- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 3 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 3 months ago
- โลกธรรมPosted 3 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 3 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 3 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 3 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 3 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 3 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 3 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 3 months ago
-
ดีไม่ถึงที่สุด
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น พลันที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ออกมาไล่บี้ให้กรมสรรพากรประเมินเพื่อจัดเก็บภาษีย้อนหลังกับนักการเมือง 60 ราย ก็มีความน่าสนใจ ความน่าสนใจไม่ได้อยู่ที่รายชื่อของนักการเมืองที่ปรากฏ ซึ่งมีชื่อของนักการเมืองดังๆหลายคน เช่น นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล, นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร แต่ความน่าสนใจกลับอยู่ที่เหตุผลที่ สตง.ใช้กล่าวอ้างในการไล่บี้ให้กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีกับนักการเมืองเหล่านี้ เหตุผลที่ สตง.แจ้งต่อกรมสรรพากรให้ดำเนินการคือหลังพ้นตำแหน่งนักการเมืองเหล่านี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น โดยทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นนั้น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา39 อยู่ในบังคับต้องเสียภาษี และเมื่อ สตง.ตรวจแบบภ.ง.ด.แล้ว นักการเมืองส่วนใหญ่จะแจ้งรายการเสียภาษีเฉพาะเงินเดือนเท่านั้น ไม่ได้นำทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาเสียภาษี จึงเป็นการเสียภาษีที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน และถือเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี แน่นอนว่านอกจากการตรวจสอบเพื่อประเมินภาษีแล้ว นักการเมืองเหล่านี้ต้องถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบว่าร่ำรวยผิดปรกติหรือไม่...
- Posted 8 years ago
-
นิ่งแต่ไม่สงบ! / โดย นายหัวดี
คอลัมน์ : ฉุก(ละหุก)คิด ผู้เขียน : นายหัวดี การสนธิกำลังทหาร-ตำรวจตรวจค้นบ้านที่อ้างว่าเป็นของ “โกตี๋” หรือ “วุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ” พบอาวุธสงครามจำนวนมาก ทั้งยังมีการตรวจค้นพื้นที่ในภาคกลางและภาคอีสานอีก 9 จุด ที่ถือว่าเป็นเครือข่าย “โกตี๋” ทำให้จับ “ลูกน้องโกตี๋” ที่ถือเป็นผู้ต้องสงสัยอีก 8 คน แต่ “โกตี๋” ได้ออกมาปฏิเสธว่าเป็นการจัดฉากและยัดข้อหา เป็นความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งที่ออกจากเมืองไทยมา 3 ปีแล้ว จะสะสมอาวุธไว้ทำไมในใจกลางเมือง ข้อหา “โกตี๋” และผู้ต้องสงสัยขณะนี้คือ การครอบครองอาวุธ เป็นอั้งยี่ซ่องโจรและเตรียมการสร้างสถานการณ์ ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลเองก็ออกมาเปิดเผยว่า มีการพยายามลอบสังหาร...
- Posted 8 years ago
-
ยังมีพระดี / โดย พระพยอม กัลยาโณ
คอลัมน์ : สำนักข่าวพระพยอม ผู้เขียน : พระพยอม กัลยาโณ กรณีสื่อโชเชียลมีเดียออกมาเผยแพร่ว่ามี “7 พระแท้” ที่คนในประเทศและต่างประเทศกราบได้อย่างสนิทใจ คือ 1.พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี 2.พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กัลยาโณ) 3.พระราชวิสุทธิมุนี (เยื้อน ขนฺติพโล) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร บ้านจรัส สุรินทร์ 4.พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก และรักษาการเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย (ธรรมยุต) ที่มีนามปากกา “ปิยโสภณ” 5.พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต...
- Posted 8 years ago
-
“เสน่ห์เที่ยว เสน่ห์ไทย” ชูอัตลักษณ์พื้นถิ่น ปลุกกระแสท่องเที่ยว
กรมการท่องเที่ยวจัดนิทรรศการ “เสน่ห์เที่ยว เสน่ห์ไทย” อวดผลงานสุดสร้างสรรค์ดีไซน์จากต้นทุนทางวัฒนธรรม ผสมผสานเสน่ห์พื้นบ้าน ชูอัตลักษณ์เพิ่มมูลค่าสินค้ากว่า 500 ชิ้นงาน จาก 18 แหล่งท่องเที่ยวนำร่องทั่วไทย ภายใต้โครงการพัฒนาสินค้าต้นแบบของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว วันที่ 20-21 มีนาคม ศกนี้ ณ บริเวณลานแฟชั่นฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน พร้อมมอบผลงานต้นแบบให้แก่เครือข่ายผู้ประกอบการใน 18 พื้นที่เพื่อต่อยอด และปูพื้นฐานการสร้างอุตสาหกรรมสินค้าที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว เป็นครั้งแรกให้ชุมชน วันนี้ (20 มีนาคม 2560) ณ บริเวณลานแฟชั่นฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรมการท่องเที่ยว เปิดงานนิทรรศการ “เสน่ห์เที่ยว เสน่ห์ไทย” เพื่อแสดงผลงานจาก “โครงการพัฒนาสินค้าต้นแบบของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว”...
- Posted 8 years ago
-
ป๋า มีไว้ทำไม? / โดย ทีมข่าวการเมือง
คอลัมน์ : เรื่องจากปก ผู้เขียน : ทีมข่าวการเมือง แม้อารมณ์ฉุนตบกบาลบาร์เทนเดอร์ที่ดันมาเรียกสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ว่า “ป๋า” จบลงด้วยทั่น สปท. อารมณ์ขึ้นไปพบตำรวจยอมจ่ายค่าปรับ 10,000 บาท ฐานตบหน้าพนักงานร้านอาหารชื่อดังแห่งหนึ่ง (10 มีนาคม) โดยเจ้าตัวมือตบออกมาขอโทษสังคมอ้างว่าแค่หยอกล้อ แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ชอบให้เรียก “ป๋า” เตือนแล้วแต่ไม่ฟัง ยอมรับถือเป็นบทเรียน ด้านบาร์เทนเดอร์หนุ่มบอกว่า วันเกิดเหตุแค่ตกใจที่ถูกเรียกเลยเรียก “ป๋า” ทั้งที่ปรกติจะเรียกคุณตลอด ขณะที่ สปท. เตรียมส่งคณะกรรมการจริยธรรมสอบสวนภายใน 60 วัน เหตุการณ์นี้เป็นทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ หรือตกเป็นขี้ปากในสังคมออนไลน์โดยอัตโนมัติ...
- Posted 8 years ago
-
สองคนยลตามช่อง / โดย สมศักดิ์ ไม้พรต
คอลัมน์ : จับกระแสการเมือง ผู้เขียน : สมศักดิ์ ไม้พรต เรื่องการเรียกเก็บภาษีขายหุ้นชินคอร์ปจาก ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำนวน 16,000 ล้านบาท กำลังเป็นเรื่องร้อนที่ถูกนำมาพูดถึงอีกครั้งก่อนที่อายุความจะหมดในช่วงสิ้นเดือนนี้ เรื่องนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่างกรมสรรพากร กับรัฐมนตรีในรัฐบาล นักการเมือง และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายคนมีความเห็นแตกต่างกัน ในส่วนของกรมสรรพากรตีธงว่าเรื่องนี้สิ้นสุดแล้ว ไม่สามารถเรียกเก็บภาษีได้ แต่รัฐมนตรีในรัฐบาล นักการเมือง นักเคลื่อนไหวทางการเมือง รวมถึงหน่วยงานตรวจสอบอย่างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่ายังไม่จบ ต้องเรียกเก็บภาษีก้อนนี้ หากไม่เก็บต้องมีคนติดคุกและต้องมีคนชดใช้เงินก้อนนี้แทน อย่างไรก็ตาม เรื่องได้ถูกโยนให้เป็นการตัดสินใจของ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การโยนให้เป็นหน้าที่ตัดสินใจของหัวหน้า...
- Posted 8 years ago
-
เล่าเรื่อง‘จุฬาฯ 1 ศตวรรษ’ / โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
คอลัมน์ : ถนนประชาธิปไตย ผู้เขียน : สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ตามประวัติความเป็นมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนามาจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวงและโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยขั้นอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 ตามปฏิทินแบบเก่าที่ขึ้นปีใหม่ในเดือนเมษายน ดังนั้น วันที่ 26 มีนาคมนี้ จึงครบรอบ 1 ศตวรรษที่ต้องทบทวนบทบาททางสังคมของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ตั้งแต่เริ่มสร้างระบบการศึกษาสมัยใหม่ในสยาม เป้าหมายสำคัญคือ การผลิตบุคคลรับใช้ระบบราชการที่มีการปฏิรูปใหม่ในรัชกาลที่ 5 ทำให้ระบบขุนนางแบบเก่าผลิตจำนวนคนได้ไม่พอเพียง ยิ่งกว่านั้นระบบราชการสมัยใหม่ไม่ได้รองรับความรู้แบบจารีตประเพณีที่ศึกษาพระบาลีหรือศิลปศาสตร์ 18 ประการ แต่เป็นความรู้วิทยาการแบบตะวันตก จึงมาสู่การตั้งโรงเรียนแบบสมัยใหม่จำนวนมากในพระนครและหัวเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางมณฑล โดยระยะแรกรับนักเรียนชาย เพราะผู้หญิงไม่มีสิทธิรับราชการเป็นขุนนาง ต่อมาเริ่มมีการตั้งโรงเรียนสตรีเพื่อให้มีความรู้สมัยใหม่และเป็นภรรยาที่เชิดหน้าชูตาของสามีที่เป็นข้าราชการ จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 6...
- Posted 8 years ago
-
ทำอย่างไรเมื่อ‘ล้มละลาย’? / โดย Pegasus
คอลัมน์ : เพื่อชาติประชาชน ผู้เขียน : Pegasus ล้มละลายมีอยู่ 2 ด้านคือ ล้มละลายทางการเงินกับล้มละลายทางความน่าเชื่อถือ ซึ่งปรกติจะมีความเกี่ยวข้องกัน ยกตัวอย่างเงินหมดตัว คนก็ไม่กล้าเข้าใกล้ เพราะกลัวจะถูกยืมเงินแล้วไม่จ่าย ซึ่งก็คือหมดความเชื่อถือนั่นเอง ดังนั้น จะเห็นได้ว่า 2 เรื่องนี้สัมพันธ์กันอยู่ อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็อาจแยกจากกันได้ เช่น คนที่มีความร่ำรวยทางการเงินคงไม่คิดจะยืมเงินใคร แต่เป็นคนที่คดโกงหรือได้เงินจากการปล้นชิง ก็จะเป็นกรณีเดียวกันคือล้มละลายทางความน่าเชื่อถือ เมื่อไม่น่าเชื่อถือ ผู้คนก็ไม่อยากเข้าใกล้ ไม่ใช่เพราะกลัวถูกยืมเงิน แต่กลัวถูกปล้น อีกด้านหนึ่ง คนที่ล้มละลายทางการเงิน ไม่มีแม้แต่จะกิน แต่เป็นคนซื่อสัตย์ เป็นคนจริงใจ ก็ยังเป็นคนที่น่าเชื่อถือ อาจได้รับความช่วยเหลือให้ยืมเงินก็ได้ เพราะเป็นคนดี...
- Posted 8 years ago
-
ปัญหาธรรมกาย ทางออกที่ทำให้เป็นทางตัน / โดย สุรพศ ทวีศักดิ์
คอลัมน์ : ทรรศนะแสงสว่าง ผู้เขียน : สุรพศ ทวีศักดิ์ ถ้าจำกัด “ขอบเขต” ของปัญหาธรรมกายอยู่ที่ “คดีเกี่ยวกับการทุจริต” ของพระธัมมชโย ทางออกก็มีอยู่แล้วคือการดำเนินคดีตามกฎหมายปรกติ ตามกระบวนการยุติธรรมปรกติเหมือนคดีทุจริตอื่นๆ แต่กระบวนการจัดการกับพระธัมมชโยกลับเริ่มต้นจากทำให้เป็น “การเมือง” ตั้งแต่แรก โดยใช้วาระ “การปฏิรูปพุทธศาสนา” ของพระบางรูปและคนบางกลุ่มที่ออกไปชุมนุมทางการเมืองเรียกร้องรัฐประหารและสนับสนุนรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร แล้วเสนอวาระการปฏิรูปพุทธศาสนาของพวกตนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศตามนโยบายรัฐบาล คสช. รูปธรรมที่เห็นคือ การปฏิรูปประเทศเริ่มด้วยการจัดการกลุ่มการเมืองฝ่ายพรรคเพื่อไทย เช่น การดำเนินคดีกับอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ถูกรัฐประหาร เรื่อยมาจนถึงการเสนอให้เก็บภาษีอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร 16,000 ล้านบาท จากเงินที่เคยยึดไปแล้ว 46,000 ล้านบาท ขณะที่การปฏิรูปศาสนาก็เริ่มจากการรื้อข้อกล่าวหา “อาบัติปาราชิก”...
- Posted 8 years ago
-
‘Legitimacy’วัฒนธรรมความชอบธรรม / โดย เรืองยศ จันทรคีรี
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี บทความวันนี้กล่าวถึงเหตุผลและความชอบธรรมในการปกครองระบอบประชาธิปไตยกับความเป็นจริงในปัจจุบัน ผู้เขียนคงต้องอ้างอิงแนวความคิดของจอห์น ล็อค นักปรัชญาชาวอังกฤษ ทางด้านความรู้ต่างๆ จอห์น ล็อค มีความเห็นตอนหนึ่งว่า รากฐานของปรัชญาการเมืองต่างๆต้นกำเนิดมาจากเงื่อนไข 3 ข้อ ได้แก่ 1.สิทธิในชีวิตของมนุษย์แต่ละคน 2.เสรีภาพ และ 3.ทรัพย์สิน ทั้ง 3 ประการเป็นรากฐานนำไปสู่ปรัชญาทางการเมืองและการบริหารจัดการ เพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยสันติ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่า ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีต้นกำเนิดจากกรีกนั้นมีความเหมาะสมและเข้ากับจริตของมนุษย์ได้ดีที่สุด ประชาธิปไตยแบบกรีกโบราณเป็นประชาธิปไตยทางตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยในระบบตัวแทน ซึ่งต้นกำเนิดที่สำคัญอ้างอิงมาจากอดีตประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ซึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “ประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน”...
- Posted 8 years ago
-
ปฏิวัติร้านค้าชุมชน / โดย ณ สันมหาพล
คอลัมน์ : โลกไม่หยุดนิ่ง ผู้เขียน : ณ สันมหาพล เห็นชาวชนบทไทยตื่นตัวจะสร้างท้องถิ่นตัวเองให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ขณะเดียวกันเจ้าของร้านค้า พ่อค้าแม่ค้าในตลาด และเกษตรกร ก็ตื่นตัวที่จะปรับตัวเองให้มีลูกค้ามากขึ้น จำนวนไม่น้อยที่นำสินค้ามาจำหน่ายในออนไลน์ หลายรายไปไกลทั่วโลก จึงอยากเล่าถึง Retail West การประชุมค้าปลีกภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกาที่นครซานฟรานซิสโกเมื่อปลายปีที่แล้ว หัวข้อสำคัญที่เป็นทิศทางใหม่ในการค้าปลีกคือ การสร้างร้านค้าให้เป็นที่ชุมนุมของคนในชุมชน และการสร้างชุมชนให้เป็นร้านค้า โดยที่ประชุมยกตัวอย่างกิจการ 2 แห่งที่บุกเบิกการค้าปลีกแนวนี้ แห่งแรกคือ Sweetgreen เครือร้านอาหารสุขภาพ ที่บางครั้งอาจจะตะลึงที่เห็น Jay Z ยอดแร็พเปอร์ มาแสดงตรงหัวมุมถนนใกล้ร้านในเครือ ทำไมถึงมาแสดง คำตอบคือ เพื่อดึงคนให้มาดูการแสดง ระหว่างนั้นก็จะได้ฟังผู้แทนร้านในเครือบอกเล่าถึงความเป็นมาของการขายอาหารสุขภาพ ซึ่งพิถีพิถันอย่างยิ่งในการคัดเลือกวัตถุดิบ...
- Posted 8 years ago