วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567

มหาวิทยาลัยเกริก ร่วมก่อตั้ง สมาพันธ์สถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติ (สถาบันทางวิชาการ) และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

On June 1, 2022

มหาวิทยาลัยเกริก ร่วมจับมือ สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ จัดตั้ง สมาพันธ์สถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติ (สถาบันทางวิชาการ) และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ โดยเมื่อ วันที่ 27 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมาได้ทำการประกาศจัดตั้งสมาพันธ์สถาบันฯดังกล่าวผ่านระบบออนไลน์ (วิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์) ซึ่งมีสมาพันธ์เพื่อการพัฒนาการศึกษาระหว่างประเทศของจีน – อาเซียน” (China-ASEAN International Education Development Alliance) เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดในการจัดตั้งพร้อมทั้งให้การสนับสนุนสถาบันฯดังกล่าว ในครั้งนี้   โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพทางวิชาการและวิทยาศาสตร์ให้กับคณาจารย์และนักศึกษาในสถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติและประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังมีการดำเนินการพัฒนาคุณภาพทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ปัจจุบัน สถาบันดังกล่าวมี สำนักงานใหญ่อยู่ที่มหาวิทยาลัยเกริก ( Krirk University ) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ซึ่งมี ดร.เกริก มังคละพฤกษ์ เป็นผู้ก่อตั้ง โดยเปิดดำเนินการเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2495 มีรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นในด้าน ศิลปะ  สาธารณสุขศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และทางวิชาการอื่นๆ เป็นต้น จนถึงปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาต่างๆไปแล้วหลายหมื่นคน และ มีหลายคนที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานที่ดี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ อาทิ อาจารย์ผู้สอนที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน นักเศรษฐศาสตร์ นักวิชาการด้านสาธารณสุข นักการเมือง ศิลปิน/ดารานักแสดง และบุคคลสำคัญอีกมากมาย

ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาได้ปลูกฝังและพัฒนาคนไทยให้เกิดความเชี่ยวชาญทางด้านการสื่อสารภาษาจีนจำนวนหลายหมื่นคน ซึ่งมีส่วนช่วยในการส่งเสริมมิตรภาพระหว่างไทย-จีน  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และ เพื่อการยืนหยัดในยุคปัจจุบันที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทาง มหาวิทยาลัยเกริก ได้มีการปรับรูปแบบวิธีการจัดการการเรียนการสอน โดยเลือกวิธีการ และ เวลา สอนที่เหมาะสมที่สุด เพื่อประสิทธิภาพในการเรียนการสอน อีกทั้งปรับแนวทางการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ/การฝึกงานของนักศึกษาและบุคลากรให้มีความเหมาะสม รวมถึงเพิ่มมาตรฐานในการกำกับดูแลในด้านการเรียนการสอน เสริมสร้างมาตรฐานการเรียนการสอนและงานวิจัยทางวิชาการ เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพทางการศึกษาโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ ผู้ศึกษาจะได้รับ จนได้รับการประเมินคุณภาพการสอนที่ดีจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แห่งประเทศไทย (รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.krirk.ac.th/international-confederation-of-institutions-2022/)

ล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้ มหาวิทยาลัยเกริก เป็น 1 ใน สถาบันการศึกษา 83 แห่งจากทั่วโลก ที่ได้รับการจัดอันดับ Qs world university rankings หรือ การจัดอันดับสถาบันการศึกษาทั่วโลก  โดยได้รับคะแนนการประเมินในระดับ5 ดาว และการประเมินคุณภาพการสอนระดับ 5 ดาวของ QS  ( QS Stars Ratings) ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมและให้การสนับสนุนในการจัดตั้ง สมาพันธ์สถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติ (สถาบันทางวิชาการ) และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ นั้นมาจากประเทศไทย ประเทศรัสเซีย ประเทศจีน ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์  รวมถึงสถาบันการศึกษาที่มีการสอนที่ครอบคลุมทุกด้าน(Comprehensive University)  สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนเฉพาะด้าน และสถาบันวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  กลุ่มผู้มีความรู้และมีเป้าหมายพัฒนา (นักพัฒนา) เป็นต้น โดยลักษณะเด่นของสถาบันการศึกษาเหล่านี้ คือ การให้ความสําคัญกับการเปิดรับความร่วมมือแบบเปิดกว้าง มีผู้นําและทีมผู้บริหาร ทีมนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในระดับนานาชาติ เน้นการสร้างและปลูกฝังความรู้ทางประวัติศาสตร์ ความรับผิดชอบต่อสังคมและมีส่วนช่วยในการพัฒนาอารยธรรมของโลกให้เกิดความก้าวหน้าไปในทิศทางที่ดีขึ้น  มีแนวคิดและมาตรการที่ทันสมัย ประชาชนในพื้นที่เกิดความรู้และเข้าใจในมวลความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างถ่องแท้ ลึกซึ้ง จนสามารถนำเอาความรู้นั้นไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (Scientific Literacy) ในที่ประชุมจัดตั้ง สมาพันธ์สถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติ (สถาบันทางวิชาการ) และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ยังได้ประกาศว่า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center – ADPC)  อดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศแห่งประเทศไทย อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงอื่น ๆ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก ศ.ดร.นพ. กระแส ชนะวงศ์ ให้ดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์สถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติฯคนแรก และผู้ที่ดูแลสถาบันการศึกษาและสถาบันทางวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ให้ดำรงตำแหน่งประธานหมุนเวียน เมื่อสิ้นสุดวาระ และศาสตราจารย์ติง เต๋อ  ประธานคณะกรรมการวิชาการระดับนานาชาติมหาวิทยาลัยเกริก ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและการศึกษาทักษะขบวนการคุณภาพทางวิทยาศาสตร์   เป็นประธานคณะกรรมการวิชาการคนแรก

ดร .จางซู่เว่ย์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการคนแรกของสมาพันธ์สถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติ (สถาบันทางวิชาการ) และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ได้อ่านบันทึกข้อตกลงในการจัดตั้งสมาพันธ์โดยกล่าวว่า “ ข้อเสนอในการจัดตั้งสมาพันธ์สถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติ (สถาบันทางวิชาการ) และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์นั้น ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมการให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แก่สาธารณชน สร้างรูปแบบการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพสูงให้กับประชาชนหรือบุคคลทั่วไปให้สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย ประสานงานและส่งเสริมนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างค่านิยมทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เกิดความมั่นคง ความสามัคคี และเน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ “ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์” อ้างอิงมาจากมุมมองของศาสตราจารย์  Zhang Qizhi นักประวัติศาสตร์และนักปรัชญาด้านความคิดที่มีชื่อเสียงของจีน กล่าวว่า “การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์จะต้องมีความสัมพันธ์และรวมเป็นหนึ่งเดียวกันเท่านั้น ซึ่งได้รับการพิสูจน์จากประวัติศาสตร์       จากการพัฒนาอารยธรรมของมนุษย์ในศตวรรษที่ 20 และยังเสนอว่าสมาชิกของสมาพันธ์สถาบันการศึกษาในระดับนานาชาติฯ ที่ยังอยู่ในช่วงวัยรุ่นควรจะมีความมุ่งมั่นและเติบโตด้วยการใช้ความคิดอย่างมีวิจารณญาณและการนำทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ในอนาคตเกิดการพัฒนาที่กว้างขึ้น และสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ความคิดวิจารณญาณและสามารถนำทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้น และเพื่อให้สามารถนำประโยชน์ที่ได้รับนำมาพัฒนาและสร้างประโยชน์ความก้าวหน้าทางอารยธรรมไห้ดีขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นควรมุ่งมั่นผลักดันให้รัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐของประเทศตัดสินใจ เลือกใช้ความคิดอย่างมีวิจารณญาณและการนำทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์มาเป็นส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตัดสินใจที่สําคัญเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อทําให้เกิดสันติภาพและการพัฒนาของโลกสืบต่อไป


You must be logged in to post a comment Login