- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 3 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 3 months ago
- โลกธรรมPosted 3 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 3 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 3 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 3 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 3 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 3 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 3 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 3 months ago
ชู “ม.แม่โจ้” ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนในมหาวิทยาลัย

เป็นที่ทราบกันดีว่า พาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดของประเทศคือ จักรยานยนต์ และจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์คือกลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงาน สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัดแล้วรถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่สะดวกสบายมากที่สุดโดยเฉพาะนักศึกษาแล้วมีความจำเป็นไม่มากก็น้อย
สำหรับ ม.แม่โจ้ ที่ตั้งอยู่บนตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ปัญหาที่ทาง ม.แม่โจ้พบ คือ อุบัติเหตุของนักศึกษาทั้งภายในและนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งบางกรณีมีนักศึกษาบาดเจ็บและถึงแก่ชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ผู้บริหารสถาบันจะต้องมาทบทวนบทบาทของมหาวิทยาลัยที่นอกจากจะมีหน้าที่ให้ความรู้แล้ว ยังต้องมีหน้าที่ดูแลนักศึกษาให้มีชีวิตรอดปลอกภัยจากอุบัติเหตุ รวมทั้งปลูกฝังการเคารพกฎจราจรเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน
ม.แม่โจ้ คือตัวอย่างของมหาวิทยาลัยที่ประสบความสำเร็จในการลดอุบัติทางถนนภายในมหาวิทยาลัยลดลงจากรอบปีที่ผ่านมาพบสะสม 31 ครั้ง เหลือเพียง 1-3 ครั้งในช่วงต้นปีที่ผ่านมา และลดลงเป็น 0 ในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งความสำเร็จที่ได้มานั้นต้องมาจากอาจารย์และผู้บริหารของมหาวิทยาลัยที่ต้องมีความจริงใจที่จะปรับเปลี่ยนและสนับสนุนทางทำงานเพื่อการลดอุบัติหตุภายในมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง

ผศ.ดร.กังสดาล กนกหงส์ ผู้รับผิดชอบโครงการมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนนในสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นใน ม.แม่โจ้ เกิดจากการขับรถเร็ว ไม่สวมหมวกนิรภัย เมาแล้วขับ เป็นต้น อีกทั้งจากการสำรวจพบจุดเสี่ยงภายในมหาวิทยาลัยมากถึง 16 จุด การทำงานแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) ภาคเหนือตอนบน บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ แขวงทางหลวงเชียงใหม่ที่ 2 และสถานีตำรวจภูธรแม่โจ้
ในภาพรวมทางม.แม่โจ้ได้กำหนดให้มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ขับขี่ปลอดภัยด้วยการสวมหมวกนิรภัย 100% โดยกำหนดให้มหาวิทยาลัยเป็น “เขตควบคุมวินัยจราจร” ด้วยการกำหนดความเร็วโดยกำหนดให้รถจักรยานยนต์ห้ามใช้ความเร็วเกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ,ไม่ใช้เครื่องมือสื่อสารขณะขับขี่,มีสติไม่ประมาท และเมาไม่ขับ
สำหรับการแก้ไข้จุดเสี่ยง 16 จุด นับเป็นความโชคดีของมหาวิทยาลัยที่ผู้บริหารให้การสนุบสนุนงบประมาณในการแก้ไขจุดเสี่ยง โดยติดป้ายแจ้งเตือน ห้ามย้อนศร ติดตั้งกรวยยางเพื่อบังคับทิศทางขับขี่ ทำเนินชะลอเพื่อจำกัดความเร็ว

ผศ.ดร.กังสดาร กล่าวว่า การสื่อสร้างจะใช้การสื่อสารเชิงรุก สร้างการรับรู้ชี้แจงและให้ความรู้แก่นักศึกษาใหม่ช่วงปฐมนิเทศ พร้อมจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ สร้างทางเลือกการเดินทางด้วยบริการรถรับส่งภายในมหาวิทยาลัย

ส่วนการทำงานได้มีการตั้งคณะทำงานด้านการรักษาความปลอดภัย ทำหน้าที่ตั้งด่านตรวจการสวมหมวกนิรภัยสัปดาห์ละ 2 วันตลอดปีการศึกษา เพื่อตรวจสอบการสวมหมวกนิรภัยและการขี่ย้อนศร พร้อมกำหนดมาตรการลงโทษผู้ฝ่าฝืนแบบตรวจจับ-ปรับจริง กรณีนักศึกษาจะตัดคะแนนความประพฤติ 10 คะแนน กรณีไม่สวมหมวกนิรภัย และตัด 20 คะแนนกรณีขับขี่รถย้อนศร บุคลากรจะแจ้งหน่วยงานต้นสังกัดให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาดำเนินการลงโทษทางวินัย และบุคคลภายนอกจะแจ้งมาตรการองค์กรในการสวมหมวกนิรภัย 100% พร้อมขอความร่วมมือให้ใช้เส้นทางภายนอกมหาวิทยาลัย โดยในปีหน้าจะขยับทำงานร่วมกับ 5 ชุมชนโดยรอบเพื่อทำประชาคมหมู่บ้านชวนสวมหมวกนิรภัย ผลลัพธ์ที่ได้คือ จำนวนอุบัติเหตุภายในมหาวิทยาลัยลดลง และในเดือนเมษยนที่ผ่านจำนวนอุบัติเหตุลดลงเท่ากับ 0

อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า การลดอุบัติเหตุภายในมหาวิทยาลัยจะเกิดขึ้นได้ ผู้บริหารจะต้องรู้จักเปลี่ยนแปลงตนเองก่อนที่จะไปเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ต้องเข้าใจโลกที่เปลี่ยนแปลงและปรับตัวเองให้เข้ากับโลกของนักศึกษา สนับสนุนการทำงานของคณะทำงาน และสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ให้กับสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

นางก่องกาญจน์ ทักษ์หิรัญฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลบูรณาการ 3 ฐาน ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าไทยยังมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 15,000 ราย โดยเป็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์ 74.5% เหตุไม่สวมหมวกนิรภัย 86% ที่น่าห่วงคือกลุ่มเยาวชนอายุ 15–24 ปี มีการใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะหลัก แต่มีอัตราการสวมหมวกนิรภัยเพียง 46% และยังตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยระดับต่ำในพื้นที่เมืองรองและชนบท

“สสส. ร่วมกับองค์การอนามัยโลกสนับสนุนการดำเนินงานโครงการมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนนในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อดูแลนิสิต นักศึกษา และบุคลากรในสถาบันให้เกิดความปลอดภัย เป็นไปตามแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2565 – 2570 ตั้งเป้าหมายลดการเสียชีวิตให้เหลือไม่เกิน 12 คนต่อแสนประชากร ภายในปี 2570 โดยมีมหาวิทยาลัยร่วมขับเคลื่อน 9 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้” นางก่องกาญจน์ กล่าว

นางก่องกาญจน์ กล่าวต่อว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป็นพื้นที่ต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ คือ มีการนำนโยบายระดับจังหวัดสู่การปฎิบัติจริง โดยทำบันทึกข้อตกลงเรื่องการสวมหมวกนิรภัย 100% หลังจังหวัดเชียงใหม่ประกาศให้เป็นวาระจังหวัดเมื่อปี 2564 มีการสำรวจและแก้ไขจุดเสี่ยง และมีมาตรการควบคุมความเร็วในมหาวิทยาลัย ส่งผลให้อัตราการสวมหมวกนิรภัยของนักศึกษาและบุคลากรจากช่วงโควิดอยู่ที่ 60-70% ปัจจุบันเพิ่มเป็น 96.4% อุบัติเหตุทางถนนภายในมหาวิทยาลัยลดลงจากรอบปีที่ผ่านมาพบสะสม 31 ครั้ง เหลือเพียง 1-3 ครั้งในช่วงต้นปีที่ผ่านมา และลดลงเป็น 0 ในช่วงเดือนเมษายน
You must be logged in to post a comment Login