- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 3 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 3 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 3 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 3 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 3 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 3 months ago
เวทีขับเคลื่อนศักยภาพองค์กรระดับสากล “ผู้นําการปฏิวัติ 4IR: ถอดบทเรียนสําคัญจาก WEF Global Lighthouse Network”

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2568 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร จัดสัมมนา i-Forum “ผู้นําการปฏิวัติ 4IR: ถอดบทเรียนสําคัญจาก WEF Global Lighthouse Network” ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่มาแบ่งปันองค์ความรู้ และร่วมเสวนา ถือเป็นเวทีแห่งการขับเคลื่อนศักยภาพองค์กร ระดับสากล ซึ่ง Global Lighthouse Network คือชุมชนของผู้ผลิตระดับโลกที่นําเทคโนโลยีจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 Fourth Industrial Revolution (4IR) มาปรับใช้ในโรงงานและกระบวนการผลิต เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและสร้างความยั่งยืนใน อุตสาหกรรม โดยเครือข่ายนี้ก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง World Economic Forum (WEF) และ McKinsey & Company พร้อมทั้งจัดการมอบรางวัล WEF Global Lighthouse Network Award เพื่อยกย่องโรงงานและองค์กรที่เป็นผู้นําด้านการใช้ เทคโนโลยี 4IR อย่างมีประสิทธิผล

รองศาสตราจารย์ ดร.เชาวลิต มิตรสันติสุข ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าคณะทำงาน ให้สัมภาษณ์ว่า การเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของภาคการผลิตทั่วโลกกำลังเกิดขึ้นภายใต้ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Fourth Industrial Revolution (4IR) ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็น AI, IoT, Big Data, หุ่นยนต์อัตโนมัติ และระบบอัจฉริยะต่าง ๆ ซึ่งมีศักยภาพในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน การเพิ่มประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือ การสร้างความยั่งยืน (Sustainability) ให้กับภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว
ดังนั้นงานเสวนาวิชาการ i-Forum มีจุดประสงค์เพื่อเชิญโรงงานชั้นนำของประเทศที่มีกระบวนการผลิตทันสมัยที่สุด มาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ และเสวนาร่วมกันในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของภาคการผลิตไทยให้ก้าวทันระดับโลก โดยเฉพาะเครือข่ายที่มีบทบาทโดดเด่นระดับโลกอย่าง Global Lighthouse Network ซึ่งริเริ่มโดย World Economic Forum (WEF) ร่วมกับ McKinsey & Company เป็นเวทีรวมองค์กรและโรงงานที่ได้รับเลือกให้เป็น “Lighthouse” หรือ “ประภาคาร” ที่ส่องแสงนำทางให้อุตสาหกรรมทั่วโลก ด้วยการเป็นต้นแบบของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อุตสาหกรรมยุคที่ 4 (4IR) อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรที่ได้รับเกียรติให้เข้ามาอยู่ในเครือข่าย WEF Global Lighthouse Network ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความเป็นผู้นำด้าน แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ดังนั้น นี่คือทางลัด (shortcut) สำหรับโรงงานและองค์กรที่ต้องการเร่งการเรียนรู้ — การเข้าร่วมงานประชุมนี้คือวิธีที่เร็วที่สุดในการเข้าถึงบทเรียนที่ดีที่สุดจากผู้นำตัวจริงของอุตสาหกรรมโลก

พร้อมระบุว่า WEF Global Lighthouse Network ประกอบด้วย 3 ประเภทด้วยกันได้แก่ 1) 4IR Lighthouses โรงงานที่ใช้เทคโนโลยี 4IR ได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ IIOT, AI/Machine learning, Data Analytics และสร้างผลลัพธ์ชัดเจนทั้งในด้านผลผลิต คุณภาพ ความยั่งยืน และการพัฒนาทักษะแรงงาน
ในระดับโลกมีทั้งหมด 189 โรงงานที่ได้รับ ในประเทศไทย มีเพียง 2 โรงงานในประเทศไทย ได้แก่ บริษัท Western Digital Storage Technologies (Thailand) Limited ที่ได้รับ 4IR Lighthouse ครั้งแรกของประเทศไทยในปี 2021 ที่โรงงาน WD ปราจีนบุรี และ 2023 ที่โรงงาน WD บางปะอิน บริษัท Kenvue Thailand ได้รับ 4IR Lighthouse ในปี 2022
2) Sustainability Lighthouse โรงงานที่ไม่เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แต่ยังสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อ สิ่งแวดล้อม เช่น ลดการปล่อยคาร์บอน ลดการใช้น้ำ หรือเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน มีทั้งหมด 25 โรงงาน ในประเทศไทย มีเพียง 1 โรงงานในประเทศไทย คือ บริษัท Kenvue Thailand ได้รับ Sustainability Lighthouse ครั้งแรกของประเทศไทยในปี 2023
และ 3) Frontline Workforce of the Future กำลังคนด่านหน้าในอนาคต โครงการนำร่องของ WEF Global Lighthouse Network โดยมีคำขวัญโครงการคือ Empowering people, transforming industries เสริมศักยภาพบุคลากร ปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมสู่อนาคต (Ref: https://initiatives.weforum.org/people-the-future-of-manufacturing/pilot_cohort) จากข้อมูลอย่างเป็นทางการของ World Economic Forum (WEF) ในโครงการนำร่อง “Frontline Talent of the Future Pilot” ปี 2025 มีการร่วมมือมากกว่า 10 บริษัทชั้นนำทั่วโลก และได้ยกย่อง 3 โรงงาน ที่มีนวัตกรรมด้านการพัฒนาทักษะ “กำลังคนด่านหน้า” โดดเด่นเป็นพิเศษ (Talent Spotlights)
โดยบริษัท Western Digital – ปราจีนบุรี ประเทศไทย ได้รับการยกย่องในปี 2025

ทั้งสามแห่งนี้ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจาก WEF ว่าเป็นต้นแบบในด้านนวัตกรรมทรัพยากรบุคคลสำหรับแรงงานด่านหน้าในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ถือได้ว่า นี่คือต้นแบบที่ดีที่สุดของประเทศ ในการพัฒนากำลังคนให้พร้อมต่อการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมในอนาคต (https://youtu.be/nwirP4QVYrs?si=lJmJ5gqfMii8HiZn )
ในปี 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในโครงการ Advanced Technology Upskill Development Program for Smart Manufacturing 4.0 ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กับบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) (WD) สำหรับความร่วมมือดังกล่าว มีเนื้อหาที่ครอบคลุม 2 กลุ่มเทคโนโลยีสำคัญ ได้แก่ ระบบอัตโนมัติ (Automation) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) โดยมีวิศวกร และ พนักงาน จากบริษัท WD เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของการเข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ หลักสูตรในโครงการยังได้รับการลงทะเบียนในโครงการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพวิชาชีพระดับบัณฑิตศึกษา (Graduate Study for Potential Professionals หรือ GSPP) ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยผลการเรียนรู้ที่ได้จากโครงการนี้สามารถเปิดโอกาสให้ผู้เรียนของห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์ CMIT (CMIT Robotic Laboratory) ร่วมกับ บริษัท West มีพื้นฐานความรู้เพียงพอจะต่อยอดในระดับปริญญาโทได้ เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0 หลักสูตรภายใต้โครงการนี้เกิดจากประสบการณ์จริง ในการทำวิจัย ern Digital และ ถูกนำมาออกแบบเป็นหลักสูตรร่วมกับทีมคณาจารย์จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และ คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการประยุกต์ใช้งานจริงเชิงพาณิชย์
รศ.ดร.เชาวลิต ระบุว่าที่สำคัญ แนวคิด “Share Skill” ในโครงการนี้ หมายถึงการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม ไม่ใช่แค่การสอน แต่เป็นการร่วมเรียนรู้ที่ตอบโจทย์หน้างานจริง และยกระดับสมรรถนะบุคลากรอย่างตรงจุด
โครงการนี้จึงไม่ใช่แค่การฝึกอบรม แต่เป็น ต้นแบบของความร่วมมือที่สามารถขยายผลในระดับประเทศ สร้างรากฐานสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ และช่วยพาประเทศไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน

พร้อมกันนี้ บริษัท Delta Electronics (Thailand) ที่จะมาแบ่งปันวิสัยทัศน์ด้านระบบอัตโนมัติ AI และโซลูชันพลังงานอัจฉริยะ และ บริษัท Bitkub Capital Group Holdings ที่จะสะท้อนภาพอนาคตของเศรษฐกิจดิจิทัลไทยผ่านเทคโนโลยีอย่าง Blockchain และ AI และ ข้อมูลเชิงลึก จากสุดยอดงานประชุมผู้นำระดับโลก World Economic Forum ในหัวข้อ Collaboration for the Intelligent Age
ทั้งนี้ แนวทางและบทเรียนจากงานสัมมนาครั้งนี้ ยังเชื่อมโยงโดยตรงกับ นโยบายส่งเสริมการลงทุนพิเศษของ BOI ซึ่งสนับสนุนเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมขั้นสูง อันเป็นรากฐานสำคัญของการผลักดันประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัลในระดับโลก
ทั้งนี้โลกกำลังเปลี่ยนผ่านจากยุคอุตสาหกรรม 4.0 ไปสู่ อุตสาหกรรม 5.0 ซึ่งมี “มนุษย์เป็นศูนย์กลาง” (Human-Centric Innovation) เป็นหัวใจสำคัญ ดังนั้นคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังมีแผนจัดตั้งศูนย์วิจัยแห่งใหม่ KUARC Kasetsart University AI and Robotics Center เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 5.0 โดยเน้นการพัฒนาบุคลากรด้วยการ Upskill และ Reskill ผ่านโครงการความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร โรงพยาบาลด้านการแพทย์ และ สนับสนุนการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม ศูนย์นี้จะเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ระหว่างนักวิจัย นักศึกษา และภาคธุรกิจ เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมไทย และวางรากฐานสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ในอนาคต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเวทีสัมมนา ศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ยอดสุดใจ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แสดงวิสัยทัศน์ว่าการสัมมนาฯนี้จัดขึ้นเพื่อแบ่งปัน ความรู้และประสบการณ์จากโรงงานที่ได้รับการยอมรับระดับโลกในฐานะ เครือข่าย Global Lighthouse Network และไปทําความรู้จักกับการนําเทคโนโลยี 4IR และ 5IR มาใช้ในการผลิตที่มีผลกระทบในด้านการดําเนินงาน การเพิ่ม ประสิทธิภาพและการสร้างความยั่งยืน

รองศาสตราจารย์เชาวลิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ยังได้รับเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดย นางสาวศุธาศินี สมิตร ที่ปรึกษาด้านการลงทุน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับทรงคุณวุฒิ) ให้เกียรติมาเป็นประธานกล่าวเปิดงาน และนายอิทธิโชติ ดำรงรักษ์ธรรม ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน เข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อสำคัญเกี่ยวกับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยสู่ยุค 4IR อย่างยั่งยืน ภายในปีนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์วิจัยแห่งใหม่ภายใต้ชื่อ KUARC (KU AI and Robotic Center) ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ เพื่อสนับสนุนการนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับอุตสาหกรรมด้านต่างๆ โดยมุ่งเน้นการยกระดับทักษะและศักยภาพของบุคลากรให้สามารถตอบสนองต่อความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต ตลอดจนเป็นแหล่งสร้างนวัตกรรมและความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับประเทศและภูมิภาค

ดร. ไสว เชื้อสาวะถี Vice President & Managing Director, HDD Operations, Prachinburi บริษัท Western Digital Storage Technologies (Thailand) กล่าวว่า ยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่โรงงานเวสเทิร์น ดิจิตอล จังหวัดปราจีนบุรี ได้รับการคัดเลือกให้เป็น Lighthouse แห่งแรกในประเทศไทยภายใต้เครือข่าย Global Lighthouse Network ของ WEF โดยบริษัทฯมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการผลิตยุคใหม่อย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะเป็นต้นแบบให้กับองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกที่กำลังเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าร่วมเครือข่ายนี้ ด้วยแนวทางการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติของการดำเนินงาน

คุณณชา เกื้อกูลเกียรติ Director, Manufacturing Business Unit of Kenvue Thailand บริษัท Kenvue Thailand กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่โรงงานเคนวิวในกรุงเทพฯ ได้รับการยอมรับจาก World Economic Forum ให้เป็น Global Sustainability Lighthouse แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นที่ราจะใช้เทคโนโลยีจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการยกระดับประสิทธิภาพในการดำเนินงานโรงงานในกรุงเทพฯ ถือเป็นฐานการผลิตหลักของเคนวิว โดยผลิตสินค้าเพื่อสุขภาพที่ผู้บริโภคให้ความไว้วางใจ เช่น Listerine®, Johnson’s Baby, Aveeno® และ Neutrogena® เพื่อส่งออกไปยัง 38 ประเทศทั่วโลก ความสำเร็จนี้สะท้อนถึงพันธกิจ Healthy Lives Mission ของเคนวิว ที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับทั้งผู้คนและโลกของเรา ผ่านผลิตภัณฑ์ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ การมีส่วนร่วมกับชุมชน และความทุ่มเทของพนักงานทุกคน

ทั้งนี้ งานสัมนาวิชาการ i-Forum ดังกล่าวยังเชื่อมโยงกับ นโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนพิเศษของ BOI (Board of Investment) ที่มุ่งสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมล้ำสมัย เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล นโยบายเหล่านี้ยังช่วยเปิดโอกาสให้ธุรกิจไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลก พร้อมทั้งผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้เติบโต อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในระยะยาวหัวข้อที่น่าสนใจในงานสัมมนา:
• แบ่งปันองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญระดับโลก
• เจาะลึกเทคโนโลยี 4IR เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืน
• ตัวอย่างกรณีศึกษาความสําเร็จจากโรงงาน Lighthouse และ การปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง (Kaizen)
• อภิปรายเกี่ยวกับความท้าทายและกลยุทธ์สําหรับการเปลี่ยนผ่านจาก 4IR สู่ 5IR

งานสัมมนานี้เหมาะสําหรับผู้ที่สนใจด้านการผลิต อุตสาหกรรมเทคโนโลยี การจัดการ และทุกท่านที่มุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรให้ก้าวทันยุคดิจิทัลและการผลิตที่ยั่งยืน รวมไปถึง จะมองเห็นถึงกลยุทธ์การก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง อีกทั้งการ Up skill สำหรับ Engineer หรือ Technician ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และ Future of Job อีกด้วย
You must be logged in to post a comment Login