- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 4 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 4 months ago
- โลกธรรมPosted 4 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 4 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 5 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 5 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 5 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 5 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 5 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 5 months ago
จุฬาฯ – PMCU เสริมแกร่งบรรทัดทอง–สามย่าน ด้วยกลยุทธ์ร้านอาหาร ผสานพลังผู้เช่า-จุฬาฯ-และภาคเอกชน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ (PMCU) เดินหน้าสร้างความร่วมมือพันธมิตร พลิกวิกฤตหนุนบรรทัดทอง สามย่าน จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “ทางรอด–ทางรุ่ง ธุรกิจร้านอาหารในย่านบรรทัดทอง-สวนหลวง-สามย่าน” ภายใต้โครงการ “โต๊ะกลม: การส่งต่อองค์ความรู้สู่ชุมชน”

รศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเปิดงาน โดยเน้นย้ำบทบาทของจุฬาฯ สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ เปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้เช่า-ผู้เช่า เป็นพาร์ทเนอร์ที่เน้นการสร้างพันธมิตรระยะยาวกับคู่ค้า ชุมชน ที่ช่วยการสร้างสรรค์ระบบนิเวศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในทุกมิติอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นต้นแบบของ SDGs ให้กับประเทศไทย พร้อมชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการส่งต่อองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยสู่ผู้ประกอบการท้องถิ่น เพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองอย่างมีส่วนร่วมและครอบคลุม ซึ่งกิจกรรมอบรมในครั้งนี้มุ่งถ่ายทอดแนวคิดเกี่ยวกับ “Place Branding” หรือการสร้างแบรนด์ในเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจท้องถิ่น โดยเฉพาะร้านอาหารซึ่งถือเป็นธุรกิจที่มีความใกล้ชิดกับวิถีชีวิตผู้คนและสามารถสะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชนได้อย่างชัดเจน

โดยการอบรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และที่ปรึกษาด้านแบรนด์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ ในหัวข้อ “ทางรอด–ทางรุ่ง ธุรกิจร้านอาหาร” จะเปิดมุมมองใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่บรรทัดทอง–สามย่าน ถึงการปรับตัวในภาวะที่ตลาดเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งจากพฤติกรรมผู้บริโภค เทคโนโลยี และการแข่งขันที่สูงขึ้น โดยเน้นการสร้างจุดแข็งด้านแบรนด์ การวางตำแหน่งร้านให้โดดเด่น และการใช้ “เรื่องเล่า” (storytelling) สื่อสารคุณค่าเฉพาะตัวของแบรนด์ให้เชื่อมโยงกับย่านและผู้บริโภคยุคใหม่

โครงการ “โต๊ะกลม” เป็นกิจกรรมอบรมที่จัดต่อเนื่องรวม 7 ครั้ง 7 หัวข้อ ระหว่างเดือนกรกฎาคม–กันยายน 2568 โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจของพื้นที่บรรทัดทอง–สามย่าน ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เช่าพื้นที่รุ่นเก่า–รุ่นใหม่ พร้อมทั้งเปิดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการได้ร่วมเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา รวมถึงตัวแทนผู้เช่าที่ประสบความสำเร็จ เช่น
1. คุณทัพไทย ฤทธาพรม ผู้ร่วมก่อตั้ง Haab มาบ่างปันประสบการณ์ในการปักหมุดร้านให้เจอในโลกออนไลน์ และสร้างรีวิวให้ปัง
2. คุณนภสินธุ์ ปิยะสินธ์ชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Data มาสอนเรื่องการเพิ่มยอดขายด้วย Data ใช้ AI ให้ธุรกิจโตไว
3. Line Thailand แพลตฟอร์ม CRM ขนาดใหญ่ มาให้ Insight และแนวคิดในการแก้เกม นักท่องเที่ยวหาย สร้างยอดขายด้วยลูกค้าประจำ
4. Flow Account แอพลิเคชันด้านระบบบัญชี มาช่วยเสริมแนวคิดสำหรับร้านที่ขายดีแต่ไม่มีกำไรบัญชีช่วยได้
5. LINE MAN มาแชร์ข้อมูล และกลยุทธ์ที่น่าสนใจในการทำเดลิเวรี
6. ปิดท้ายด้วยผศ.ดร.จรัสพัฒน์ พฤกษารัตนวุฒิ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ เรื่องย่านมีชีวิต และ เมืองมีเรื่องราวการพัฒนาเชิงอัตลักษณ์เพื่อความยั่งยืน
โดย “คุณมุก” เจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวปลาล้งเล้งร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาที่มีชื่อเสียงและได้รับรางวัล Michelin Guide ถึง 6 ปีซ้อน เปิดให้บริการในย่านสามย่านมากว่า 50 ปี และคุณ “คุณตุ๊กตา” จากร้าน Ginger Bowl ร้านอาหารจีนสไตล์ฮ่องกง กล่าวว่า การจัดการอบรมในครั้งนี้ทำให้ตนเองได้มุมมองทางการตลาดใหม่ๆ และได้เรียนรู้ด้านการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า, การใช้เทคโนโลยี AI และการนำ Application ต่างๆ มาปรับใช้ในการบริหารงานด้านการตลาดให้ทันสมัยขึ้น

“คุณพัตเตอร์” เจ้าของร้าน Jade’s ที่ ต่อยอดลอดช่องวัดเจษชื่อดังมาเปิดคาเฟ่แห่งแรกที่บรรทัดทอง ยังกล่าวอีกว่า นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่ PMCU จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ร้านค้าสำหรับการอบรมในวันนี้ได้ความรู้ด้านการใช้เครื่องมือการทำการตลาดออนไลน์ใหม่ๆ ให้เป็นประโยชน์ในการบริหารงานด้านการตลาดของร้าน
กิจกรรมครั้งนี้ยังสะท้อนบทบาทของจุฬาฯ ในการเชื่อมโยงองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย และพันธมิตรทางธุรกิจสู่การพัฒนาเมืองและชุมชนอย่างมีส่วนร่วม สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการเป็นศูนย์กลางความรู้เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน
You must be logged in to post a comment Login