วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

เทรนด์บรรจุภัณฑ์ของโลกประจำปี 2566

On April 11, 2023

ตัวแทนจากมินเทล คุณ เดวิด ลุทเทนเบอร์เกอร์ (David Luttenberger) ผู้อำนวยการฝ่ายบรรจุภัณฑ์ระดับโลกของมินเทล ได้ศึกษาปัจจัยด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อการประเมิน การวางแผน และการตัดสินใจในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ระดับโลก ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจากผลกระทบของเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัวพวกเขา และผลิตภัณฑ์จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมันสามารถช่วยแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการได้ มีอิทธิพลภายนอกมากมายที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผู้บริโภค ซึ่งจะส่งผลให้แบรนด์ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์เช่นกัน ปัจจัยดังกล่าวเป็นหนึ่งในหลายเหตุผลที่ทำให้เราตัดสินใจใช้การวิเคราะห์ปัจจัยด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และกฎหมาย (PESTEL) ในรายงานเทรนด์บรรจุภัณฑ์ของโลกประจำปี พ.ศ. 2566 จากมินเทล ไม่ว่าการขายผลิตภัณฑ์จะเกิดขึ้นในรูปแบบใด บรรจุภัณฑ์มักจะเป็นสิ่งแรกที่ทำให้ผู้บริโภคได้สัมผัสกับแบรนด์โดยตรง เป็นสิ่งแรกที่พวกเขาเห็นและจับต้อง และการสร้างความประทำใจในครั้งแรกนั้นเป็นสิ่งสำคัญ

แม้ว่าค่าครองชีพกำลังพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก ผู้บริโภคในปี พ.ศ. 2566 จะไม่เลือกซื้อสินค้าเพียงเพราะเหตุผลด้านราคาเพียงอย่างเดียว พวกเขาจะให้คุณค่ากับอาหารและเครื่องดื่มราคาถูกที่สามารถตอบโจทย์ด้านความชัดเจน คุณค่าทางโภชนาการ และการใช้งานที่หลากหลาย ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ต้องสื่อสารถึงคุณค่าทางอาหารเพิ่มเติมอย่างชัดเจน และนำเสนอการกำหนดสัดส่วนและการเตรียมสินค้าที่มีประสิทธิภาพ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดูสะอาด เน้นย้ำถึงวัตถุดิบธรรมชาติและประโยชน์ต่อสุขภาพ จะดึงดูดสายตาผู้บริโภคได้มากกว่า ในอนาคต แบรนด์ที่ต้องการกลายเป็นที่หนึ่งในใจของลูกค้าในห้องครัวจะต้องคำนึงถึงการใช้พลังงาน และนำเสนอบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้การปรุงอาหารประหยัดพลังงานมากขึ้น วิกฤตสภาพอากาศเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ผลักดันให้ผู้บริโภคเรียกร้องความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจากแบรนด์มากขึ้น ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ผู้บริโภคต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อ ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับชีวิตสุขภาพดี ซึ่งเห็นได้จากการที่พวกเขาต้องการรู้ว่าผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบต่าง ๆ จะช่วยให้พวกเขาทำตามเป้าหมายด้านสุขภาพได้อย่างไร

นอกเหนือจากความท้าทายด้านกฎระเบียบและซัพพลายเชน ปัจจัยเหล่านี้ยังเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ให้ผู้ค้าปลีก เจ้าของแบรนด์ และผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อีกด้วย ผู้บริโภคและผู้ร่างกฎหมายทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากบรรจุภัณฑ์ และแบรนด์ต่างได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเหตุการณ์นี้ ข้อบังคับใหม่ ๆ เกี่ยวกับการใช้พลาสติกและวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดมลพิษทำให้บริษัทต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายทั้งในปัจจุบันและอนาคตเกี่ยวกับพลาสติก สารเคมีตลอดกาล (PFAS) และหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR) ผู้บริโภคต่างก็สนับสนุนการออกกฎหมายเหล่านี้ เราอาจเห็นความเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่ทำให้ผู้ผลิตต้องรับแรงกดดันมากกว่าเดิมในการเสาะหาวัสดุทางเลือกที่ถูกต้องตามกฎระเบียบแต่อาจมีราคาที่สูงขึ้น กฎหมายจำนวนมากถูกร่างขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากการทำธุรกิจที่ฉ้อฉลและหลอกลวง กฎระเบียบใหม่ ๆ เกี่ยวกับการใช้พลาสติกและวัสดุที่ก่อมลพิษ รวมถึงกฎระเบียบที่คุ้มครองสุขภาพของมนุษย์และโลก จะส่งผลดีต่อผู้บริโภคอย่างมาก หากบริษัทต้องการรักษาความเป็นผู้นำและความสามารถทางการแข่งขัน พวกเขาต้องทำความเข้าใจกฎหมายทั้งในปัจจุบันและอนาคตเกี่ยวกับพลาสติก สารเคมีตลอดกาล (PFAS) และหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR) เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน แบรนด์ต้องปรับกลยุทธ์เชิงรุกและลงทุนในนวัตกรรมใหม่ ๆ ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ สำหรับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ แบรนด์ควรหาทางเลือกในการเพิ่มประสิทธิภาพเช่น การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ การลดน้ำหนัก การบริหารวัสดุ การยืดอายุการเก็บรักษาสินค้า รวมถึงหนทางการใช้งานสินค้าเมื่อหมดอายุการใช้งาน และการนำกลับมาใช้ใหม่

จากการสัมภาษณ์ระบุว่า “แม้ว่าค่าครองชีพกำลังพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก ผู้บริโภคในปี พ.ศ. 2566 จะไม่เลือกซื้อสินค้าเพียงเพราะเหตุผลด้านราคาเพียงอย่างเดียว” แบรนด์จะสามารถวางแผนด้านผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนเพื่อผู้บริโภค ค่าครองชีพมีผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมผู้บริโภค แต่ปัจจัยด้านคุณค่าไม่ใช่สิ่งเดียวที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ผู้บริโภคในยุคหลังการระบาดใหญ่ยังให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเช่นกัน แม้ว่าค่าครองชีพกำลังพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก ผู้บริโภคในปี พ.ศ. 2566 จะไม่เลือกซื้อสินค้าเพียงเพราะเหตุผลด้านราคาเพียงอย่างเดียว พวกเขาจะให้คุณค่ากับอาหารและเครื่องดื่มราคาถูกที่สามารถตอบโจทย์ด้านความชัดเจน คุณค่าทางโภชนาการ และการใช้งานที่หลากหลาย ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ต้องสื่อสารถึงคุณค่าทางอาหารเพิ่มเติมอย่างชัดเจน และนำเสนอการกำหนดสัดส่วนและการเตรียมสินค้าที่มีประสิทธิภาพ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดูสะอาด เน้นย้ำถึงวัตถุดิบธรรมชาติและประโยชน์ต่อสุขภาพ จะดึงดูดสายตาผู้บริโภคได้มากกว่า ในอนาคต แบรนด์ที่ต้องการกลายเป็นที่หนึ่งในใจของลูกค้าในห้องครัวจะต้องคำนึงถึงการใช้พลังงาน และนำเสนอบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้การปรุงอาหารประหยัดพลังงานมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงในตลาดบรรจุภัณฑ์เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับแบรนด์ ผู้บริโภคต้องการความโปร่งใสและต้องการรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าที่พวกเขาซื้อ พวกเขาต้องการให้แบรนด์เปิดเผยจุดอ่อนด้านความยั่งยืนและบอกผู้บริโภคว่าแบรนด์กำลังทำสิ่งใดบ้างเพื่อปรับปรุงจุดอ่อนเหล่านั้น แบรนด์ควรเริ่มต้นด้วยการวางแผนใช้ฉลากที่ชัดเจนมากกว่าเดิมและอธิบายว่าคำกล่าวอ้างด้านความยั่งยืนต่าง ๆ นั้นสร้างประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวม ในอนาคต บรรจุภัณฑ์จะถูกใช้เพื่อนำเสนอถึงความถูกต้องของแบรนด์ ซึ่งในช่วงหลัง ๆ นี้ ได้รวมถึงทุนทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ต้องสื่อสารถึงคุณค่าทางอาหารเพิ่มเติมอย่างชัดเจน และนำเสนอการกำหนดสัดส่วนและการเตรียมสินค้าที่มีประสิทธิภาพ

เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่าความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นกดดันให้ผู้บริโภคในทุกแวดวงธุรกิจต้องคำนึงถึงงบประมาณและการใช้จ่ายมากกว่าเดิม แบรนด์สามารถใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ในการนำเสนอประโยชน์และมูลค่าเพิ่มเติมของผลิตภัณฑ์ การนำเสนอบรรจุภัณฑ์ที่มอบคุณค่าทางการเงินให้กับลูกค้า โดยไม่ลดคุณค่าด้านคุณภาพ ความสะดวกสบาย ความสดใหม่ ความปลอดภัย และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ในปี พ.ศ. 2566 และปีต่อ ๆ ไป

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดูสะอาด เน้นย้ำถึงวัตถุดิบธรรมชาติและประโยชน์ต่อสุขภาพ จะดึงดูดสายตาผู้บริโภคได้มากกว่า ในอนาคต แบรนด์ที่ต้องการกลายเป็นที่หนึ่งในใจของลูกค้าในห้องครัวจะต้องคำนึงถึงการใช้พลังงาน และนำเสนอบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้การปรุงอาหารประหยัดพลังงานมากขึ้น  คุณ เดวิด ลุทเทนเบอร์เกอร์กล่าวไวว่า “ผู้บริโภคในตลาดความงามยุคหลังการระบาดใหญ่กำลังมองหาการทดลอง ความรับผิดชอบต่อสังคม และคุณค่าจากแบรนด์ทั้งในร้านค้าและช่องทางออนไลน์” ผู้บริโภคในปัจจุบันมีความสนใจเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมมากขึ้น รู้จักเทคโนโลยีที่ช่วยให้พวกเขามีส่วนร่วมกับแบรนด์ได้มากขึ้น พวกเขายังเรียกร้องและมีส่วนร่วมในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีกด้วย ปัจจัยดังกล่าวและปัญหาทางเศรษฐกิจที่พบเจอทำให้ผู้บริโภคมีความพิถีพิถันมากขึ้นกับสิ่งที่พวกเขาซื้อ มีการเรียกร้องถึงการนำเสนอคุณค่าของผลิตภัณฑ์อย่างเปิดเผยทั้งในด้านประสิทธิภาพ ขนาด รูปแบบ และการทำงาน ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อตั้งแต่ก่อนการระบาดใหญ่ทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ผู้บริโภคในปัจจุบันกำลังมองหาความเป็นอยู่ที่ดีในด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจในระดับที่สูงกว่าเดิม คุณสมบัติของสินค้าที่เคยเป็นเพียงความต้องการได้กลายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคคาดหวังจากแบรนด์ในปัจจุบัน แต่ผู้ค้าปลีก แบรนด์ และผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ควรตระหนักไว้ว่าการทำตามความคาดหวังด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการให้ความสำคัญกับคุณค่า อาจไม่ได้ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ แต่การไม่ทำตามความคาดหวังเหล่านี้จะส่งผลให้ผู้บริโภคเลือกที่จะไม่ซื้อผลิตภัณฑ์

ความท้าทายอันยิ่งใหญ่บางประการสำหรับตลาดบรรจุภัณฑ์อาจเกิดจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ซึ่งโอกาสการเกิดวิกฤตดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหากเกิดวิกฤตขึ้นจริง ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะสร้างแรงกดดันต่อผู้บริโภคและธุรกิจมากกว่าเดิม ส่งผลให้กำลังซื้อลดลง และบังคับให้แบรนด์ต้องคิดหนักว่ากลยุทธ์บรรจุภัณฑ์จะช่วยให้พวกเขารักษาความสามารถในการแข่งขันได้อย่างไร ความท้ายอีกประการคือความไว้วางใจของผู้บริโภคที่กำลังลดลง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อบริษัท รัฐบาล และสถาบันต่าง ๆ ได้ลดลงมากกว่าที่เคย และผู้บริโภคมักไม่เชื่อคำพูดของแบรนด์ที่บอกว่าพวกเขากำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง สถานการณ์นี้เป็นเหตุผลว่าทำไมความโปร่งใสของบรรจุภัณฑ์มีความสำคัญมากขึ้นต่อความสำเร็จและความยั่งยืนของแบรนด์

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเป็นความท้าทายที่สำคัญต่อแบรนด์ เนื่องจากวิกฤตครั้งนี้ส่งผลต่อซัพพลายเชน ความคาดหวังของผู้บริโภค และการแก้ไขกฎระเบียบ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเป็นปัญหาเร่งด่วนและปัญหานี้จะไม่คลี่คลายในเร็ว ๆ นี้ แบรนด์ต้องใช้แนวคิดเชิงรุกและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ความท้าทายเหล่านี้อาจมาพร้อมโอกาสที่ดีของแบรนด์ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดโอกาสอันน่าตื่นเต้นมากมาย เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์สามารถสนับสนุนและสร้างประสบการณ์การซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความชาญฉลาดผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ครบถ้วน ตัวอย่างเช่น การส่งข้อมูลให้ผู้บริโภคผ่าน QR Code เป็นวิธีที่สะดวกสบายและสามารถช่วยเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้


You must be logged in to post a comment Login