- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 3 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 3 months ago
- โลกธรรมPosted 3 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 3 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 3 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 3 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 3 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 3 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 3 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 3 months ago
สสส.สานพลัง “พระคิลานุปัฏฐาก” ให้ความรู้พระ-เณรสร้างวัดปลอดบุหรี่

“ทุกวันนี้คนเกิดน้อยลง มีคนบวรพระน้อยลง มีพระที่ชรามากขึ้น เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆมากขึ้น รวมทั้งโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ส่งผลให้มีพระสงฆ์ที่จะสืบสานพระพุทธศาสนาลดลงเข้าไปอีก การที่พระสงค์เจ็บป่วยจึงถือได้ว่าเป็นภัยความความมั่นคงของพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง”
จากคำกล่าวของ นายธวัชชัย จันจุฬา ผู้ประสานงานโครงการวัดปลอดบุหรี่ฯ ที่กล่าวถึงผลกระทบของศาสนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหากพระสงฆ์ไทยยังมีสุภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง เจ็บป่วยด้วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บที่มีมาจากอาหารและการสูบบุหรี่

นายธวัชชัย ระบุว่า สถานการณ์การสูบบุหรี่ของพระสงฆ์มันมีมาตั้งแต่อดีต และคนได้ใช้พื้นที่วัดในการสูบหรี่ เพราะมันเป็นพื้นที่สาธารณะที่คนทุกเพศ ทุกวัยสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทำให้มีทั้งมุมบวก มุมลบ จึงทำให้เราคิดว่าจะทำให้วัดเป็นพื้นที่ส่งเสริมสุขภาพได้จริง และเป็นพื้นที่ที่คนมาวัดแล้วได้บุญได้กุศล และไม่ได้โรคกลับไปด้วย เราจึงเริ่มด้วยการมีวัดต้นแบบจัดการทั้งด้านสภาพแวดล้อมติดป้ายไม่สูบ ห้ามดื่ม อย่างชัดเจน และร่วมทำงานกับพระสงฆ์ที่มีพลัง รู้จักวิธีบอกกล่าวญาติโยมด้วยวิธีสันติ ไม่ใช่การดุ ว่ากล่าว รวมทั้งมีวิธีการให้คำปรึกษาสำหรับพระสงฆ์และฆราวาสที่ต้องการจะเลิกสูบบุหรี่ และพัฒนาแกนนำพระสงฆ์เพื่อการเฝ้าระวัง
ในการทำงานได้มีการพูดคุยกับเจ้าคณะจังหวัด 24 จังหวัดที่ทางเราเข้าไปทำงานที่สำคัญเจ้าคณะจังหวัดจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนว่า วัดจะต้องเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่-สุรา ถึงแม้ว่าเราจะมีกฎหมายออกมาควบคุมแล้วก็ตาม
สถิติการเจ็บป่วยของพระสงฆ์ในโรงพยาบาลสงฆ์ก็มีให้เห็น เรามีทั้งกฎหมายและประกาศของคณะสงฆ์แต่ไม่ค่อยเห็นใครปฏิบัติตาม ที่ผ่านมาเจ้าอาวาสและพระแกนนำเริ่มให้ความสำคัญใช้พื้นที่ของวัดเป็นพื้นที่ส่งเสริมสุขภาพ กาย จิต วิญญาณได้จริง ซึ่งพระที่เทศน์นอกจากเรื่องที่เทศน์แล้วจะมีการสอดแทรกเรื่องอันตรายของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า
ทั้งนี้ ศูนย์การเรียนโพธิยาลัย อ.ดอยสะเก็ด เป็น 1 ใน 80 โรงเรียนพระปริยัติธรรมปลอดบุหรี่ต้นแบบ ให้การศึกษาแก่สามเณรตั้งแต่ ม.1-6 ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มาจากครอบครัวไม่สมบูรณ์ พ่อแม่หย่าร้าง เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการจัดการหรือขัดเกลาที่ดี เพื่อให้เติบโตเป็นศาสนทายาท หรือไปอยู่ในสังคมได้อย่างไม่มีปัญหา การดำเนินงานเป็นไปตามตัวชี้วัด 5 ด้าน คือ 1.ตั้งคณะกรรมการและพัฒนาแกนนำครูในการเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาสามเณรสูบบุหรี่ 2.พัฒนาหลักสูตรวิชาสุขศึกษาบูรณาการ โดยนำโทษของบุหรี่เข้าสู่การเรียนปกติ ซึ่งไม่ได้มีแค่ทฤษฎี แต่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ เช่น นำสามเณรไปดูผลกระทบของผู้ติดบุหรี่ 3.มีกระบวนการช่วยสามเณรที่ติดหรือเสี่ยงต่อการสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้าที่เหมาะสม 4.มีนโยบายชัดเจนเรื่องโรงเรียนปริยัติธรรมปลอดบุหรี่ 5.มีการจัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนไม่เอื้อให้สามเณรสูบหรือยุ่งเกี่ยวบุหรี่ ทำให้เกิดการป้องกันการสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้าของสามเณร ส่วนที่มีการสูบอยู่ระหว่างกระบวนการให้ให้คำปรึกษา

นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 2 และประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 นำคณะกรรมการบริหารแผนคณะ 1 ผู้บริหารสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในประเทศไทยเรามีทุกศาสนา และศาสนาที่มีคนนับถือมากที่คือ ศาสนาพุทธ ในประเทศไทยมีวัดประมาณ 40,000 กว่าวัด และมีเครือข่ายที่ สสส.สนับสนุนร่วมกับภาคประชาชนมีวัดปลอดบุหรี่ประมาณ 3,000 กว่าวัด ประมาณ 7% สิ่งที่ทางสสส.ขับเคลื่อนมาอย่างยาวนานส่งผลให้ปัจจุบันไม่มีใครกล้าถวายบุหรี่ให้พระสงฆ์ ซึ่งเท่ากับถวายยาพิษและสารก่อมะเร็ง
ในปัจจุบันสถาบันสงฆ์ได้เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของสังคมไทยที่ได้มีการขับเคลื่อนในเรื่องต่างๆ รวมถึงโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่มีหลักสูตรที่มีครูที่เป็นพระและฆราวาส เพื่อสอนเณรหรือพระผู้ใหญ่ที่มาเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมเพื่อให้มีสังคมสุขภาวะและเป็นผู้นำในสังคมซึ่งเป็นพื้นฐานอนาคตของผู้นำในวงการสงฆ์ ทาง สสส.หวังว่า สิ่งที่ดีๆในอดีตที่เป็นบวร ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน ที่เป็นข้อต่อโซ่กลางระหว่างสิ่งที่ดีๆทั้งหลายในสุขภาวะทางกายและจิต ที่ว่าด้วยเรื่องอาหาร รณรงค์ทานอาหารอย่างไรไม่ให้เกิดโรคNCDs ไม่ถวายอาหารหวาน มัน เค็ม ให้กับพระสงฆ์ ที่เป็นการทำลายสุขภาพของอพระสงฆ์

ปัจจุบันมีพระสงฆ์ทั่งประเทศ 200,000 กว่ารูปที่เจ็บป่วยที่เหมือนกับคนในสังคมที่มีอายุมากขึ้นก็จะเกิดการเจ็บป่วย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สังคมไทยเราต้องอาศัยพลังของชุมชนนี้ในการดูแล และสถาบันสงฆ์เป็นสถาบันที่มีพลัง ศรัทธา มีสถานที่ กำลังทรัพย์ที่ผู้คนมาบริจาคมากมาย เราหวังว่าสิ่งเหล่านี้ช่วยพยุงสังคมให้ไป่สู่สุขภาวะที่ดีกว่าในปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของ บทบาทของ สสส.ที่จะมาสนับสนุนวัดให้เป็นกำลังส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคม ที่เป็นบทบาทหนึ่งของพระสงฆ์ที่สำคัญ
และในวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปีจะเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก จากการสำรวจพระสงฆ์จะมีประมาณ 20% ที่มีการสูบบุหรี่ แต่สิ่งที่น่ากลัวคือการเข้ามาของบุหรี่ไฟฟ้าที่มีการระบาดในกลุ่มพระสงฆ์ที่สามารถสูบได้ตลอดเวลา ซึ่งในวันงดสูบบุหรี่โลกในปีนี้จะอาศัยพลังของพระสงฆ์ได้ประกาศเจตนารมณ์ให้วัดปลอดเหล้า บุหรี่ในงานต่างๆ
“สสส.คาดหวังว่าจะมีวัดปลอดบุหรี่ และสอนให้ผู้คนที่อยู่รอบวัด และเปิดโอกาสให้พระ 1 รูปชวนเณร และชาวบ้านเลิกบุหรี่อย่างละ 1 คน ซึ่งคนที่ติดบุหรี่ไม่มาก 70-80%จะเลิกบุหรี่ได้ต้องอาศัยกำลังใจ เช่น การให้สัญญาต่อหน้าพระว่าจะเลิกบุหรี่ในวันเข้าพรรษา วันวิสาขบูชา หรือวัดเกิด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นกำลังใจอย่างหนึ่งและเป็นวิธีการเลิกบุหรี่ในทางจิตวิทยา”
สำหรับพระสงฆ์ที่อาพาธและขาดผู้ดูแล เรามีพระคิลานุปัฏฐาก ในภาคเหนือได้มีการอบรมไปแล้วกว่า 600 รูป มีกองทุนของ สปสช.ในรูปแบบชีวาภิบาลสนับสนุนสิ่งของเครื่องใช้ และมีกองทุนที่ได้รับบริจาควัดต่างๆที่เข้ามาดูแลพระที่อาพาธ ทางสสส.หวังว่าจะสามารถขยายไปยังพื้นที่ต่างๆได้

ทั้งนี้เพื่อการลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ ได้แก่ 1.โครงการวัดปลอดบุหรี่ สุขภาพดีด้วยวิถีธรรม ส่งเสริมให้เกิดวัดปลอดบุหรี่ 3,300 แห่งใน 24 จังหวัด และโรงเรียนพระปริยัติธรรมต้นแบบปลอดบุหรี่ 80 แห่งทั่วประเทศ มีพระสงฆ์เลิกสูบบุหรี่147 รูป และมีผู้ที่อยากเลิกบุหรี่ลงนามในใบอธิษฐานจิตในโอกาสสำคัญเช่น ช่วงเข้าพรรษา วันพระ วันเกิด รวม 9,227 คน โดยนำรายชื่อส่งให้สายด่วนเลิกบุหรี่ติดตามผลต่อ รวมถึงพัฒนาพระคิลานุปัฏฐาก 3,100 รูปให้ทำงานเชิงป้องกันได้ 2.โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ “งานบวชสร้างสุข” สู่สุขภาวะชุมชนและสังคมด้วยหลักพุทธธรรม เนื่องจากงานบวชในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 5 หมื่น – 1 ล้านบาท สสส. จึงส่งเสริมงานบวชสร้างสุขที่มุ่งเน้นความเรียบง่าย ประหยัด ตามหลักพระธรรมวินัย พบว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ 1 แสนบาท/งาน จำนวนนี้เป็นค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2 หมื่นบาทจากการดำเนินการ 173 พื้นที่/วัด ใน 50 จังหวัด ตั้งแต่ ม.ค. 2567 – ก.พ. 2568 มีการจัดงานบวชสร้างสุข 3,085 นาค ประหยัดค่าใช้จ่ายรวมกว่า308,500,000 บาท ช่วยลดความรุนแรงเหตุทะเลาะวิวาทในงานบวช จากเสียชีวิตเฉลี่ย 9 ราย/ปี เหลือ 4.5 ราย/ปี
และ3.โครงการสร้างเสริมสถาบันพระพุทธศาสนาสุขภาวะเพื่อการลดปัจจัยเสี่ยงใน 10 จังหวัด ส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ผ่านเครือข่ายพระสอนศีลธรรมและเครือข่ายบวร (บ้าน วัด โรงเรียนราชการ) เป็นกลไกหลักเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาวะในชุมชน โดยจัดอบรมหลักสูตรออนไลน์ “ครูพระสุขภาวะ” เพื่อวางแผนกิจกรรมลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่สอดคล้องกับแนวทางพระพุทธศาสนา ถ่ายทอดความรู้เรื่องโทษของบุหรี่และยาเสพติดในโรงเรียน ป้องกันการเกิดนักสูบ นักดื่มหน้าใหม่ในกลุ่มเยาวชนและสามเณร
พระคิลานุปัฏฐาก แกนนำดูแลให้ความด้านสุขภาพแก่พระสงฆ์

พระอาชาบิน พระคิลานุปัฏฐาก วัดเจ็ดยอด ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ที่ได้รับรางวัลพระคิลานุปัฏฐากยอดเยี่ยม กล่าวว่า พระคิลานุปัฏฐาก คือพระสงฆ์ที่มีหน้าที่ดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในวัด ทำหน้าที่คล้าย อสม.(อาสาสาธารณสุขหมู่บ้าน)เป็นการดูแลลพระสงฆ์อาพาธตามหลักสูตรการดูแลพระสงฆ์ และส่งเสริมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ ส่วนเรื่องการควบคุมไม่ให้มีการสูบบุหรี่ภายในวัดนั้นทางวัดจะมีการติดป้ายห้ามสูบบุหรี่และดื่มสุราภายในวัดในทุกๆจุดภายในวัด หากมีญาติ โยม นักท่องเที่ยวทำผิดกฎอาตมาจะเข้าไปตักเตือน นอกจากนี้พระคิลานุปัฏฐากยังมีหน้าที่ให้ความรู้ถึงอันตรายของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าให้กับพระสงฆ์และเณร รวมทั้งญาติโยมที่เข้ามาทำบุญหรือจัดงานภายในวัด

สำหรับการดูแลพระสงฆ์ที่อาพาธนอกจากการเจ็บป่วยทางกายตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นแล้วยังพบว่า อาหารที่ญาติโยมนำมาถวายพระนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคNCDs ในพระสงฆ์ รวมทั้งบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ที่ต้องให้ความรู้แก่พระสงฆ์ด้วยกัน ซึ่งพระหลายรูปท่านเข้าใจถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากเรื่องที่กล่าวมาข้างต้น ผลลัพธ์ ที่ได้ในวันนี้คือภายในวัดเจ็ดยอดมีสุขภาพที่ดีขึ้น และประชาชนที่เข้ามาในวัดก็มีสุขภาพดีไม่ได้รับอันตรายจากควันบุหรี่
You must be logged in to post a comment Login