีพในประเทศไทยได้รับการยอมรับทั้งจากภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ ในวงกว้างว่าเป็นการทำงานที่สร้างประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งในแง่ของการพัฒนาองค์ความรู้ของสาขาวิชาชีพ การสร้างเครือข่าย การสร้างรายได้เข้าประเทศ อีกทั้งยังสร้างชื่อเสียงในฐานะประเทศที่มีขีดความสามารถในการจัดประชุมนานาชาติด้วย และจะเป็นแรงบันดาลใจให้สมาคมอื่นๆ ร่วมแข่งขันยื่นประมูลสิทธิ์งานต่อไปในอนาคต”
สำหรับแผนขับเคลื่อนธุรกิจการประชุมนานาชาติในปีหน้า นางสาววิชญา กล่าวว่า “การดำเนินงานส่งเสริมตลาด Conventionของปี พ.ศ. 2560 สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริมความรู้ สร้างนวัตกรรมและมูลค่าเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมายแห่งการประเทศที่มีรายได้สูง ซึ่งการประชุมนานาชาติถือเป็น 1หนึ่งในฐานเศรษฐกิจใหม่ของโมเดลไทยแลนด์ 4.0 เนื่องจากเป็นเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในสาขาวิชาชีพ ที่ผู้ร่วมประชุมสามารถใช้เป็นฐานพัฒนาขีดความสามารถสำหรับต่อยอดนำไปพัฒนาสินค้าและบริการหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายของผู้ร่วมสาขาวิชาชีพเดียวกันต่อยอดไปสู่การร่วมมือในการพัฒนาในอนาคต”
“โดยด้านการประมูลสิทธิ์และการตลาด เน้นให้ประเทศไทยชนะการประมูลสิทธิ์จัดงานประชุมนานาชาติ สนับสนุนส่งเสริมและผลักดันให้สมาคมวิชาชีพในประเทศไทยยื่นประมูลสิทธิ์จัดงาน เพื่อเพิ่มจำนวนงานประชุมนานาชาติในประเทศ และเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศ โดยในปีหน้าจะเน้นการสนับสนุนการประมูลสิทธิ์และการจัดงานประชุมนานาชาติขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น ตั้งเป้าหมายประมูลสิทธิ์การประชุมใน 5 อุตสาหกรรมหลัก คือ (1) สุขภาพ/การแพทย์ (2) พลังงาน (3) อาหารและอุตสาหกรรมการเกษตร (4) โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ (5) ยานยนต์/อิเล็กทรอนิกส์สอดรับกับอุตสาหกรรมหลักที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ซึ่งจะทำงานร่วมกับสมาคมวิชาชีพต่างๆ ของไทยและการทำตลาดผ่านสมาคมนานาชาติ และพันธมิตรต่างๆในอุตสาหกรรมการประชุม”
นอกจากนี้ ยังมีแคมแปญ Convene in Paradise สนับสนุนการประชุมนานาชาติ เปิดตัวในปีงบประมาณ2559 จนถึงปีงบประมาณ 2560 เพื่อสนับสนุนการประชุมนานาชาติขนาดใหญ่ในประเทศไทย ได้แก่ (1) การประชุมนานาชาติที่มีผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างชาติอย่างน้อย 1,000 คน (2) การประชุมนานาชาติใน 5 อุตสาหกรรมหลัก และมีผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างชาติอย่างน้อย 500 คน (ประกอบด้วย สุขภาพ/การแพทย์ พลังงาน อาหารและอุตสาหกรรมการเกษตร โครงสร้างพื้นฐานและ โลจิสติกส์ และยานยนต์/อิเล็กทรอนิกส์) และ (3) การประชุมของสมาคมวิชาชีพในต่างประเทศที่เข้ามาจัดงานประชุมในประเทศไทย (offshore meeting) โดยจะต้องมีผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างชาติอย่างน้อย 200 คน และร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศจะต้องมาจากประเทศเดียวกัน
ขณะเดียวกันในด้านการพัฒนา ยังได้กำหนดแผนงานที่จะช่วยยกระดับความรู้เกี่ยวกับการประมูลสิทธิ์งานและการบริหารจัดการสมาคมให้เป็นองค์กรมืออาชีพที่แข็งแกร่งให้กับสมาคมวิชาชีพในประเทศไทย โดยร่วมมือกับสมาคมอุตสาหกรรมการประชุมระหว่างประเทศในยุโรปและอเมริกาเพื่อจัดอบรมให้กับสมาคมวิชาชีพของไทย เพื่อทำให้สมาคมวิชาชีพมีความพร้อมมากที่สุดในการประมูลสิทธิ์งานได้เพิ่มมากขึ้นต่อไป นางสาววิชญา กล่าวปิดท้าย
สำหรับเป้าหมายในภาพรวมของอุตสาหกรรมไมซ์และการประชุมนานาชาติในปี 2560 นายนพรัตน์กล่าวสรุปว่า ทีเส็บตั้งเป้าจำนวนนักเดินทางกลุ่มไมซ์ 1,109,000 คน สร้างรายได้ 101,000 ล้านบาทในจำนวนนี้ จะเป็นนักเดินทางในกลุ่มการประชุมนานาชาติ จำนวน 315,000คน สร้างรายได้ประมาณ 30,000ล้านบาท โดยงานประชุมสำคัญๆ ที่จะเกิดขึ้นในปี 2560 คือ งาน The 10th International Convention of Asia Scholars ระหว่างวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2560 เชียงใหม่ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศ 2,000 คน
You must be logged in to post a comment Login