- เอาไม้หวดก้นให้เข็ดPosted 22 hours ago
- อย่าไร้จิตสำนึกPosted 2 days ago
- กระสุนตกPosted 3 days ago
- ไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวรPosted 4 days ago
- คดีตัดยอดหมดอนาคตPosted 1 week ago
- ต้องระวังไว้ด้วยPosted 1 week ago
- อย่าเผาเศรษฐกิจPosted 1 week ago
- ระวังความ “เสื่อม”Posted 1 week ago
- นึกถึงศีลธรรม-โลกร่มเย็นPosted 2 weeks ago
- รัฐบาลเอาศีลธรรมกลับมาPosted 2 weeks ago
ซะกาต ภาษีศาสนาในอิสลาม
คอลัมน์ : สันติธรรม
ผู้เขียน : บรรจง บินกาซัน
(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 5 เม.ย. 67)
คำสอนของทุกศาสดามีความเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือ การให้หรือการบริจาคทาน คำสอนเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ทางด้านจิตวิญญาณและสังคม นั่นคือเพื่อขัดเกลาวิญญาณให้สะอาดหมดจดจากมลทินแห่งความตระหนี่ถี่เหนียว ขณะเดียวกัน ทานที่ให้ไปจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนมีกับคนไม่มีและช่วยทำให้สังคมเจริญเติบโต
การบริจาคหรือการให้ทานจึงเป็นเสมือนเมตตาธรรมที่ค้ำจุนโลก
แต่เนื่องจากการให้ทานหรือการบริจาคไม่เป็นข้อบังคับ เป็นการทำตามความสมัครใจ จึงมีบางคนไม่บริจาค หรือคนมีมาก แต่บริจาคน้อย ความไม่เป็นธรรมในเรื่องนี้จึงเกิดขึ้น ศาสนาจึงกำหนดให้ศาสนิกของตนจ่ายสิ่งที่เรียกว่า “ภาษีศาสนา” ก่อนที่รัฐบาลจะมีการออกกฎหมายเก็บภาษี
ในคัมภีร์ไบเบิล เราพบระบบการจัดเก็บและการบริหารภาษีศาสนาที่เรียกว่า “ทศางค์” ซึ่งชาวยิวและชาวคริสเตียนถือปฏิบัติกันมาในฐานะเป็นการแสดงความเคารพสักการะพระเจ้า
ในคัมภีร์กุรอาน เราพบว่าการจ่ายภาษีศาสนาที่เรียกว่า “ซะกาต” มีมานานแล้วตั้งแต่เมื่อครั้งที่อิสมาอีลลูกชายคนแรกอับราฮัมยังมีชีวิต ข้อความในคัมภีร์กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า :
“และได้มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ถึงเรื่องราวของอิสมาอีล เขาเป็นผู้ซื่อตรงต่อสัญญา เป็นผู้นำสาส์นจากพระเจ้า เป็นนบีคนหนึ่ง เขาสั่งคนของเขาให้ดำรงละหมาดและจ่ายซะกาต” (กุรอาน 19:54-55)
การจ่ายซะกาตของอิสมาอีลเป็นอย่างไรไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเพราะหลังสมัยของอิสมาอีลผู้เป็นบรรพบุรุษของชาวอาหรับ ชาวอาหรับได้หลงลืมเรื่องการจ่ายซะกาตและการละหมาดกันหมดแล้ว
อย่างไรก็ตาม ชาวอาหรับยังคงมีการแสดงความโอบอ้อมอารีด้วยการเลี้ยงอาหารแก่ผู้พลัดถิ่น ให้เงินช่วยเหลือคนยากจน หรือเชือดสัตว์พลีในช่วงเทศกาลฮัจญ์เพื่อให้คนนำเนื้อไปบริโภค แต่ทั้งหมดล้วนทำไปด้วยความสมัครใจ ไม่มีกฎเกณฑ์กติกาใดๆ
เมื่อนบีมุฮัมมัดเริ่มเผยแผ่อิสลามในมักก๊ะฮฺ ท่านได้เน้นให้สาวกของท่านบริจาคทานช่วยเหลือคนยากจน แม่ม่าย เด็กกำพร้าและปลดปล่อยทาส การบริจาคเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ล้วนทำไปด้วยความสมัครใจและจิตศรัทธาของผู้มีทรัพย์สินเช่นกัน
แต่เมื่อนบีมุฮัมมัดและสาวกต้องอพยพไปยังเมืองมะดีนะฮฺโดยต้องทิ้งทรัพย์สินไว้ที่มักก๊ะฮฺ สาวกผู้อพยพมาจึงอยู่ในสภาพสิ้นเนื้อประดาตัวเหมือนกันหมดทุกคน แม้นบีมุฮัมมัดจะขอให้มุสลิมในเมืองมะดีนะฮฺรับผู้อพยพไปอุปการะ แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้หมด
จนกระทั่งในปีที่สองของการอพยพ เมื่อพระเจ้าได้สั่งให้มุสลิมถือศีลอดในเดือนรอมฎอน นบีมุฮัมมัดผู้นำประชาคมมุสลิมที่ยังไม่มีรัฐบาลของตัวเองได้ออกคำสั่งให้มุสลิมทุกคนที่มีอาหารเหลือกินในวันรุ่งขึ้นต้องนำสิ่งที่เรียกว่า“ซะกาตฟิฏร์” ซึ่งเป็นอาหารท้องถิ่น เช่น ข้าวหรืออินทผลัมประมาณสี่มือกอบไปให้คนยากจนก่อนสิ้นสุดเดือนรอมฎอน ระบบซะกาตจึงเริ่มต้นตั้งแต่นั้น
ซะกาตฟิฏร์จึงไม่ใช่การบริจาคที่ทำด้วยความสมัครใจ แต่มันเป็นหน้าที่ของผู้พอมีจะกินต้องจ่ายให้แก่คนจนผู้มีสิทธิ์ ดังนั้น คนจนจึงเป็นเสมือนแท่นสักการะพระเจ้าในการถวายทรัพย์สินแก่พระองค์
หลังจากกำหนดเรื่องซะกาตฟิฏร์ ประชาคมมุสลิมต้องทำสงครามต่อต้านผู้รุกรานจากมักก๊ะฮฺ หลังสงคราม มุสลิมได้รับทรัพย์สินที่ตกอยู่ในสนามรบเป็นจำนวนมากมาย ก่อนสมัยอิสลาม ทรัพย์สินเหล่านี้จะเป็นของคนที่เก็บได้ แต่มาถึงตอนนี้ พระเจ้าได้สั่งลงมาเป็นกฎว่าทรัพย์ที่ได้จากสนามรบทั้งหมดต้องนำมาให้นบีมุฮัมมัดและทรัพย์สินเหล่านี้หนึ่งในห้าพระเจ้าจัดสรรให้นบีนำไปเลี้ยงดูครอบครัว แม่ม่าย เด็กกำพร้าและคนยากจน ส่วนที่เหลือจะถูกนำไปจัดสรรให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในสงคราม
ในปลายสมัยของนบีมุฮัมมัด ประชาคมมุสลิมเริ่มมีความมั่งคั่ง นบีมุฮัมมัดจึงกำหนดว่าเมื่อครบรอบปีจันทรคติ หากมุสลิมคนใดมีทรัพย์สินเป็นเงินมีมูลค่าเท่ากับราคาทองคำหนัก 5.6 บาท คนผู้นั้นมีหน้าที่ต้องจ่ายซะกาตจากทองคำหรือเงิน 2.5% ให้แก่คนแปดประเภทที่คัมภีร์กุรอานกล่าวไว้ดังนี้
- คนยากจน 2) คนขัดสน 3) เจ้าหน้าที่จัดการซะกาต 4) ผู้มีใจโน้มมาสู่อิสลาม 5) ผู้ไรอิสรภาพ 6) ผู้มีหนี้สิน 7) ในหนทางของพระเจ้า 8) ผู้พลัดถิ่น
ซะกาตจึงเป็นระบบภาษีศาสนาในอิสลามที่มุสลิมทั่วโลกยังคงปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้ แม้จะจ่ายภาษีให้รัฐแล้วก็ตาม มุสลิมก็ต้องจ่ายซะกาตอีกในฐานะเป็นการแสดงความเคารพสักการะพระเจ้า
แบบฝึกหัดทบทวน
“เข้าใจคัมภีร์กุรอานผ่านเรื่องราวของบรรดานบี
จงตอบคำถามต่อไปนี้
- นบียะกู๊บเป็นอะไรกับนบีอิบรอฮีม…………………………………………………………………..
- นบียะกู๊บได้ฉายาว่า……………………ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแผ่นดินที่เรียกว่า…………………….
- นบียะกู๊บมีลูกทั้งหมดจำนวน…………….คนจากภรรยาทั้งหมด…………………………..คน
- น้องชายร่วมแม่เดียวกันของนบียูซุฟมีชื่อว่า…………………………………………………….
- นบียูซุฟมีศักดิ์เป็น……………………….ของนบีอิบรอฮีม
- เหตุใดพี่ๆของนบียูซุฟจึงคิดกำจัดนบียูซุฟ………………………………………………………
- ในตอนเป็นเด็ก นบียูซุฟฝันเห็นอะไร…………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………….
- นบียูซุฟไปอยู่ที่อียิปต์ได้อย่างไร………………………………………………………………………
- นบียูซุฟไปอยู่กับใครในอียิปต์………………………………………………………………………..
- สาเหตุใดที่นบียูซุฟถูกจับไปขังคุก…………………………………………………………………….
- นบียูซุฟสั่งสอนเรื่องการศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียวกับเพื่อนร่วมคุกของท่านโดยเปรียบเทียบว่า…………………………………………………………………………………………….
- คุณธรรมอะไรที่ปกป้องนบียูซุฟจากการถูกภรรยาของเจ้าเมืองอียิปต์เย้ายวน………………………………………………………………………………………………………………..
- ความรู้พิเศษอะไรที่อัลลอฮฺประทานแก่นบียูซุฟ…………………………………………………..
- กษัตริย์อียิปต์ฝันว่าอะไรที่โหรหลวงไม่สามารถทำนายได้……………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………….
- นบียูซุฟทำนายฝันของกษัตริย์อียิปต์ว่า…………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………….
- อะไรที่ทำให้นบียูซุฟได้รับอำนาจสูงสุดในอียิปต์…………………………………………………..
- ภรรยาของกษัตริย์อียิปต์ชื่อ…………………………………………………………………………….
- ลูกหลานของนบียะกู๊บถูกเรียกว่า………………………………………………………………………
- ก่อนตาย นบียะกู๊บได้สั่งลูกๆไว้อย่างไร……………………………………………………………..
- เมื่อนบียะกู๊บถามลูกๆก่อนตายว่าพวกเขาจะนับถือศาสนาอะไร ลูกๆของนบียะกู๊บตอบว่าพวกเขาจะนับถือศาสนาของ……………………………………………………………………….
You must be logged in to post a comment Login