วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2568

ต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์ อยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่าง

On December 3, 2024

บทความพิเศษโดย  ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข

บทความนี้จะทดลองนำเสนอภาพรวมของปัญหากรณีตากใบ อันเป็นประเด็นร้อนที่ปรากฏในสื่ออย่างต่อเนื่องในเวทีการเมืองที่กรุงเทพฯ จนถึงวันที่คดีดังกล่าวได้หมดอายุความลงในวันที่ 26 ตุลาคม 2567 ขณะเดียวกัน จากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ก็สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่เป็น “บทเรียน” ได้เป็นอย่างดี

คลื่นความรุนแรง จาก 3 เหตุการณ์

การประท้วงที่เกิดขึ้นในกรณีตากใบเป็น ปัญหาความมั่นคง” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเป็น คลื่นความรุนแรงลูกที่ 3” ของการก่อเหตุ ชุดใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี 2547 ที่เริ่มด้วยเหตุการณ์ปล้นปืนในเดือนมกราคม ตามมาด้วยเหตุการณ์การปะทะที่มัสยิดกรือเซะในเดือนเมษายน และต่อมาด้วยเหตุการณ์ที่หน้าสถานีตำรวจภูธร อ. ตากใบในเดือนตุลาคม เหตุการณ์ทั้ง 3 มีความเกี่ยวเนื่อง และเป็นกระแสความรุนแรงชุดเดียวกันของความพยายามที่จะขับเคลื่อนสถานการณ์ใน 3 จังหวัดด้วยความรุนแรงในช่วงปีแรกที่เริ่มด้วยการปล้นปืน

ปล่อยข่าวลือทหาร ทำร้ายประชาชน?

ในการชุมนุมประท้วงที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ อาจเทียบเคียงได้กับการชุมนุมต่อต้านทหารที่เกิดก่อนหน้านั้นที่ปะนาเระ และที่สุไหงปาดี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ชัดเจนในการต่อต้านทหาร และกดดันเจ้าหน้าที่ให้ออกจากพื้นที่ พร้อมกับการปล่อยข่าวลือเรื่องทหารทำร้ายประชาชนชาวมุสลิม

ปฏิเสธไม่ได้ว่า มีจัดตั้งปลุกระดม

การเปิดการชุมนุมที่ตากใบ สอดรับกับการเคลื่อนไหวอื่นๆ ของกลุ่มต่อต้านรัฐไทย ที่มีจุดยืนที่ชัดเจนในการเรียกร้องเอกราช เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า การชุมนุมครั้งนี้มีลักษณะของการจัดตั้งอย่างแน่นอน และมีการดำเนินการปลุกระดมอย่างชัดเจน เพื่อชักชวนให้คนในพื้นที่เข้าร่วม และในการชุมนุมจะปลุกระดมไม่ให้มวลชนตากใบฟังคำชี้แจงของเจ้าหน้าที่รัฐ และใช้วิธีโห่ร้องเพื่อแสดงการต่อต้าน

เกิดเหตุทำเสียชีวิตแต่ไม่ใช่เจตนาฆ่า?

ต้องยอมรับในข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า การเสียชีวิตที่เกิด ไม่ใช่เป็นความตั้งใจของรัฐไทย (ในความหมายของการเป็นเจตนาฆ่า) ซึ่งมุ่งประสงค์ให้ชาวมุสลิมที่เป็นผู้ชุมนุมต้องเสียชีวิตแต่อย่างใด แต่การเสียชีวิตเกิดจากปัญหาการขนส่งเคลื่อนย้ายผู้ถูกจับกุมจากหน้าสถานีตากใบไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร ไม่ใช่เป็น “กระบวนการฆ่า” ที่เป็นความจงใจในแบบที่ถูกโฆษณา กล่าวคือ ไม่ใช่การเสียชีวิตที่เกิดจากเจตนา แต่เกิดจากความประมาทในขั้นตอนการขนส่งผู้ต้องหา ซึ่งน่าสนใจว่า ศาลมิได้พิจารณาในประเด็นนี้ แต่มุ่งเรื่องของการฆ่าคนตายโดยเจตนาเป็นประเด็นหลัก

วาทกรรม“รัฐไทยฆ่า”ที่ไม่ได้พูดถึงมุมกลับ

กรณีตากใบแตกต่างจากกรณีการเสียชีวิตจากการชุมนุมทางการเมืองในปี 2519 ปี 2535 และปี 2553 เพราะผู้เสียชีวิตไม่ได้ถูกยิงจากฝ่ายทหาร ที่เข้าไปทำหน้าที่สลายการชุมนุมแต่อย่างใด หรือมิใช่เกิดการจงใจยิงกราดใส่ฝูงชนที่ร่วมชุมนุม แต่ฝ่ายที่ต่อต้านรัฐ และบรรดาแนวร่วมมักนำเอาประเด็นนี้ไปสร้างวาทกรรมเรื่อง การฆ่าของรัฐไทย” ต่อชาวมุสลิมในพื้นที่ตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน และในทางกลับกัน ก็จะไม่ยอมกล่าวถึงการฆ่า การสังหารอย่างโหดเหี้ยมที่กระทำต่อชาวพุทธ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ

ไทยเป็น “รัฐโลกวิสัย” ไม่ใช่ “รัฐศาสนจักร”

หากมองด้วยความเป็นจริงแล้ว รัฐไทยไม่เคยมีทิศทางการดำเนินนโยบายในลักษณะเช่นนั้น เนื่องจากรัฐไทยไม่มีสถานะเป็น “รัฐศาสนจักร” ที่ถือเอาศาสนิกต่างความเชื่อเป็น “ศัตรูทางการเมือง” ที่ต้องกวาดล้าง และชัดเจนในทางรัฐศาสตร์ว่า รัฐไทยเป็น รัฐโลกวิสัย” (secular state) ที่ไม่เน้นในเรื่องของศาสนาอย่างสุดโต่ง จึงไม่มีความจำเป็นในการดำเนินนโยบายแบบต่อต้านคนในศาสนาอื่น หรือต้องการทำลายล้างผู้ที่มีศรัทธาทางศาสนาที่แตกต่างกัน และไม่ได้ดำเนินนโยบายที่ปฏิบัติต่อคนในพื้นที่ในฐานะ พลเมืองชั้น 2” อย่างที่ถูกสร้างเป็นวาทกรรม (เพราะในทางกลับกัน คนพุทธต่างหากที่รู้สึกตนเป็นพลเมืองชั้น 2 เพราะรัฐไม่ให้ความสำคัญ หรือบางส่วนมีความรู้สึกคล้ายกันว่า รัฐไทยทอดทิ้งคนพุทธ”)

เป็นการต่อสู้ระหว่างรัฐไทย vs บีอาร์เอ็น.

จากปัญหาความรุนแรงชุดใหม่ที่เกิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยที่เริ่มจากเหตุการณ์ปล้นปืนในวันที่ 4 มกราคม 2547 จนถึงปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า เป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนของการต่อสู้ระหว่าง รัฐไทย vs. บีอาร์เอ็น.” อันส่งผลให้ปัญหาตากใบกลายเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ครั้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งมีความชัดเจนว่า สงครามของ บีอาร์เอ็น. เป็น สงครามเอกราช” ไม่ใช่การเรียกร้องเพื่อการปกครองตนเอง และพวกเขามองว่า การปกครองตนเองคือ เส้นทางสู่ความเป็น รัฐเอกราช” ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ใช่ข้อเรียกร้องเรื่องการปกครองตนเองเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่

เป้าหมายการต่อสู้ เพื่อ “แยกดินแดน”

ต้องยอมรับความจริงพื้นฐานว่า ขบวนติดอาวุธบีอาร์เอ็น. ดำเนินการต่อสู้เพื่อต้องการสร้าง รัฐเอกราช” ด้วยจินตนาการทางประวัติศาสตร์ในการรื้อฟื้น รัฐปัตตานี” ที่เคยมีบทบาทในพื้นที่ในช่วงก่อนยุคอาณานิคม ความต้องการเช่นนี้ปรากฏให้เห็นชัดจากเอกสารที่ถูกยึดหรือเผยแพร่ จากการปลุกระดม หรือจากการพ่นสีในพื้นที่การเคลื่อนไหว สิ่งเหล่านี้ยืนยันชัดเจนถึงเป้าหมายการต่อสู้คือ เพื่อ แยกดินแดน” ในการสร้างรัฐเอกราชใหม่

ควรประกาศ บีอาร์เอ็น.เป็นองค์กรผิดกฎหมาย

ในสถานการณ์การก่อความไม่สงบในภาคใต้เช่นนี้ จึงต้องถือว่า ขบวนการบีอาร์เอ็น.” เป็นขบวนการที่เป็น ภัยคุกคามหลัก” ของปัญหาความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะได้ทำการก่อเหตุด้วยความรุนแรงที่นำไปสู่การเสียชีวิตของประชาชน และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก และคนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เหล่านี้ เป็น คนพุทธ” ดังนั้น จึงควรประกาศให้ชัดเจนว่า บีอาร์เอ็น. เป็นองค์กรผิดกฎหมาย”

ผู้ก่อเหตุร้ายมีตัวตนไม่ใช่ “ทหารผี”

การกล่าวถึงขบวนการบีอาร์เอ็น. แล้วเกิดความกลัว ด้วยเหตุผลในแบบเก่าว่า การเอ่ยชื่อจะนำไปสู่การยกระดับปัญหานั้น เราอาจจะต้องยกเลิกวิธีคิดในลักษณะดังกล่าว เพราะในความเป็นจริงแล้ว การไม่ระบุชื่อขององค์กรที่เปิดปฏิบัติการก่อการร้ายในพื้นที่ จะกลายเป็นความได้เปรียบขององค์กรนั้น เพราะทำให้ไม่ชัดเจนในเชิงข้อมูลและความรับรู้ของสังคมว่า ใครเป็นผู้ก่อเหตุร้าย ดังนั้น จึงน่าจะถึงเวลาที่สังคมไทยโดยรวมควรต้องรับรู้เรื่องเช่นนี้แล้ว เพราะผู้ก่อเหตุร้ายไม่ใช่ ทหารผี” ที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้

ไม่มีรัฐบาลพรรคไหน ยอมให้ไทยเสียดินแดน

รัฐไทยด้วยความเป็น “รัฐสมัยใหม่” เช่นรัฐในวิชารัฐศาสตร์ทั้งหลาย มี ความจำเป็นในทางธรรมชาติ” ที่ต้องพยายามรักษา บูรณภาพแห่งดินแดน” อันเป็นดินแดนที่ถูกนำเข้ามารวมในกระบวน การสร้าง รัฐสยามสมัยใหม่” ฉะนั้น ไม่ว่าพรรคการเมืองใด จะมีจุดยืนแบบใด เมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลแล้ว ก็จะต้องรับภารกิจเช่นนี้ไม่แตกต่างกัน เพราะไม่มีรัฐบาลใดอยากถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ว่า เป็นผู้ที่ทำให้เสียดินแดน เช่นเดียวกัน ไม่มีพรรคการเมืองใดอยากมีประวัติในทางการเมืองว่า เป็นพรรคที่ตกเป็นจำเลยในเรื่องของการแบ่งแยกดินแดน แม้แต่พรรคที่ซ้ายที่สุดอย่างพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตและจีนนั้น สิ่งแรกที่พรรคเร่งทำหลังจากการได้อำนาจรัฐ คือ การจัดการปัญหาดินแดนอาณาเขตของรัฐตน

รัฐเอกราชปัตตานี สงครามการทหาร

การต่อสู้ของขบวนการติดอาวุธบีอาร์เอ็น. ที่ต้องการสร้าง รัฐเอกราชปัตตานี” จึงดำเนินการต่อสู้ในทุกรูปแบบ  ซึ่งโดยพื้นฐานคือ การเปิด สงครามการทหาร” ที่ใช้การก่อเหตุร้ายเป็นเครื่องมือในการทำลายอำนาจทางทหารของรัฐไทย และทำร้ายประชาชน โดยเฉพาะชาวพุทธในพื้นที่ การก่อการร้ายจึงเป็นเครื่องมือหลักในการทำลายขวัญกำลังใจของหน่วยทหาร และสร้างความกลัวแก่ประชาชนในพื้นที่

โฆษณาทางการเมือง เคลื่อนไหว..ไม่ปิดลับ

รูปแบบการต่อสู้คู่ขนานของบีอาร์เอ็น. คือ สงครามการเมือง” ที่ใช้การต่อสู้ด้วยมาตรการทางการเมือง ในหลากหลายรูปแบบ และเปิด แนวรบใหม่” ในเวทีการเมืองด้วยการสร้างแนวร่วมในภาคส่วนต่างๆ ของสังคมการเมืองไทย อีกทั้งยังเปิด การโฆษณาทางการเมือง” อย่างกว้างขวาง เพื่อสร้างให้เกิดการตอบรับต่อข้อเรียกร้องของขบวนการบีอาร์เอ็น. จากกลุ่มการเมืองในสังคม และไม่ใช่การเคลื่อนไหวแบบปิดลับ

รัฐไทยจำเลยตลอดไป ไม่มีวันหมดอายุความ

ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ปัญหาตากใบกลายเป็นประเด็นที่สร้าง ความเป็นจำเลย” ของรัฐไทย จากการเสียชีวิตของผู้ร่วมชุมนุม และหลังจากการสิ้นอายุความแล้ว กรณีตากใบจะยังคงเป็นประเด็นที่จะถูกนำมาใช้ต่อเนื่องในอนาคตสำหรับการโฆษณาทางการเมืองทั้งในประเทศ และนอกประเทศ

รัฐอัมพาต..ล่าช้า ถอยทางการเมือง

ในท่ามกลางความร้อนแรงของสถานการณ์ก่อนการหมดอายุความนั้น รัฐบาล กองทัพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับมีความล่าช้าอย่างมากในการชี้แจงให้สังคมวงกว้างได้รับทราบข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นทางกฎหมายและข้อโต้แย้งทางคดีความ ซึ่งความล่าช้าดังกล่าว จึงเสมือนกับเกิดอาการ รัฐอัมพาต” หรือเป็นดัง การถอยทางการเมือง” ของฝ่ายรัฐ เพราะไม่ทำหน้าที่ในการให้ข้อมูลแก่ประชาชน

แสดงความรับผิดชอบในรูปแบบแตกต่างกัน

ข้อสังเกตของบทความนี้ในอีกด้าน มิได้หมายความว่า รัฐและสังคมไทยจะไม่รับรู้หรือละทิ้งประเด็นการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นจากการชุมนุม แต่จากการเสียชีวิตของคนเป็นจำนวนมากเช่นนี้ รัฐบาลในแต่ละช่วงเวลาได้แสดง ความรับผิดชอบ” ในรูปแบบที่แตกต่างกัน และมิได้มีท่าทีที่ละเลยต่อเหตุการณ์ดังกล่าว

รัฐไทยประนีประนอมรับผิดชอบ 7 ลักษณะ

การแสดงความรับผิดชอบที่สำคัญในความเป็นรัฐบาลในการจัดการปัญหาการเสียชีวิตกรณีตากใบใน 7 ลักษณะ คือ 1.การตั้งคณะกรรมการอิสระ เพื่อแสวงหาความจริงในสมัยรัฐบาลนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร 2.การประกาศขอโทษในสมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ 3.การนำคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมถึง 4 ศาล 4.การใช้กระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์เพื่อไกล่เกลี่ยและคลี่คลายคดี โดยรัฐเป็นฝ่ายประนีประนอม ทั้งการถอนฟ้องแกนนำ และการจ่ายค่าเสียหายทางแพ่ง 5.ให้มีการไต่สวนคดีการเสียชีวิตของผู้ชุมนุม ดำเนินในศาลถึง 5 ปี 6.หลังจากคดีไต่สวนการเสียชีวิตสิ้นสุดลง จึงเข้าสู่กระบวนการเยียวยาแก่ผู้เสียหายและครอบครัวในสมัยรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ 7.การกล่าวคำขอโทษอีกครั้งของนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร

การดำเนินการใน 7 ส่วนนี้ อย่างน้อยเป็นเครื่องยืนยันในเบื้องต้นว่า รัฐไทยไม่ได้ปล่อยปละละเลยกับปัญหาที่เกิดขึ้น หรือไม่ได้แสดงความรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว หากแต่พยายามที่จะหาทางประนีประนอมเพื่อให้ปัญหาการก่อความไม่สงบได้คลายตัวออก และลดระดับความรุนแรงลง

การแสดงความรับผิดชอบของรัฐ ยืนอยู่บนหลักการของ ยุติธรรมสมานฉันท์” ที่รัฐมีท่าทีประนีประนอมยอมความ เพื่อให้คดียุติโดยไม่ใช่การพิสูจน์ คนถูก-คนผิด” ในแบบปกติ และทั้งไม่ใช้ข้ออ้างถึงอำนาจคุ้มครองการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ประกาศกฎอัยการศึกแต่อย่างใด เพราะพื้นที่ที่เกิดเหตุนั้น เป็นพื้นที่ภายใต้กฎอัยการศึก ซึ่งการฟ้องคดีตามปกติอาจจะทำไม่ได้ แต่รัฐก็มิได้ใช้สิทธิ์ทางกฎหมายนี้ แนวทางนี้จึงสะท้อนถึงการประนี ประนอม ซึ่งควรกำหนดเป็นทิศทางหลักของการอำนวยความยุติธรรมในพื้นที่ภาคใต้

ปล่อยข้อมูลด้านเดียว ถูกรัฐบาลปล่อยเกาะ?

มีข้อน่าสังเกตอย่างมีนัยสำคัญว่า ในภาวะที่ไม่เห็นชัดถึงการสั่งการของฝ่ายการเมือง และของผู้บังคับบัญชาในระดับบนนั้น ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รู้สึกว่าพวกเขากำลัง ถูกปล่อยเกาะ” หรือเกิดมุมมองว่า ฝ่ายรัฐมีท่าทียอมจำนน และปล่อยให้เกิด ข้อมูลด้านเดียว” ออกสู่สังคมแบบไม่โต้แย้ง โดยไม่มีคำชี้แจงถึงปัญหาและข้อขัดข้องที่เกิดในการขนย้ายผู้ถูกจับกุมในวันเกิดเหตุ ซึ่งต้องยอมรับว่า การก่อกระแสตากใบที่กรุงเทพฯ ครั้งนี้ ทำลายขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่อย่างมาก และอาจจะมากกว่าที่รัฐบาล กองทัพบก หรือกองทัพภาคที่ 4 คิด เพราะเจ้าหน้าที่ทหารชั้นผู้น้อยที่เป็นพลขับในวันนั้น ตกเป็นจำเลยร่วมไปด้วย โดยไม่มีคำอธิบายถึงการปฏิบัติหน้าที่ของพวกเขาในฐานะ คนขับรถ” ซึ่งน่าสนใจว่า สำนักงานอัยการสูงสุดวินิจฉัยปัญหานี้บนพื้นฐานอะไร และฝ่ายทหารเองก็ไม่ชี้แจงประเด็นนี้

หลายการตายที่ไร้เสียง กำลังจะหมดอายุความ

ในอีกด้านของปัญหา เราเห็นชัดถึงคดีอาญาความมั่นคงที่เกิดจากการกระทำของผู้ก่อความไม่สงบ ที่มีจำนวน 1,789 หมายจับนั้น มีผู้หลบหนีรวมทั้งสิ้น 1,067 คน และคดีส่วนใหญ่เป็นคดีอุกฉกรรจ์ และมีคดีที่หมดอายุความแล้ว 140 หมาย (การเรียกร้องให้ต่ออายุความคดีตากใบ จึงอาจทำให้เกิดข้อเรียกร้องในทำนองเดียวกันถึงการต่ออายุคดีการก่อความไม่สงบด้วย)  

ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นพี่น้องที่นับถือศาสนาพุทธ หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้เสียชีวิตจากการก่อเหตุของขบวนติดอาวุธในพื้นที่เหล่านี้มีเป็นจำนวนมาก แต่ความสูญเสียนี้ดูจะไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าใดนัก จนเป็นเหมือน การตายที่ไร้เสียง” และในหลายกรณี เป็นการฆ่าอย่างทารุณโหดร้าย ดังจะเห็นจากสถิติว่าจากปี 2547 – สิงหาคม 2566 มีเหตุรุนแรงเกิดทั้งหมด 9,657 ครั้ง เสียชีวิต 5,868 คน เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 2,251 คน และเป็นประชาชน 3,617 คน บาดเจ็บ 12,657 คน พิการ 887 คน และรวมงบประมาณในการเยียวยาที่ได้จ่ายไปแล้วรวมทั้งสิ้น 4,278,396,274 บาท (ตัวเลขของ ศอ.บต.)

มุ่งสร้างรัฐเอกราชใหม่ ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป

การแสวงหาทางออกของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติยังคงเป็นประเด็นสำคัญเสมอ และทางออกนี้จะยังไม่เกิดได้ในระยะสั้น กล่าวคือ แม้ว่าคดีตากใบจะจบลงแบบหมดอายุความ ก็ไม่ใช่ เงื่อนไขหลัก” ที่จะทำให้การก่อความไม่สงบในภาคใต้สิ้นสุดลง หรือลดระดับความรุนแรงลงได้จริง ตราบเท่าที่การก่อความไม่สงบยังคงดำเนินต่อไป ด้วยความเชื่อพื้นฐานในเรื่องของ การสร้างรัฐเอกราชใหม่ด้วยกำลังอาวุธ”

สัญญาณนาฬิกาปลุก เตือนยุทธศาสตร์ภาคใต้

ในอีกด้านหนึ่งของปัญหา หลังจากต้องเผชิญกับการโหมกระแสตากใบอย่างหนักแล้ว น่าจะเป็น สัญญาณนาฬิกาปลุก” ที่ดีในการกระตุ้นเตือนให้รัฐบาลต้องหันมาใส่ใจกับการกำหนด ยุทธศาสตร์ภาคใต้” ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังเสียที เพราะจะต้องตระหนักเสมอว่า การยุติการก่อความไม่สงบของขบวนการติดอาวุธในทุกพื้นที่ทั่วโลก ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยปราศจากการมี ยุทธศาสตร์ที่ดี” เช่นที่รัฐไทยเคยมีประสบการณ์มาแล้วในการกำหนด ยุทธศาสตร์เพื่อเอาชนะสงครามคอมมิวนิสต์” จากรูปธรรมของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 และ 65/2525  

การเจรจาสันติภาพในภาคใต้ จะยังคงเป็นปัญหาที่ต้องเผชิญต่อไป สงครามการเมืองบนโต๊ะเจรจา” จะยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญของรัฐไทยต่อไปในอนาคต ดังเช่นที่เป็นความท้าทายมาแล้วในอดีต

ท้ายบท :

การนำเสนอเช่นนี้ มิได้หมายความว่า ผู้เขียนไม่ให้ความสำคัญกับการเสียชีวิตและบาดเจ็บที่เกิดขึ้น หากแต่ต้องการเสนออย่างสังเขปถึงสิ่งที่ประเด็น ปัญหา ข้อคิด และบทเรียน จากปรากฏการณ์ของความรุนแรงชุดใหม่ที่เริ่มต้นจากปล้นปืน 2547 จนถึงกรณีคดีตากใบ 2567 เพราะอย่างที่เรากล่าวกันเสมอว่า ปัญหาทุกเรื่องไม่ได้ดำรงอยู่แบบด้านเดียว … ปัญหาตากใบก็ไม่มีด้านเดียวดังเช่นที่ถูกนำเสนอและประกอบสร้างในปัจจุบันแต่อย่างใด และที่สำคัญปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ไม่เคยดำรงอยู่แบบด้านเดียวเช่นกัน

ดังนั้น การคิดและการมองปัญหาการก่อความไม่สงบในภาคใต้ จึงอาจต้องคิดในแบบที่มีกรอบ ยุทธศาสตร์ใหญ่” และ ยุทธศาสตร์ย่อย” คู่ขนานกันไป ด้วยวัตถุประสงค์ประการเดียวคือ การยุติความรุนแรงในพื้นที่ให้ได้ เพื่อที่ “ศาสนิกต่างความเชื่อ” จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ หรือที่เป็นเข็มมุ่งในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่มี มิติชาติพันธุ์ทับซ้อนคือ จะต้องสร้างให้ประชาชน ต่างศาสนา-ต่างชาติพันธุ์” สามารถ อยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่าง” ทางสังคม (หรือหลักการ ”unity among diversity”)

แน่นอนว่า การดำเนินการเพื่อให้ประสบความสำเร็จทางยุทธศาสตร์เช่นนี้ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะขบวนการบีอาร์เอ็น. มีความต้องการหลักประการเดียวคือ การสร้างรัฐเอกราชใหม่ และความต้องการเช่นนี้ดำเนินการด้วยการก่อการร้ายและการก่อความไม่สงบในพื้นที่ควบคู่กันไป

ในสภาวะเช่นนี้ สงครามก่อความไม่สงบในภาคใต้จึงเป็น ความท้าทายด้านความมั่นคง” ที่แหลมคมเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน และท้าทายความสามารถของรัฐบาลทั้งในปัจจุบันและอนาคตเป็นอย่างยิ่งด้วย !

สภาพสงครามที่ ต่างกันย่อมกำหนดกฎการชี้นำสงครามที่ต่างกัน คือ แตกต่างกันทั้งในด้านเวลา สถานที่ และลักษณะ …ด้วยเหตุนี้กฎแห่งสงครามจึงต่างก็มีลักษณะพิเศษของมันจะนำไปใช้กับขั้นที่ต่างกันอย่างตายตัวไม่ได้ … จะนำไปใช้แทนซึ่งกันและกันอย่างตายตัวไม่ได้”

ประธานเหมาเจ๋อตุง

ธันวาคม 1936

ผู้เขียน :ศ.กิตติคุณดร.สุรชาติ บำรุงสุข อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ แม้จะเกษียณราชการแล้ว แต่ยังคงเป็นอาจารย์พิเศษ และวิทยากรรับเชิญ นอกจากเป็นนักวิชาการแล้ว ยังเป็น คอลัมนิสต์ประจำ หนังสือพิมพ์ชื่อดัง และยังเขียนให้โลกวันนี้อีกด้วย เป็นหนึ่งในคนเดือนตุลา สมัยเป็นผู้นำนิสิตจุฬาฯ เคยถูกจองจำ ที่เรือนจำกลางบางขวาง จากการต่อสู้ จากความคิดทางการเมือง ในกรณี 6 ตุลาคม 2519 และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านวิชาการยุทธศาสตร์ ทางการทหารและกองทัพ ผู้คลุกคลีอยู่กับข้อเสนอ ในการสร้าง “ทหารอาชีพ” มายาวนานหลายทศวรรษ


You must be logged in to post a comment Login

Казино левлучший портал для азартных игроков
Игровые автоматызахватывающая игра начинается сейчас
azino777испытай удачу прямо здесь
1win казинооткрой для себя мир азартных игр
Вулкан платинумавтоматы с высокой отдачей ждут тебя
Казино левгде выигрыши становятся реальностью
Игровые автоматыразвлекайся и выигрывай каждый день
азино три топоранаслаждайся адреналином от побед
Казино 1winкаждая игра — шаг к успеху
Вулкан россиятвой шанс на большой выигрыш
Казино левоснова азартного мастерства
Игровые автоматытоповые игры для каждого
Azino777только для настоящих ценителей риска
1win казинокайф от игры начинается здесь
Вулкан 24где каждый день приносит победы
Казино левновые высоты азартных эмоций
Игровые автоматыгде выигрыши реальны
азино три топорасамые горячие игры ждут
Казино 1winвыигрывайте с комфортом
Казино вулкан россияисследуй мир азартных автоматов
Казино левтвой источник азарта и выигрышей
Игровые автоматыискусство выигрыша ждет тебя
azino777почувствуй азарт и драйв
1win казиноидеальный выбор для азартных игр
Вулкан платинумиграй и побеждай с удовольствием
Казино левнаслаждайся азартом без границ
Игровые автоматылучшие призы ждут тебя
азино три топоратвоя игра начинается здесь
Казино 1winновые уровни азарта и удачи
Вулкан россияначни путь к победе прямо сейчас
Coco chat - Rejoignez nouvelles discussions enrichissantes sur Bed and Bamboo
Chatrandom - Discover exciting chats with new people on Bed and Bamboo
Chatrandom - Entdecke spannenUnterhaltungauf Bed and Bamboo
Chatrandom - Ontdek boeienchats op Bed and Bamboo
Coco chat - Partagez des moments uniques sur Hoodrich France
Chatrandom - Connect and chat on Hoodrich France
Chatrandom - Chatte mit der Hoodrich France Community
Chatrandom - Geniet van chats in Hoodrich France gemeenschap
Coco chat - Connectez-vous pour des échanges passionnants sur I’m Famous 51
Chatrandom - Meet and chat on I’m Famous 51
Chatrandom - Führe spannenGespräche auf I’m Famous 51
Chatrandom - Beleef gesprekkop I’m Famous 51
Coco chat - Discutez avec la communauté Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Explore vibrant conversations at Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Tritt spannendChats bei Quincaillerie Outillage Thollot bei
Chatrandom - Ga mee in boeiengesprekkbij Quincaillerie Outillage Thollot
Coco chat - Rejoignez TurboSystem pour discuter
Chatrandom - Engage in exciting chats at TurboSystem
Chatrandom - Genieße spannenChats bei TurboSystem
Chatrandom - Beleef chatplezier bij TurboSystem