- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 5 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 5 months ago
- โลกธรรมPosted 5 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 5 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 5 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 5 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 5 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 5 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 5 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 5 months ago
สสส. สานพลัง สสดย.-สช. เดินหน้าสร้างสังคมสื่อสุขภาวะ จัดงาน “MIDL Awards 2025”

น่าห่วง ! เด็ก-เยาวชนทั่วโลก 70% เผชิญความเสี่ยงทางไซเบอร์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เด็กไทยหนักสุด 41% ถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์สูงกว่าชาติอื่น สสส. สานพลัง สสดย.-สช. เดินหน้าสร้างสังคมสื่อสุขภาวะ จัดงาน “MIDL Awards 2025” ต่อเนื่องปี 2 ประกาศยกย่องสุดยอดผู้นำ- องค์กรต้นแบบ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้-การรู้เท่าทันสื่อ หวังให้เป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนระบบสื่อสุขภาวะ ลดปัญหาความรุนแรง-การกลั่นแกล้ง-อาชญากรรมทางเทคโนโลยี

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 16 ก.ค. 2568 ที่โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และองค์กรภาคีเครือข่าย จัดงานประกาศรางวัลดีเด่นด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการรู้เท่าทันสื่อ ปี 2568 หรือ “MIDL Awards 2025” ภายใต้โครงการสานพลังนโยบายสู่ปฏิบัติการเท่าทันสื่อ สนับสนุนโดย สสส. เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ในการร่วมขับเคลื่อนสังคมให้เกิดการใช้สื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สร้างสรรค์

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีระบบนิเวศสื่อเพื่อสุขภาวะ โดยสนับสนุนด้านการจัดการความรู้ สานพลังภาคีเครือข่ายพัฒนากลไกเฝ้าระวังสื่อภาคประชาชน และการพัฒนานโยบายที่ทันต่อภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันแม้เด็กและเยาวชนจะอ่านออก เขียนได้ แต่ถ้าขาดทักษะรู้เท่าทันสื่อโลกออนไลน์ ไม่สามารถแยกแยะข้อมูลจริงและข้อมูลหลอกลวงที่ถูกปรับแต่งมา เพื่อหลอกล่ออารมณ์ ชักนำความคิด เด็กจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงภัยคุกคามและการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ สอดคล้องกับรายงานผลการสำรวจดัชนีชี้วัดความปลอดภัยบนสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก (COSI) ปี 2566 โดยสถาบันดีคิว (DQ Institute) พบเด็กและเยาวชนอายุ 8-18 ปี ทั่วโลกหรือกว่า 70% ต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางไซเบอร์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่น่าสนใจ พบว่า เด็กไทย 41% ถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์ในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นๆ ซึ่งอยู่ที่ 39% เท่านั้น
“สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดงาน MIDL Awards 2025 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อประกาศรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติทั้งประเภทบุคคลต้นแบบ และองค์กรต้นแบบ ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และการรู้เท่าทันสื่อ และที่สำคัญคือการสร้างแรงบันดาลใจให้กับภาคีในการร่วมกันขับเคลื่อนสังคมให้เกิดการใช้สื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เกิดความตระหนักนำไปสู่การกำหนดนโยบาย วางแผน และออกแบบกิจกรรมในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการรู้เท่าทันสื่อให้แก่เด็กและเยาวชน ทั้งนี้ สุขภาวะทางการสื่อสารจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องสานพลังของทุกภาคส่วนที่เป็นพลังพลเมืองตื่นรู้ หรือ Active Citizen เพื่อร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อไปพร้อมกัน” รองผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว

ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) กล่าวว่า สสดย. ร่วมกับ สสส. มุ่งสร้างค่านิยมและแรงบันดาลใจให้แก่สังคม เกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อสร้างสุขภาวะดีทุกมิติ เปิดโอกาสให้บุคคลและองค์กรทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการสร้างระบบนิเวศสื่อสุขภาวะที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งผู้ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติประเภทบุคคลต้นแบบ 5 คน จากผู้สมัคร 53 คน และประเภทองค์กรภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ที่ขับเคลื่อนด้านการสร้างสรรค์การสื่อสารสุขภาวะต้นแบบ 8 แห่ง จากภาคี 28 แห่ง ถือเป็นกำลังสำคัญที่จะเป็นนักสื่อสารสุขภาวะและองค์กรสุขภาวะที่เข้มแข็ง สามารถสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังสื่อได้อย่างกว้างขวาง พร้อมเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ และองค์กรในหลายระดับ ให้ตื่นตัวและร่วมสร้างสรรค์การสื่อสารที่ดีสู่สังคม เพื่อลดปัญหาความรุนแรง การกลั่นแกล้ง ความขัดแย้ง และอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ภัยเร่งด่วนของสังคมไทยที่กำลังเผชิญคือ “ภัยออนไลน์” และการถูกคุกคามเพื่อแสวงหาประโยชน์” จากการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการติดเกม ติดพนันออนไลน์ บุหรี่ไฟฟ้าที่โฆษณาในสื่อออนไลน์ ทำให้เด็กเข้าใจผิดและส่งผลกระทบสุขภาพกลายมิติ รวมถึงการนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว และสังคมโดยรวม จากผลการสำรวจสถานภาพการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ปี 2567 โดยกรมประชาสัมพันธ์ สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยเรามีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่ดีมาก ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและเร็ว และสามารถสร้างหรือใช้ประโยชน์จากสื่อได้มากมาย แต่กลุ่มวัยที่สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงในการได้รับผลกระทบจากสื่อที่ไม่ปลอดภัย และผลกระทบต่อระบบสุขภาพ นั่นคือ กลุ่มเด็ก วัยรุ่น และผู้สูงวัย

“การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และรู้เท่าทันสื่อ ให้ประสบผลสำเร็จได้ในการแก้ไขปัญหานั้นคือ 1.การสร้างความรอบรู้ เท่าทันข้อมูลและความสามารถด้านดิจิทัล หรือ Digital Literacy รวมถึงการสร้างเนื้อหาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมสื่อสารเชิงบวก 2.การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเสนอแนะนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม โดย สช. ได้มีการผลักดันมติที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของสื่อต่อเด็กและเยาวชน ผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พร้อมสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน 3. การเสริมพลังความร่วมมือ สร้างความตระหนักรู้และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เท่าทันสื่อ ไปพร้อมๆ กับการบังคับใช้กฎหมายที่ที่มีประสิทธิภาพ ร่วมมือกับแพลตฟอร์มต่างๆ” นายสุทธิพงษ์ กล่าว
You must be logged in to post a comment Login