- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 3 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 3 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 3 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 3 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 3 months ago
Prebiotic-Postbiotic Synergistic Therapy

Prebiotic เป็นอาหารสำคัญสำหรับจุลินทรีย์ในลำไส้ ทำให้จุลินทรีย์ที่ดีมีความแข็งแรงมากขึ้น เกิดการขยายตัวและแบ่งเซลล์ได้มากขึ้นเพื่อต่อต้านจุลินทรีย์ไม่ดี จึงช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ให้อยู่สภาวะที่เหมาะสม (Healthy Gut) ส่วน Postbiotic เป็นสารที่ได้จากการย่อยอาหาร (Prebiotic) ของจุลินทรีย์ที่ดีและมีประโยชน์ (Probiotic) ด้วยงานวิจัยและเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้เราสามารถเลือกจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ดีและอาหารที่ดีสำหรับจุลินทรย์นั้นมาผสมกันเพื่อให้ได้ Postbiotic ที่มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเช่น กรดไขมันชนิดสายสั้น วิตามิน เอนไซม์ เป็นต้น ทั้งนี้ Postbiotic ยังรวมถึงเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีที่ตายไปแล้ว โดยผนังเซลล์ของ Probiotic ที่ถึงแม้ว่าตายไปแล้ว แต่ก็ยังมีสารสำคัญที่สามารถทำปฏิกิริยากับเซลล์ต่างๆ ของร่างกายที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ เราลองมาดูตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Postbiotic ของจุลินทรีย์สายพันธุ์พิเศษที่ชื่อ Lactobacillus paracasei MCC1849 ต่อสุขภาพ
มีงานวิจัยจำนวนมากที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการและทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับผลจากการศึกษาการใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์พิเศษ Lactobacillus paracasei MCC1849 ต่อสุขภาพ เช่น Murata et al. ได้ทำการทดลองโดยใช้เชื้อที่ไม่มีชีวิตของ Lactobacillus paracasei MCC1849 ที่ผ่านการฆ่าด้วยความร้อนขนาด 10 LP มาทำการศึกษาโรคหวัดและสภาวะอารมณ์ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 241 คน ที่บริโภค inactive L. paracasei MCC1849 จำนวน 1×1010 เซลล์ต่อวัน วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทำการบันทึกความถี่และความรุนแรงของอาการหวัดในไดอารี่ประจำวัน และนำมาวิเคราะห์ระดับ Salivary Secretory Immunoglobulin A (sIgA) และอัตราการไหลของน้ำลายที่สัปดาห์ที่ 0 และ 6 พบว่า Heat-Killed Lactobacillus paracasei MCC1849 ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหวัดได้ถึง 20.8% ในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยง จำนวน 51 คน และยังช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคหวัดหายไวขึ้น โดยพบว่า ช่วยลดระยะเวลาเป็นหวัดได้ถึง 26% จาก 10.7 วัน เหลือ 6.2 วัน
งานวิจัยของ Satoshi Arai ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกที่สามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้จากการรับประทาน Heat-Killed Lactobacillus paracasei MCC1849 ต่อการผลิต IgA ในลำไส้และการเหนี่ยวนำทีเซลล์ ชนิดฟอลลิคูลาร์ (Tfh cells) ในสิ่งมีชีวิต พบว่า การบริโภคจุลินทรีย์สายพันธุ์ดังกล่าวช่วยกระตุ้นการผลิต IgA ที่มีความจำเพาะต่อแอนติเจนในลำไส้เล็ก ในซีรัมและปอด และเพิ่มการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา Tfh cells ได้แก่ IL-12p40, IL-10, IL-21, STAT4 และ Bcl-6 อีกทั้งยังเพิ่มสัดส่วนของเซลล์ IgA+ B และ Tfh cells ใน Peyer’s patches (PPs) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ผลวิจัยทางคลินิกจาก Kato et al. ยังพบว่า Heat-Killed Lacticaseibacillus paracasei MCC1849 ยังช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ถึงในระดับยีน โดยทำการศึกษาผู้เข้าร่วมที่มีสุขภาพดีจำนวน 100 คน ที่ถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งได้รับ Lacticaseibacillus paracasei MCC1849 (5 x 1010 เซลล์ต่อวัน) เทียบกับกลุ่มยาหลอก และประเมินการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันผ่านการวัดระดับการแสดงออกของยีน CD86 และ HLA-DR บนเซลล์เดนไดรติก (DCs) นิวโทรฟิล และ NK cells และตรวจวัดการแสดงออกของ interferon (IFN)-a, -b, และ -g ในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนนิวเคลียร์ในเลือดที่ถูกกระตุ้นด้วย TLR9 agonist (Cpg2216) ในหลอดทดลอง ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงลึกถึงเซลล์ภูมิคุ้มกันและยีนที่ออกฤทธิ์ โดยผลวิจัยยืนยันและอธิบายได้ว่าระดับการแสดงออกของยีน CD86 บนเซลล์ pDCs (plasmacytoid dendritic cells) และระดับการแสดงออกของยีน IFN-a, -b, และ -g ภายใต้การกระตุ้นด้วย TLR9 agonist สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่บริโภค Lacticaseibacillus paracasei MCC1849 เป็นเวลา 4 สัปดาห์

นอกจากระบบภูมิคุ้มกัน ยังมีผลต่อสุขภาพผิวดีอีกด้วย โดยช่วยเสริมสร้างปราการผิว ลดการอักเสบและการติดเชื้อของผิว ป้องกันผิวกร้านจากกลไกของแสงแดด จากผลงานวิจัยทางคลินิกของ A. Guenchiche โดยทำการศึกษาแบบสุ่มในกลุ่มหญิงที่ได้รับการรักษา 2 กลุ่ม (กลุ่มละ 32 คน) โดยกลุ่มหนึ่งบริโภค Lacticaseibacillus paracasei MCC1894 L.และอีกกลุ่มหนึ่งควบคุมด้วยยาหลอก เป็นเวลา 2 เดือน โดยทำการทดสอบแคปไซซินเพื่อติดตามการตอบสนองของผิวหนังที่มีความไว และประเมินการสูญเสียน้ำผ่านผิวหนัง (TEWL) เพื่อวิเคราะห์อัตราการฟื้นฟูการทำงานของปราการผิว นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบความแห้งกร้านของผิวที่ขาและความหยาบของแก้มโดยแพทย์ผิวหนังและการประเมินด้วยตนเอง ล่าสุดในปี 2024 Pimazzoni et al. ได้ศึกษาวิจัยพบว่า Heat-Killed Lacticaseibacillus paracasei MCC1894 สามารถควบคุมการอักเสบของผิวหนังและเสริมสร้างปราการผิวได้ โดยทำการทดลองปล่อยไซโตไคน์ที่กระตุ้นการอักเสบในเซลล์เคราติโนไซต์และให้ Heat-Killed L. paracasei ยับยั้งการเพิ่มขึ้นของอินเตอร์ลิวคิน (IL)-23A ซึ่งมีการแสดงออกในผิวหนังของผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) และกระตุ้นการเพิ่มขึ้นของ IL-33 และ Thymic Stromal Lymphopoietin (TSLP) ซึ่งถูกกระตุ้นให้สูงขึ้นในผิวหนังของผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (Atopic Dermatitis)
นอกจากนี้งานวิจัยจาก Xu et al. ประเทศจีน ซึ่งศึกษากลไกการใช้ Heat-Killed L. paracasei เพื่อช่วยลดความเสียหายจากการออกซิเดชันของผิวหนัง (Oxidative Damaged) และการแก่จากแสงแดด (Photoaging) และแสง UVB ผลการศึกษาพบว่า Heat-Killed L. paracasei ป้องกันความเป็นพิษจาก UVB ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายของดีเอ็นเอในเซลล์ NHDF และ B16F10 และช่วยกระตุ้นการสร้างกลูต้าไธโอน (Glutathione, GSH) รวมถึงกิจกรรมของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ออกฤทธิ์ต้านการสร้างเม็ดสี โดยการยับยั้งกิจกรรมและ/หรือการแสดงออกของ Tyrosinase และ TYRP-1 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการยับยั้งสัญญาณ PKA/CREB/MITF ในเซลล์ B16F10 จึงช่วยเร่งให้ผิวขาวสว่างขึ้น
ผลงานวิจัยของ Tomohiro Tanaka et al., จากประเทศญี่ปุ่น เรื่อง LACTIC ACIDBACTERIUM, DRUG, FOOD OR DRINK AND FEED WHICH CONTAIN THE LACTIC ACID ที่ผลิตจากเซลล์พิเศษ Lactobacillus paracasei MCC1849 พบว่า สามารถป้องกันหรือรักษาโรคที่เกี่ยวข้องจากการอักเสบต่างๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร การแพ้อาหาร โรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ ลมพิษ การแพ้เกสรดอกไม้ ภาวะช็อกจากการแพ้ (Anaphylactic Shock) หรือการติดเชื้อทั่วไป และได้มีการจดสิทธิบัตร US 10,653,730 B2 ในปี 2020 นอกจากนี้ทีมวิจัยเดียวกันนี้ยังได้จดสิทธิบัตร CA2897722 A1 ในปี 2015 เรื่อง NOVEL LACTOBACILLUS AND NOVEL LACTOBACILLUS-CONTAINING MEDICINE, FOOD, BEVERAGE AND FEED จากการศึกษา Lactobacillus paracasei MCC1849 ซึ่งพบว่าส่งผลกระตุ้น IL-12 (อินเตอร์ลิวคิน-12) ช่วยต้านไวรัสและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยสามารถกระตุ้นสร้าง IL-12 ได้มากกว่า L. rhamnosus, L.johnsonii, L. plantarum และ L.bulgaricus คือ Heat-Killed Lactobacillus paracasei MCC1849 เป็นผลจากการศึกษาการใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์พิเศษ Lactobacillus paracasei MCC1849
นวัตกรรมINNOGUTZ (อินโนกัส)เป็นนวัตกรรมที่ออกแบบมาเพื่อให้สุขภาพลำไส้กลับมาอยู่ในสมดุลตามธรรมชาติ ผ่านกลไกการทำงาน “Prebiotic-Postbiotic Synergistic Therapy” ซึ่งเป็นการทำงานเสริมฤทธิ์กันของ Postbiotic heat-killed Lactobacillus paracasei MCC1849 และ Prebiotic 2 ชนิด ได้แก่ Inulin Extract ที่เป็น Insoluble Fiber และ Polydextrose ที่เป็น Soluble Fiber โดยจะร่วมกันทำหน้าที่เพิ่มเยื่อเมือกที่ผนังของลำไส้ ลดการเกิดภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut) ป้องกันการติดเชื้อและการเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ (Gut Dysbiosis) และเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน INNOGUTZ (อินโนกัส) จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบัน
บทความโดย : ผศ.ดร.ชนิดา ปโชติการ นักกำหนดอาหารวิชาชีพ
Reference
- Misunori Murata, J. Kondo, Noriyuki Iwabuchi, Sachiko Takahashi, K. Yamauchi, Fumiaki Abe, K. Miura. Effects of paraprobiotic Lactobacillus paracasei MCC1849 supplementation on symptoms of the common cold and mood states in healthy adults., Beneficial Microbes, 2018, 9, 6, 855 – 864.
- Satoshi Arai, Noriyuki Iwabuchi, Sachiko Takahashi, Jin-zhong Xiao, Fumiaki Abe, Satoshi Hachimura., Orally administered heat-killed Lactobacillus paracasei MCC1849 enhances antigen-specific IgA secretion and induces follicular helper T-cells in mice.
- Kumiko Kato, Satoshi Arai, Soichiro Sato, Noriyuki Iwabuchi, Noriyuki Iwabuchi, Miyuki Tanaka., Effects of Heat-Killed Lacticaseibacillus paracasei MCC1849 on Immune Parameters in Healthy Adults – A Randomized, Double-Blind, Placebo-Controlled, Parallel-Group Study., Nutrients, 2024, 16, 216.
- A. Gueniche, D. Philippe, P. Bastien, G. Reuteler, S. Blum, Castiel-Higounenc, L. Breton, J. Benyacoub. Randomised double-blind placebo-controlled study of the effect of Lactobacillus paracasei NCC 2461 on skin reactivity. Beneficial Microbes, 2014, 5, 2, 137 – 145.
- Silvia Pimazzoni, Francesca Algieri, Nina Tanaskovic, Daniele Braga, Giuseppe Penna, Maria Rescigno. Lactobacillus paracasei CNCM I-5220-derived postbiotic counteracts skin inflammation and protects skin barrier integrity. BioRxiv, 2024, 16.
- Jing Xu, Xiaofang Zhang, Yan Song, Bin Zheng, Zhengshun Wen, Miao Gong and Lingting Meng. Heat-Killed Lacticaseibacillus paracasei Ameliorated UVB-Induced Oxidative Damage and Photoaging and Its Underlying Mechanisms. Antioxidants, 2022, 11, 1875 – 1898.
- Tomohiro Tanaka, Noriyuki Iwabuchi, Yohei Sato, Kanetada Shimizu, Toshitaka Odamaki. Lactic acid bacterium, drug, food or drink, and feed which contain the lactic acid bacterium. United State Patent US10,653,730 B2 2020.
You must be logged in to post a comment Login