วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

เปิดไอเดียสุดเจ๋งของเยาวรุ่น ร่วมแก้ปัญหาข่าวลวง สร้างนวัตกรรมพร้อมข้อเสนอผลักสู่ระดับนโยบาย

On February 11, 2022

สิ้นสุดแล้วโครงการ “FACTkathon” นักศึกษาร่วมระดมสมองส่งผลงานนวัตกรรมเข้าประกวด เพื่อแก้ปัญหาข่าวลวง ข่าวปลอม พร้อมผลักดัน 7 ข้อเสนอให้เกิดเป็นนโยบายแก้ปัญหาเฟคนิวส์เกลื่อนโลกออนไลน์

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับกิจกรรมการแข่งขันระดมสมอง “หักล้างมูลเท็จ แสวงหาความจริงร่วม” “FACTkathon : Fact-Collab to Debunk Dis-infodemic” ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  ร่วมกับสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ)  และเป็นความร่วมมือกับสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ มูลนิธิสภาการหนังสือพิมพ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย (Fnf Thailand) สถาบันเชนจ์ฟิวชั่น ChangeFusion Centre for Humanitarian Dialogue (HD) และ ภาคีโคแฟค (ประเทศไทย)

งานนี้นอกจากจะเป็นการประชันไอเดียของคนรุ่นใหม่ระดับมหาวิทยาลัย ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแก้ปัญหาข่าวลวงที่มากมายในโลกออนไลน์แล้ว ยังมีการระดมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   รวมถึงแนวทางการหา “ความจริงร่วม” ที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ นำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมของผู้ที่มีความเห็นต่างได้อย่างปกติสุข

จากการแข่งขันครั้งนี้ทีมที่ได้รับรางวัลที่ 1 ได้แก่ ทีมบอท  เป็นการผสมผสานทีมจากนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีไอเดียสุดเจ๋ง “Check-on” หรือ “เช็คก่อน” โดยพัฒนาเครื่องมือ Extension เมื่อผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอ่านข่าวในเว็บหรือเห็นภาพต่างๆ  แล้วสงสัยว่าจริงหรือไม่ ให้คลุมดำที่ข้อความ คลิกขวา จะมีปุ่ม Check หน้าต่างของ Check-On ขึ้นมาแล้วประมวลผลความน่าเชื่อถือจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ อาทิ Cofact  ชัวร์ก่อนแชร์ ศูนย์ต่อต้านข่าวลวง เป็นต้น

TU Validator ซึ่งได้รับรางวัลที่ 2  รวมทีมจากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอแพลตฟอร์มเป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามาร่วมค้นหาความจริงด้วยกัน พร้อมรับคะแนนและของรางวัล  เพื่อสร้างชุมชนในสังคมออนไลน์ ให้ผู้ใช้งานได้มีการถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อข้อมูลต่างๆ จัดกิจกรรม Debate ถกประเด็นกัน เชื่อว่าความจริงต้องเกิดขึ้นได้

สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลที่ 3 คือ ทีม New Gen Next FACTkathon  เป็นการรวมตัวของนักศึกษาคณะต่างๆ จากมหาวิทยาลัยพายัพ  ออกแบบการนำข้อมูลข่าวสาร มาถ่ายทอดในรูปแบบของการ์ตูน  ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันด้วยการสร้างการ์ตูนลงแพลตฟอร์มหนังสือการ์ตูนออนไลน์ (Webtoon)  เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและได้สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบข่าวลวงไปด้วย  พร้อมมีลูกเล่นด้วยการให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมไขปริศนา โหวตว่าจริงหรือไม่จริง โดยให้สิ่งตอบแทนเป็นเหรียญ  สำหรับใช้เปิดอ่านตอนต่อไป

นอกจากกิจกรรมการประกวดเสนอแนวคิดนวัตกรรมแล้ว ยังได้จัดการประชุมเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอแนะที่จะแก้ปัญหาข่าวลวงอย่างยั่งยืน ซึ่งเห็นตรงกันว่าต้องผลักดันให้เกิดนโยบายที่แก้ปัญหาข่าวลวงที่เกลื่อนโลกออนไลน์ร่วมกันด้วย ดังนี้

1)  ทวงถามความรับผิดชอบกับผู้ผลิตและส่งต่อข่าวลวง : มีข้อเสนอแนะให้มีวิธีการป้องกันและแก้ไขข้อความผู้ผลิตและผู้ส่งต่อข่าวลวง ที่จะช่วยลดการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นลงได้

2) ให้ความสำคัญกับทักษะ “รู้เท่าทันสื่อ” : การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ไม่ใช่วิชาที่เกิดขึ้นใหม่ในยุคดิจิทัล แต่ถูกพูดถึงเรื่องนี้นับตั้งแต่มีการเกิดขึ้นของสื่อมวลชนยุคอนาล็อก (วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์) เช่น กลยุทธ์หรือเทคนิคที่ใช้ผลิตเนื้อหาผ่านสื่อแต่ละประเภทใช้ส่งสารถึงปัจเจกชนหรือกลุ่มคนซึ่งเป็นผู้รับสาร บทบาทของสื่อต่อการสร้างกระแสค่านิยม หรือวัฒนธรรมต่างๆ ในสังคม เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล การผลิตและส่งต่อข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้นทั้งกว้างขวางและรวดเร็ว การรู้เท่าทันสื่อจึงยิ่งมีความสำคัญเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อข่าวลวงหรือข้อมูลบิดเบือน

ความเข้าใจในแพลตฟอร์มออนไลน์ อาทิ Facebook , Twitter , Instagram , Line ฯลฯ ถูกออกแบบมาให้ทำงานอย่างไร และผู้ผลิตเนื้อหา (Content) ใช้วิธีการอย่างไรในการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้รับสาร ซึ่งจะซับซ้อนกว่าสื่อดั้งเดิม เช่น แพลตฟอร์มบางชนิดสามารถใช้วิธีการบางอย่างเพื่อให้สาร (ข้อความ ภาพ คลิปวีดีโอ คลิปเสียง) ถูกมองเห็นอย่างกว้างขวางและในความถี่ต่อเนื่อง หรือมีสถิติการส่งต่อจำนวนมาก ผู้ที่ไม่รู้เท่าทันวิธีการเหล่านี้อาจเชื่อไปก่อนแล้วว่าเป็นเรื่องจริงโดยไม่ได้ตรวจสอบ

3) ลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล : แม้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่จะถูกมองว่าเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Native) จึงใช้งานได้คล่องกว่าคนวัยอื่นๆ ที่อาจจะเพิ่งรู้จักเทคโนโลยีดิจิทัลในวัยกลางคนหรือวัยเกษียณ แต่ในความเป็นจริงก็ยังพบช่องว่าง กล่าวคือ เด็กและเยาวชนในครัวเรือนที่ไม่มีทุนทรัพย์จัดหาเครื่องมือเชื่อมต่อ (Device) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน และเข้าไม่ถึงโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ด้านดิจิทัล อาทิ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่สัญญาณมีความเสถียร ย่อมมีข้อจำกัดในการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลเมื่อเทียบกับเด็กและเยาวชนในครัวเรือนที่มีความพร้อม

4) สนับสนุนบทบาทขององค์กรที่ทำงานต่อต้านข่าวลวงที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถนำข้อมูลไปถึงผู้คนได้ง่าย : ปัจจุบันมีความพยายามจากหลายฝ่ายในการต่อสู้กับปัญหาข่าวลวง ทั้งภาครัฐที่มีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ภาคสื่อมวลชนที่มีศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ของ อสมท. และภาควิชาการ-ประชาชน ที่รวมตัวกันในนามโคแฟค ซึ่งนอกจากจะสนับสนุนให้องค์กรเหล่านี้ทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วแล้ว ควรพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลที่เมื่อผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตไปพบข้อมูลบางอย่างแล้วสงสัย สามารถส่งไปประมวลผลกับระบบขององค์กรข้างต้นได้ทันทีว่าเคยมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วหรือไม่  เนื่องจากพบว่าข่าวลวงหลายข่าวมักมีลักษณะ “แชร์วนซ้ำ” บางเรื่องพิสูจน์กันไปแล้วหลายปีว่าไม่จริงแต่ก็ยังมีการส่งต่อวนกลับมาอีก

5) ขยายแนวร่วมตรวจสอบข่าวลวงสู่ระดับท้องถิ่น : ในความเป็นจริงที่การสื่อสารรวดเร็ว ข้อมูลถูกผลิตและส่งต่ออย่างมหาศาล ข่าวลวงหรือข้อมูลบิดเบือนจึงมีความหลากหลายซึ่งบางเรื่องอาจจะไม่ได้เป็นกระแสมากพอที่องค์กรจากส่วนกลางจะมองเห็นและเข้าไปตรวจสอบ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างแนวร่วมในระดับชุมชน ซึ่งอาจเป็นสื่อมวลชนท้องถิ่น หรือแกนนำชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ฯลฯ) โดยให้ผู้ที่สนใจประเด็นข่วงลวงมาฝึกฝนทักษะการตรวจสอบ รวมถึงพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะว่าจะส่งเสริมเรื่องนี้ในระดับท้องถิ่นของตนเองอย่างไร เพราะแต่ละพื้นที่นั้นมีบริบททางสังคมไม่เหมือนกัน

6) สร้างวัฒนธรรม “ตั้งคำถาม” และ “ยอมรับความเปลี่ยนแปลง” : ได้รับข้อมูลอะไรมาอย่าเพิ่งเชื่อในทันที แต่ต้องสงสัยไว้ก่อน ซึ่งจะนำไปสู่การสืบค้นข้อเท็จจริง อีกทั้งเข้าใจว่าข้อมูลต่างๆ เปลี่ยนแปลงได้หากมีข้อเท็จจริงใหม่เกิดขึ้น การเปลี่ยนความคิดตามข้อเท็จจริงจึงไม่ใช่เรื่องผิดหรือน่าละอาย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะที่ผ่านมาสังคมไทยเป็นสังคมที่คุ้นชินกับการเชื่อตามๆ กันมา ไม่ว่าเชื่อในวัยวุฒิที่อาวุโสกว่า หรือคุณวุฒิมีการศึกษาสูงกว่า ตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่า ดังนั้นต้องเริ่มจากระบบการศึกษาที่นักเรียนต้องสามารถตั้งคำถามกับตำราหรือสิ่งที่ครูบาอาจารย์สอนได้ แต่ประเด็นนี้ก็มีความท้าทายที่ต้องไปเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน รวมถึงการฝึกอบรมครูในมหาวิทยาลัยที่เปิดหลักสูตรครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์

7) เปิดพื้นที่ให้ “ผู้เห็นต่าง” ได้พูดคุยกันอย่างเต็มที่เพื่อสร้างความเข้าใจและหาจุดร่วมของแต่ละฝ่าย : เนื่องจากเรื่องราวหนึ่งนั้นมีหลายมุม และแต่ละคนมักเลือกรับข้อมูลเพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ตรงกับอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง หรือความเชื่อที่ไม่เปิดรับชุดข้อมูลที่แตกต่าง นานวันเข้าจึงทำให้เกิดความแตกแยกและขัดแย้ง ดังนั้นจะทำอย่างไรที่จะมีพื้นที่ให้ผู้เห็นต่างได้มาพูดคุยกันโดยไม่มีแรงกดดันจากสถานะที่แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นวัย อำนาจ เพศ

แม้ว่าแต่ละฝ่ายจะไม่ได้เห็นด้วยเหมือนกันทุกเรื่อง แต่ “การเปิดใจรับฟังกันและกัน” ย่อมเปิดโอกาสนำไปสู่การแสวงหาและค้นพบแง่มุมที่แต่ละฝ่ายสามารถยอมรับร่วมกันได้ อย่างไรก็ตาม ข้อแสนอนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยเหตุผลเดียวกับเรื่องการสร้างวัฒนธรรมตั้งคำถาม เพราะที่ผ่านมาสังคมไทยคุ้นชินกับการยึดมั่นในวัยวุฒิ หรือคุณวุฒิ ที่มีลำดับชั้นต่ำ-สูง อีกทั้งยังขาดการฝึกฝนทักษะการสื่อสารกับผู้ที่มีความแตกต่างกัน ทั้งในแง่ความคิดเห็นและแง่สถานะต่างๆ ทางกายภาพและทางสังคม ดังนั้นจึงเป็นสิ่งท้าทายที่ต้องฝึกทักษะเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้นในทุกช่วงวัย


You must be logged in to post a comment Login

Казино левлучший портал для азартных игроков
Игровые автоматызахватывающая игра начинается сейчас
azino777испытай удачу прямо здесь
1win казинооткрой для себя мир азартных игр
Вулкан платинумавтоматы с высокой отдачей ждут тебя
Казино левгде выигрыши становятся реальностью
Игровые автоматыразвлекайся и выигрывай каждый день
азино три топоранаслаждайся адреналином от побед
Казино 1winкаждая игра — шаг к успеху
Вулкан россиятвой шанс на большой выигрыш
Казино левоснова азартного мастерства
Игровые автоматытоповые игры для каждого
Azino777только для настоящих ценителей риска
1win казинокайф от игры начинается здесь
Вулкан 24где каждый день приносит победы
Казино левновые высоты азартных эмоций
Игровые автоматыгде выигрыши реальны
азино три топорасамые горячие игры ждут
Казино 1winвыигрывайте с комфортом
Казино вулкан россияисследуй мир азартных автоматов
Казино левтвой источник азарта и выигрышей
Игровые автоматыискусство выигрыша ждет тебя
azino777почувствуй азарт и драйв
1win казиноидеальный выбор для азартных игр
Вулкан платинумиграй и побеждай с удовольствием
Казино левнаслаждайся азартом без границ
Игровые автоматылучшие призы ждут тебя
азино три топоратвоя игра начинается здесь
Казино 1winновые уровни азарта и удачи
Вулкан россияначни путь к победе прямо сейчас
Coco chat - Rejoignez nouvelles discussions enrichissantes sur Bed and Bamboo
Chatrandom - Discover exciting chats with new people on Bed and Bamboo
Chatrandom - Entdecke spannenUnterhaltungauf Bed and Bamboo
Chatrandom - Ontdek boeienchats op Bed and Bamboo
Coco chat - Partagez des moments uniques sur Hoodrich France
Chatrandom - Connect and chat on Hoodrich France
Chatrandom - Chatte mit der Hoodrich France Community
Chatrandom - Geniet van chats in Hoodrich France gemeenschap
Coco chat - Connectez-vous pour des échanges passionnants sur I’m Famous 51
Chatrandom - Meet and chat on I’m Famous 51
Chatrandom - Führe spannenGespräche auf I’m Famous 51
Chatrandom - Beleef gesprekkop I’m Famous 51
Coco chat - Discutez avec la communauté Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Explore vibrant conversations at Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Tritt spannendChats bei Quincaillerie Outillage Thollot bei
Chatrandom - Ga mee in boeiengesprekkbij Quincaillerie Outillage Thollot
Coco chat - Rejoignez TurboSystem pour discuter
Chatrandom - Engage in exciting chats at TurboSystem
Chatrandom - Genieße spannenChats bei TurboSystem
Chatrandom - Beleef chatplezier bij TurboSystem