- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 4 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 4 months ago
- โลกธรรมPosted 4 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 4 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 4 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 5 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 5 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 5 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 5 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 5 months ago
อปท.ทั่วประเทศสานพลังชุมชนขานรับไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า

ภาพรวมในปัจจุบันจำนวนผู้สูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลงตามลำดับ ส่วนบุหรี่ไฟฟ้ากลับมีแนวโน้มที่จะมีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนและคนทำงาน ด้วยรูปลักษณ์ที่น่ารัก มีกลิ่นให้เลือกมากมาย ที่สำคัญสามารถหาซื้อได้ง่าย และการใช้งานก็แสนจะสะดวกสบายที่จะดึงดูดให้คนที่อยากทดลอง อีกทั้งยังมีคนจำนวนหนึ่งที่เชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน
ที่ผ่านมาสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น-สภาพัฒน์หน่วยงานต่างๆ เปิดเวที “สานพลัง สร้างนวัตกรรม สู่สุขภาวะชุมชนที่ยั่งยืน” ยกระดับนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพจากชุมชนสู่ประเทศ ได้มีการหยิบยกเรื่อง “ชุมชนท้องถิ่นควบคุมการแพร่ระบาดของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า” จากข้อมูลของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยระบุว่า ประเทศไทยมี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ทั้งหมด 7,850 แห่งทั่วประเทศ

ผศ.ดร.พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน(ศวช.) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยลัยขอนแก่น กล่าวว่า อปท.ทุกพื้นที่มีมาตรการในการป้องกันบุหรี่ไฟฟ้า ในภาพรวมแนวทางการขับเคลื่อนของแต่ละพื้นที่จะขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ ซึ่งมาตรการจะมีทั้งการควบคุม ดูแล บำบัด และการให้ความช่วยเหลือจากภาคส่วนต่างๆ รวมถึงศาสนาที่เข้ามาเชื่อมโยงเพื่อให้การทำงานของพื้นที่บรรลุเป้าหมาย ในการลด ละ เลิก บุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า สำหรับวันนี้การควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าจะควบคุมได้ยากเพราะพฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป
เมื่อท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการควบคุมการแพร่ระบาดของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในชุมชน แต่สิ่งหนึ่งที่ในการเสวนาต่างมีความคิดเห็นตรงกันคือ ไม่ต้องการให้เด็กและเยาวชนของชุมชนตกเป็นทาสของบุหรี่โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าที่สามารถหาซื้อขายได้ง่ายเหมือนการสั่งอาหารมาทานที่บ้าน เมื่อ อปท.เข้ามาเป็นเจ้าภาพการขับเคลื่อนงานดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนรวมทั้งชุมชน ผู้นำชุมชน ที่ผ่านมามีหลายพื้นที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ะบาดของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เช่น

-เทศบาลตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
นายวุฒิกร บุญเฉลียว นักวิชาการสาธารณสุข เทศบาลตำบลสันนาเม็ง บอกว่า ความเป็นอำเภอสันนาเม็งที่เปลี่ยนไปกลายเป็นชุมขนเมืองมากขึ้น มีหมู่บ้านเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก ปัญหาที่พบของชุมชนคือประชากรแฝง ปัญหาการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่มีมาก การดำเนินงานจึงได้มีการจัดทำสภาน้ำเต้าหู้ เพื่อให้ผู้นำชุมชน คนทำงาน และชาวบ้านได้มีโอกาสมาพูดคุยกัน และหาแนวทางการควบคุมจึงเริ่มจากการควบคุมการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่สาธารณ เช่นงานบุญงานศพปลอดเหล้า ได้รับการตอบรับจากประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดี เพราะเขาเห็นผลและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้
นอกจากจะมีการควบคุมพื้นที่การสูบแล้ว ยังมีแนวทางการรักษาสำหรับผู้ที่ต้องการจะเลิกสูบ ใช้ทั้งแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทยเข้ามาช่วยในการขับเคลื่อน รวมทั้งมีการให้ความรู้ถึงภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปบอกต่อลูกหลาน
นายวุฒิกร ระบุว่า ปัจจัยที่ทำให้พื้นที่ประสบความสำเร็จ คือ กลุ่ม อสม.ที่ช่วยผลักดันและขับเคลื่อนให้คนเลิกสูบได้ ขณะเดียวกันทางท้องถิ่นได้สนับสนุนงบประมาณด้านการรักษา รณรงค์ ให้คำปรึกษา และประสานให้ผู้ที่ต้องการเลิกสูบเข้ารับการรักษาได้ที่ รพ.สต.

-ใช้หลักศาสนาขับเคลื่อน สู่มัสยิดปลอดบุหรี่
นายนัศรุดดีน เจตนรากุล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ในพื้นที่ประชาชนที่นี่นับถือศาสนาอิสลามประมาณ 90% ของพื้นที่ เราให้ผู้นำทางศาสนา ครูสอนศาสนาเข้ามาช่วยสอน เพื่อปลูกจิตสำนึกว่าเราจะไม่เอาสิ่งที่เป็นอันตรายมาใส่ตัวเอง และได้มีการกำหนดให้มัสยิดเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ การดำเนินงานจะเป็นการปลูกจิตสำนึกแบบค่อยเป็นค่อยไป ใครที่ยังเลิกไม่ได้เราจะแนะนำให้เว้นระยะห่างการสูบ
สำหรับปัญหาที่พบในพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่จังหวัดนราธิวาสติดกับประเทศไทยมาเลเซีย จึงทำให้การไหลทะลักเข้ามาของบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างง่าย อีกทั้งเรื่องของภาษาที่ยังเป็นปัญหาในการสื่อสารซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายให้กับคนทำงานในพื้นที่ จะต้องทำอย่างไรให้คนทุกคนในพื้นที่ได้เข้าใจถึงการควบคุมการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า

-สสส.เดินหน้าสร้างการมีสุขภาวะชุมชนที่ดี
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า การขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชนต้องอาศัย 3 หัวใจหลัก 1. สานพลัง การรวมพลังจากภาคีทุกภาคส่วน ทั้งท้องถิ่น ชุมชน หน่วยงานรัฐ ภาควิชาการ เอกชน และภาคประชาสังคม พัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่น และหนุนเสริมเครือข่ายนักสร้างเสริมสุขภาวะ 2. สร้างนวัตกรรม ชุมชนต้องใช้ทุนทางสังคมที่มีผสานองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ สร้างนวัตกรรมสุขภาวะทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการเมืองการปกครอง 3. นำสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน ผ่านกลไกที่ชุมชนเป็นเจ้าของและจัดการตนเองได้ บูรณาการงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง สร้างพลังรับมือกับการเปลี่ยนแปลง
นพ.พงศ์เทพ กล่าวว่า การมีสุขภาวะชุมชนที่ดี คือการที่ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีอาชีพ มีรายได้ และมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีความสามารถในการจัดการตนเอง สสส. กำหนดให้ ‘แผนสุขภาวะชุมชน’ เป็น 1 ใน 15 แผนหลักในการขับเคลื่อนประเทศ โดยมีเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ เป็นกลไกสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์กรหลัก 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 2. ท้องที่ (กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน) 3. องค์กรชุมชน 4.หน่วยงานรัฐในพื้นที่ รวมกว่า 3,658 ตำบลทั่วประเทศ พร้อมด้วยสถาบันวิชาการ องค์กรเอกชน และศูนย์สนับสนุนวิชาการ ร่วมกันขับเคลื่อนผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน เป้าหมายสำคัญคือ การเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองได้ ลดความเหลื่อมล้ำ และรับมือกับวิกฤตที่กระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต โดยเชื่อมั่นว่า การสานพลัง สร้างนวัตกรรม และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากประสบการณ์ของเครือข่ายสุขภาวะทั่วประเทศ จะนำไปสู่การสร้าง ชุมชนสุขภาวะที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
You must be logged in to post a comment Login