วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

กสศ. เตรียมความพร้อมโรงเรียนปลายทาง ‘ครูรัก(ษ์)ถิ่น’ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พื้นที่ห่างไกล

On November 28, 2022

กสศ. เตรียมความพร้อมโรงเรียนปลายทาง ‘ครูรัก(ษ์)ถิ่น’ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พื้นที่ห่างไกล
ใช้กลไกแลกเปลี่ยนเสริมสร้างพลังการเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านทีมหนุนเสริมจากผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ฯลฯ ยกระดับคุณภาพโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลให้มีความเข้มแข็ง หลังพบปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างสถานศึกษาในชนบทกับในเมือง มีคุณภาพห่างกันมากกว่า 2 ปีการศึกษา สาเหตุมาจากการจัดการเรียนการสอน จำนวนครูไม่เพียงพอ

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการหนุนเสริมกลไกการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล 4 ภูมิภาค เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาโรงเรียนในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ปีที่ 3 “โรงเรียนพื้นที่แห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบการผลิตและการพัฒนาครู” โดยมีคณะทำงานหนุนเสริมกลไกการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลเข้าร่วมเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาโรงเรียนปลายทางในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น

รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล กล่าวว่า โครงการหนุนเสริมกลไกการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล 4 ภูมิภาค ถือเป็นกลไกที่สำคัญต่อการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบในการประสาน ส่งเสริม สนับสนุน ติดตาม บูรณาการเชื่อมโยงงานพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล และเป็นตัวเชื่อมระหว่างโรงเรียนในเขตพื้นที่และ สพฐ. ในการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (Whole school approach) นำไปสู่การเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาคนโยบายระดับต่าง ๆ โดยข้อมูลสำคัญจากโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลจะถูกนำมาวิเคราะห์ให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบาย

สำหรับทีมหนุนเสริมโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทั้ง 4 ภูมิภาค ที่มาร่วมกันในวันนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาโรงเรียนในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ซึ่งก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว ให้สามารถดําเนินการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนด้วยมาตรการคุณภาพจากต้นแบบของ โรงเรียนพัฒนาตนเอง ซึ่งโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลถือเป็นพื้นที่เป้าหมายการปฏิบัติงานของครูรุ่นใหม่จากโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ซึ่งมีจำนวน 699 แห่ง และพร้อมเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสำหรับนักศึกษาทุน (รุ่นที่ 1) จำนวน 281 แห่ง

รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี กล่าวว่า ทีมหนุนเสริมเป็นทีมที่เกิดจากการรวมตัวของผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเข้าใจในเป้าหมายของโครงการพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล และมีจิตอาสาที่ทำงานในแนวระนาบเพื่อส่งเสริมสนับสนุน กระตุ้น เสริมแรง ติดตามช่วยเหลือให้คำปรึกษา รวมทั้งประสานงานกับมหาวิทยาลัยที่ผลิตครูรัก(ษ์)ถิ่น เพื่อให้ดำเนินงานโครงการฯ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยใช้กลไกสำคัญที่ประกอบด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Q-PLC) ซึ่งเป็นกระบวนการเสริมสร้างพลังการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างกลุ่มครูทั้งในระดับโรงเรียนและเครือข่ายอย่างได้ผลและเกิดชุมชนการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง จนนำไปสู่เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (Q-Learning) โดยอาศัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร (Q–Leadership) มาขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียน ที่มีเป้าหมายชัดเจน

“หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลของคณะทำงานทีมหนุนเสริมทั้ง 4 ภูมิภาค จะยกระดับคุณภาพโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลให้มีความเข้มแข็งพร้อมที่จะเป็นหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และรองรับการบรรจุแต่งตั้งผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ทั้งนี้การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ครูเพียงคนเดียวคงไม่สามารถทำได้ ต้องใช้พลังของครูทั้งโรงเรียน ดังนั้น ผู้บริหาร ครู และอาจารย์ หรือโค้ชจึงเป็นคนสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่อยู่ในพื้นที่ จึงมีหน้าที่ในการเชื่อม รวมพลัง และหากมีความร่วมมือกันทุกภาคส่วน การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนคุณภาพ ความสำเร็จในการลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาของประเทศก็จะเกิดขึ้นได้” รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี กล่าว

ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า โจทย์หนึ่งที่ท้าทายการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเสมอมา คือ การบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล แม้ว่ามีจำนวนนักเรียนไม่มาก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เยาวชนแม้เพียงหลักร้อยหรือหลักสิบคนก็คือทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศ ซึ่งจะเป็นตัวแปรชี้ว่าภาพของประเทศไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร ขณะที่กลไกการทำงานพัฒนาของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ไม่ว่าตามแนวตะเข็บชายแดน พื้นที่เกาะ ป่าเขา บนดอยสูง รวมถึงพื้นที่เสี่ยงภัยต่าง ๆ ยังพบปัญหา อาทิ เรื่องอัตรากำลังครูที่ไม่มีครูเลือกบรรจุบางพื้นที่ หรือการขอย้ายออก ผู้บริหารไม่สามารถวางแผนระยะยาวเพื่อความยั่งยืนได้ จนกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้การทำงานไม่มีความต่อเนื่อง

“สพฐ. ได้แต่งตั้งคณะทำงานโครงการพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล 4 ภูมิภาค เพื่อเป็นกลไกหนุนเสริมเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาครูรุ่นใหม่ ในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ให้มีความเข้มแข็งพร้อมที่จะเป็นหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพและรองรับการบรรจุแต่งตั้งผู้สำเร็จการศึกษาจากโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รวมถึงส่งเสริมให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง และเต็มตามศักยภาพในโรงเรียนถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง” ดร.อนันต์ กล่าว

ดร.อนันต์ กล่าวต่อไปว่า ในโครงการทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น สพฐ. มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน ข้อมูลหน่วยงานในระดับพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุครูรัก(ษ์)ถิ่น โดยพิจารณาข้อมูลขนาดโรงเรียน สถานะการยุบหรือควบรวม หรือสถานะอื่น ๆ อาทิ สถานศึกษาในเขตพื้นที่พิเศษ โรงเรียนในโครงการพระราชดำริ ฯ โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สอบทานข้อมูลโรงเรียนปลายทาง รวมถึงร่วมสร้างเครือข่ายและเชื่อมประสานกับโรงเรียน และหน่วยงานในพื้นที่ แลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับหน่วยงาน MOU และระดับพื้นที่

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำของพัฒนาการด้านการเรียนรู้ระหว่างสถานศึกษาในชนบทกับในเมือง มีคุณภาพห่างกันมากกว่า 2 ปีการศึกษา โดยมีสาเหตุมาจากการจัดการเรียนการสอนของครูยังไม่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนจึงแปรผันไปตามคุณภาพการสอนของครู ดังนั้นเพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในโรงเรียนให้สามารถจัดการเรียนรู้และสนับสนุนนักเรียนในการพัฒนาทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพอย่างเต็มตามศักยภาพ จึงเป็นที่มาของโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น โดย กสศ. มุ่งมั่นสร้างโอกาสให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษซึ่งมีศักยภาพและมีใจรักอยากเป็นครู ให้เข้ารับการศึกษาและได้รับการบรรจุเป็นครูรุ่นใหม่ในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลและเป็นชุมชนบ้านเกิด เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครูและพัฒนาคุณภาพโรงเรียนให้สอดคล้องกับโจทย์การศึกษาในพื้นที่ห่างไกล

“การขาดแคลนครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ที่เกิดจากจากความไม่สมดุลของระบบการผลิตและพัฒนาครูในระยะ 15-20 ปีที่ผ่านมา เป็นความท้าทายของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ปัญหาเรื่องอัตรากำลังครูที่ไม่มีครูเลือกไปบรรจุทำงานหรือขอย้ายออกปีละจำนวนมาก การจัดสรรทรัพยากรที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ รวมถึงระบบนิเวศทางการเรียนรู้ที่ยังไม่สามารถส่งเสริมให้เด็กในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ อีกทั้งโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลยังพัฒนาคุณภาพได้ยาก ล้วนเป็นสถานการณ์ที่ชี้ให้เห็นเรื่องความเหลื่อมล้ำ” ดร.ไกรยส กล่าว

ดร.ไกรยส ระบุว่า ในแผนพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล กสศ. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงการอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน , สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา พัฒนาแนวคิดการผลิตและพัฒนาครูด้วยวิธีและนวัตกรรมที่เหมาะกับโจทย์ระดับพื้นที่ ไปสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายตั้งแต่ต้นทางของระบบการศึกษา ด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) สร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนที่ขาดแคลนโอกาสในพื้นที่ห่างไกลได้เข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา 2) พัฒนาและปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูของสถาบันผลิตและพัฒนาครู และ 3) พัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของบัณฑิตครูรัก(ษ์)ถิ่นไปปฏิบัติงานหลังจบการศึกษา

“โรงเรียนตามแนวชายแดน โรงเรียนบนพื้นที่เกาะ หุบเขา หรือพื้นที่เสี่ยงภัยราว 1,000-1,500 แห่ง เป็นโรงเรียนพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติงานของครูรุ่นใหม่จากโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ที่จะรับการบรรจุหลังสำเร็จการศึกษา ดังนั้น การเตรียมความพร้อมของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลดังกล่าวจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก โดยต้องพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบตามบริบทอย่างต่อเนื่อง”


You must be logged in to post a comment Login

Казино левлучший портал для азартных игроков
Игровые автоматызахватывающая игра начинается сейчас
azino777испытай удачу прямо здесь
1win казинооткрой для себя мир азартных игр
Вулкан платинумавтоматы с высокой отдачей ждут тебя
Казино левгде выигрыши становятся реальностью
Игровые автоматыразвлекайся и выигрывай каждый день
азино три топоранаслаждайся адреналином от побед
Казино 1winкаждая игра — шаг к успеху
Вулкан россиятвой шанс на большой выигрыш
Казино левоснова азартного мастерства
Игровые автоматытоповые игры для каждого
Azino777только для настоящих ценителей риска
1win казинокайф от игры начинается здесь
Вулкан 24где каждый день приносит победы
Казино левновые высоты азартных эмоций
Игровые автоматыгде выигрыши реальны
азино три топорасамые горячие игры ждут
Казино 1winвыигрывайте с комфортом
Казино вулкан россияисследуй мир азартных автоматов
Казино левтвой источник азарта и выигрышей
Игровые автоматыискусство выигрыша ждет тебя
azino777почувствуй азарт и драйв
1win казиноидеальный выбор для азартных игр
Вулкан платинумиграй и побеждай с удовольствием
Казино левнаслаждайся азартом без границ
Игровые автоматылучшие призы ждут тебя
азино три топоратвоя игра начинается здесь
Казино 1winновые уровни азарта и удачи
Вулкан россияначни путь к победе прямо сейчас
Coco chat - Rejoignez nouvelles discussions enrichissantes sur Bed and Bamboo
Chatrandom - Discover exciting chats with new people on Bed and Bamboo
Chatrandom - Entdecke spannenUnterhaltungauf Bed and Bamboo
Chatrandom - Ontdek boeienchats op Bed and Bamboo
Coco chat - Partagez des moments uniques sur Hoodrich France
Chatrandom - Connect and chat on Hoodrich France
Chatrandom - Chatte mit der Hoodrich France Community
Chatrandom - Geniet van chats in Hoodrich France gemeenschap
Coco chat - Connectez-vous pour des échanges passionnants sur I’m Famous 51
Chatrandom - Meet and chat on I’m Famous 51
Chatrandom - Führe spannenGespräche auf I’m Famous 51
Chatrandom - Beleef gesprekkop I’m Famous 51
Coco chat - Discutez avec la communauté Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Explore vibrant conversations at Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Tritt spannendChats bei Quincaillerie Outillage Thollot bei
Chatrandom - Ga mee in boeiengesprekkbij Quincaillerie Outillage Thollot
Coco chat - Rejoignez TurboSystem pour discuter
Chatrandom - Engage in exciting chats at TurboSystem
Chatrandom - Genieße spannenChats bei TurboSystem
Chatrandom - Beleef chatplezier bij TurboSystem