วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ประเทศล้มเหลว สังคมล้มละลาย

On November 1, 2021

บทความพิเศษ โดยศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข

สังคมไทยในยุคหลังจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว คงไม่แตกต่างจากหลายสังคมในเวทีโลกที่จะเผชิญกับความท้าทายที่มีต่อปัญหาการบริหารภาครัฐและการจัดการทางสังคมชุดใหญ่ ดังนั้น บทความนี้จะทดลองนำเสนอถึงวิกฤตที่จะเกิดกับรัฐและสังคมไทยหลังจากการสิ้นสุดของการระบาด และอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตทับซ้อนซึ่งในอีกด้านหนึ่งปัญหาเหล่านี้ได้กลายเป็นปัญหาความมั่นคงในรูปแบบต่างๆที่ท้าทายต่อการวางนโยบายของรัฐบาลในอนาคตของยุคหลังโควิดเป็นอย่างยิ่ง

วิกฤตโรคระบาด : ความมั่นคงด้านสาธารณสุข

สิ่งที่โลกและสังคมไทยกำลังเผชิญก็คือ ปัญหาวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ การระบาดที่เริ่มขึ้นในจีนตอนปลายปี 2562 และขยายแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในต้นปี 2563 พร้อมกับการกลายพันธุ์ในปี 2564 ภาวะเช่นนี้ได้กลายเป็นวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญของโลก อาจจะไม่แตกต่างจากความรุนแรงของไข้หวัดสเปนในยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่นำไปสู่การสูญเสียชีวิตของคนเป็นจำนวนมาก

การระบาดของโควิด-19 กลายเป็นวิกฤตของหลายประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นในจีนเองที่เป็นต้นทางของการระบาด ในยุโรป เช่น อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมนี รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา (ในยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์) ด้วย

การระบาดของเชื้อไวรัสชุดนี้บ่งบอกถึงปัญหา ความมั่นคงด้านสาธารณสุข (Health Security) อย่างมีนัยสำคัญ และเท่ากับเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าการเตรียมรับมือกับโรคระบาดยังคงเป็นปัญหาสำหรับรัฐสมัยใหม่ในปัจจุบันเสมอ จะเชื่อว่า “ความเป็นสมัยใหม่” ของสังคมที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางแพทย์ เป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์สามารถต่อสู้และเอาชนะการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ทุกชนิด อาจจะไม่เป็นจริงเสมอไป

ดังนั้น ผู้นำไทยอาจจะต้องตระหนักว่าความมั่นคงด้านสุขภาพเป็นประเด็นสำคัญ และต้องการการลงทุนจากภาครัฐอย่างเป็นระบบ จะคิดแต่การลงทุนในภาคส่วนของความมั่นคงทางทหารอาจจะไม่เพียงพอ อีกทั้งผู้นำรัฐบาลต้องคิดถึงมาตรการในการรับมือที่มีประสิทธิภาพควบคู่กับการออกแผนปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อหยุดยั้งการระบาดที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้า และยังต้องคิดถึงการเตรียมรับวิกฤตนี้ในอนาคตหากเกิดการกลายพันธ์ุของเชื้อไวรัสชุดนี้

วิกฤตรัฐบาล : ความมั่นคงทางการเมือง

หลังการระบาดของเชื้อโควิด-19 สิ้นสุดลง รัฐบาลจะเผชิญกับแรงเสียดทานทางการเมืองอย่างมาก ดังจะเห็นได้ว่าขีดความสามารถใน “การบริหารจัดการวิกฤต” (Crisis Management) ของรัฐบาลประสบกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในด้านต่างๆอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจที่เชื่องช้า การออกมาตรการที่ไม่ชัดเจน ปัญหาการควบคุมพื้นที่การแพร่ระบาด การควบคุมบุคคลที่ติดเชื้อ การควบคุมการเข้าออกประเทศของบุคคล ตลอดรวมถึงการขาดแผนสนับสนุนที่จะรองรับการออกมาตรการของรัฐบาล นอกจากนี้ในปี 2563 ปัญหาความขาดแคลนหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ ที่เป็นอุปกรณ์พื้นฐานให้ทั้งกับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนโดยทั่วไปนั้น เป็นภาพสะท้อนถึงประสิทธิภาพที่สำคัญของรัฐบาล

สภาวะเช่นนี้ทำให้ยิ่งนานวันคำถามถึงนโยบายและทิศทางการบริหารภาครัฐที่เกิดขึ้นกลายเป็นข้อพิสูจน์ถึงปัญหาประสิทธิภาพในการทำงานของรัฐบาลอย่างชัดเจน และยังรวมถึงปัญหาความไม่โปร่งใสที่เกิดขึ้นในกระบวนการบริหารภาครัฐ เช่น ความเกี่ยวข้องของฝ่ายการเมืองกับการกักตุนหน้ากากอนามัย จนทำให้แม้บุคลากรทางการแพทย์เองก็ขาดแคลนในสิ่งพื้นฐานเหล่านี้ในปี 2563 หรือปัญหาการบริหารจัดการวัคซีนสำหรับประชาชนในปี 2564 ตลอดรวมถึงปัญหาชุดตรวจโควิด-19 เป็นต้น

ปัญหาเหล่านี้ทำให้สถานะของรัฐบาลเป็นลบอย่างมาก และตามมาด้วยการถูกวิจารณ์อย่างหนักในเวทีสาธารณะ อันทำให้เกิดข้อสรุปประการหนึ่งว่า ในบริบทของ “การบริหารวิกฤต” ที่เป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐบาลนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นกลับเป็น “วิกฤตการบริหาร” แม้รัฐบาลจะมีอำนาจอย่างเต็มจากการประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉินแล้วก็ตาม จนปัญหาเหล่านี้ขยายตัวเป็น “วิกฤตศรัทธา” ในตัวเอง และยิ่งนานวันวิกฤตเช่นนี้ขยับตัวไปสู่ปัญหา “ความมั่นคงทางการเมือง” (Political Security) เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลโดยตรง อันเป็นผลจากการลดลงของความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล โดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่อตัวนายกรัฐมนตรี ดังจะเห็นได้จากคะแนนเสียงสนับสนุนนายกรัฐมนตรีในการสำรวจประชามติไม่ได้สูงขึ้น และลดต่ำลงจากช่วงที่ผ่านมา

ดังนั้น คงประเมินได้ไม่ยากนักว่าหลังจากการระบาดจบลง รัฐบาลจะเผชิญกับปัญหาการเมืองที่เข้มข้นทั้งในสภาและนอกสภา รวมถึงการดำเนินการของรัฐบาลในช่วงวิกฤตจะถูกนำมาเป็นประเด็นในการตรวจสอบมากขึ้นด้วย หรือกล่าวโดยรวมก็คือ หลังจากวิกฤตโควิดจบลง รัฐบาลน่าจะเผชิญกับ “วิกฤตการเมือง” ที่เกิดจากการเรียกร้องในเรื่องทางเศรษฐกิจและสวัสดิการ จนอาจคาดคะเนได้ว่ารัฐบาลในอนาคตจะเผชิญกับความท้าทายจากปัญหา “ความมั่นคงทางการเมือง” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

วิกฤตเศรษฐกิจ : ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

ในระดับมหภาคมีความชัดเจนว่าเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบอย่างมากจากการระบาดของเชื้อโควิด จนเกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย (Global Economic Recession) ดังจะเห็นได้ถึงการชะลอตัวของปัจจัยต่างๆในทางเศรษฐกิจ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ สภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นในขอบเขตทั่วโลก จนอาจกล่าวได้ว่าโลกหลังจากการระบาดครั้งนี้อาจนำไปสู่การจัดโครงสร้างทางเศรษฐกิจของโลกใหม่ และทั้งเศรษฐกิจโลกก่อนการระบาดก็อ่อนลงจากผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนมาแล้ว

สภาวะเช่นนี้มีผลโดยตรงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งในอีกส่วนหนึ่งเศรษฐกิจไทยเองก็ประสบกับปัจจัยลบที่เป็นดัง “แรงกระแทก” ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 ส่วนคือ แรงที่หนึ่ง เป็นผลพวงจากการรัฐประหาร 2557 แรงที่สอง มาจากผลกระทบจากสงครามการค้าและการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่าง 2 รัฐมหาอำนาจใหญ่ แรงที่สาม เป็น “แรงกระแทกใหญ่” อันเป็นผลจากการระบาดของเชื้อโควิดที่ยังไม่ใช่จุดสุดท้ายของการสิ้นสุดของการระบาดที่จะก่อให้เกิดการฟื้นตัวทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมไทย

ผลเช่นนี้ทำให้เห็นแนวโน้มที่ชัดเจนในอนาคตว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะยังอยู่ในภาวะวิกฤต และอาจจะไม่แตกต่างจากแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่สดใส ในอีกด้านของภาวะเศรษฐกิจไทยที่ขึ้นอยู่กับราคาสินค้าเกษตรหลัก 5 ชนิดคือ ข้าว ข้าวโพด ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์ม จะเห็นว่าสินค้าเกษตรทั้ง 5 ชนิด ไม่มีราคาดีอย่างที่เกษตรกรคาดหวัง ซึ่งในอีกด้านก็ส่งผลต่อชีวิตของเกษตรกรโดยตรง ดังตัวอย่างของราคาข้าว ราคายาง และราคาปาล์ม เป็นต้น

สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นเช่นนี้ต้องยอมรับว่ามีความรุนแรงมากกว่าวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็นได้ชัดว่าความรุนแรงของปัญหาเกิดจากการปิดตัวลงของภาคธุรกิจในภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจในระดับกลางและระดับเล็ก (SME) ล้วนต้องแบกรับภาระอย่างหนัก จนอาจทำให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของภาคการผลิตหรือภาคบริการก็ตาม อันทำให้เกิดการตกงานครั้งใหญ่ในสังคมไทย และภาคเกษตรเองก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาความผันผวนของสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ผลเช่นนี้ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยยังคงมีปัญหา ข้อถกเถียงในเชิงเวลาก็คือ เศรษฐกิจไทยจะตกถึงจุดต่ำสุดเมื่อใด เพื่อที่จะเป็นความหวังของการขยับตัวขึ้นในอนาคต

สิ่งที่ต้องตระหนักในอนาคตก็คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอาจจะไม่รวดเร็วอย่างที่หวัง เพราะไม่เพียงจะต้องรอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเท่านั้น หากยังจะต้องอาศัยนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลในอนาคตอีกด้วย หรืออาจกล่าวในมิติความมั่นคงได้ว่า “ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ” (Economic Security) จะเป็นปัญหาสำคัญของรัฐบาลในยุคหลังโควิด และการพาเศรษฐกิจไทยกลับสู่ภาวะปกติให้ได้อย่างรวดเร็วจะเป็นประเด็นการเมืองที่สำคัญเช่นกัน พรรคการเมืองที่สามารถทำให้ความคาดหวังทางเศรษฐกิจของประชาชนเกิดเป็นจริงได้จะเป็นผู้กุมชัยชนะทางการเมือง (อาจไม่แตกต่างจากการเมืองกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤตปี 2540) จนอาจกล่าวได้ว่าการต่อสู้ในการนำเสนอแนวทางการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยจะเป็นประเด็นสำคัญของการแข่งขันทางการเมืองในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และน่าสนใจว่าแนวทางแบบ “ประชานิยมสุดขั้ว” เช่นที่รัฐบาลปัจจุบันดำเนินการอยู่นั้น จะเป็นปัจจัยของชัยชนะทางการเมืองในการแข่งขันได้จริงเพียงใด

วิกฤตสังคม : ความมั่นคงของมนุษย์

ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ถดถอยอย่างมากจะส่งผลให้เกิดการขยายตัวของกลุ่มคนจน หรืออาจกล่าวได้ว่าชีวิตทางสังคมของคนไทย โดยเฉพาะคนชั้นกลางและคนชั้นล่างน่าจะประสบปัญหาความยากลำบากมากขึ้น การพาตัวเองกลับเข้าสู่การจ้างงานครั้งใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติของเศรษฐกิจไทยอาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ซึ่งหากพิจารณาจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 จะเห็นได้ว่าหนึ่งในผลกระทบที่สำคัญก็คือ ปัญหาความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) ดังนั้น ในวิกฤตเศรษฐกิจไทยของยุคโควิด จะพบว่าปัญหาความมั่นคงของมนุษย์น่าจะมีความรุนแรงมากขึ้นกว่าวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 อย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังเห็นสัญญาณความหนักหน่วงของปัญหานี้จากการขยายตัวของหนี้ครัวเรือนในสังคมไทย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับร้อยละ 93 และต้องถือว่าตัวเลขเช่นนี้คือสัญญาณของวิกฤตชีวิตของคนไทยอีกด้วย

วิกฤตเศรษฐกิจในยุคโควิด-19 ที่นำไปสู่การเลิกจ้างงานและการปิดตัวลงของภาคธุรกิจเช่นนี้ ทำให้ประเด็นความมั่นคงของมนุษย์มีความสำคัญอย่างมาก และภาครัฐจะต้องใส่ใจมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นจะทำให้เรื่องการจัดสวัสดิการทางสังคมได้รับความสนใจในเชิงนโยบายมากขึ้นด้วย หรืออาจคาดการณ์ในอนาคตได้ว่า ข้อเรียกร้องเรื่อง “รัฐสวัสดิการ” (Welfare State) จะเป็นประเด็นสำคัญ เพราะชีวิตของผู้คนจำนวนมากในสังคมต้องเผชิญกับความยากลำบาก อันทำให้การสร้างระบบสวัสดิการแห่งรัฐเป็นหัวข้อสำคัญเชิงนโยบาย แทนที่จะพึ่งพาอยู่กับนโยบายประชานิยมแบบ “แจกเงิน” เป็นหลัก

ผู้นำทางการเมืองจะต้องตระหนักเสมอว่า รัฐสมัยใหม่มีความรับผิดชอบในการแบกรับภาระของประชาชนในสถานการณ์ที่เป็นวิกฤต ฉะนั้นผลจากวิกฤตโรคระบาดที่ขยายไปสู่การเป็นวิกฤตความมั่นคงของมนุษย์นั้น ภาครัฐจะต้องมีมาตรการความช่วยเหลือที่ชัดเจน และหากปราศจากนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาลแล้ว ประเด็นนี้อาจกลายเป็น “วิกฤตการเมือง” จนอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลด้วย อีกทั้งผลของการแก้ปัญหาความมั่นคงของมนุษย์จะเป็นโอกาสของการสร้าง “ความมั่นคงทางสังคม” (Societal Security) ของไทยในอนาคตอีกด้วย กล่าวคือ การสร้างความมั่นคงของมนุษย์จะมีผลโดยตรงต่อการทำให้ความมั่นคงทางสังคมของไทยมีความเข้มแข็ง

วิกฤตศรัทธากองทัพ : ความมั่นคงของสถาบันทหาร

วันนี้ผู้นำทหารอาจจะต้องตระหนักว่า ในขณะที่รัฐบาลกำลังเผชิญกับวิกฤตศรัทธาจากสังคม กองทัพก็กำลังเผชิญกับวิกฤตเช่นนั้นไม่แตกต่างกัน ในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ความรู้สึกของประชาชนในหลายส่วนไม่ได้มองกองทัพด้วยสายตาที่เป็นบวกแต่อย่างใด ประกอบกับผู้นำกองทัพในช่วงที่ผ่านมามีภาพลักษณ์เชิงลบมากขึ้น แม้จะยังมีสื่อที่ใกล้ชิดกับผู้นำทหารและบรรดาปีกขวาจัดที่ยังคอยทำหน้าที่เป็น “กองเชียร์” อยู่บ้าง แต่เสียงเชียร์เช่นนี้ไม่ได้มีพลังเช่นในช่วงของการรัฐประหาร ผู้นำกองทัพอาจต้องยอมรับความจริงว่าภาพลักษณ์ของสถาบันกองทัพตกต่ำลงมาก และการคิดแก้ปัญหาในแบบของงาน “PR” หรือความพยายามในการใช้ “ปฏิบัติการจิตวิทยา” (ปจว.) เป็นเครื่องมืออาจจะไม่ช่วยแก้ปัญหาความตกต่ำของทหารได้จริง

นอกจากนี้ตัวอย่างเช่นผลจากการกราดยิงที่โคราชไม่อาจถือเป็นปัญหาส่วนบุคคล แต่กลับบ่งบอกถึงประเด็น “ลัทธิพาณิชย์นิยมในกองทัพ” (Military Commercialism) หรือการทำธุรกิจของนายทหารในกองทัพ ซึ่งอาจรวมถึงการใช้อำนาจทางทหารเข้าไปมีบทบาทในรัฐวิสาหกิจ และประเด็นสำคัญอีกส่วนเป็นเรื่องของ “ธุรกิจอาวุธ” ที่เอื้อประโยชน์โดยตรงให้กับผู้นำทหาร และนำไปสู่ “ความอื้อฉาวด้านอาวุธ” (Arms Scandal) จนกองทัพกลายเป็นสถาบันที่สังคมไม่ให้ความเชื่อถือ โดยเฉพาะสังคมมองว่าการจัดหายุทโธปกรณ์เป็นเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์ของนายทหารระดับสูงและกลุ่มผู้เกี่ยวข้องมากกว่าจะตอบสนองความต้องการทางยุทธศาสตร์ของประเทศ การจัดซื้อเรือดำน้ำและรถถังเป็นตัวอย่างที่ดีในกรณีนี้

ในสภาวะที่ประเทศเผชิญกับโรคระบาดจนส่งผลให้ประเทศต้องประสบกับวิกฤตด้านงบประมาณนั้น การปรับลดเงินที่ใช้ในการซื้ออาวุธกลับไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง ผู้นำทหารอาจจะทำปฏิบัติการจิตวิทยาเพื่อเป็นเครื่องมือในการตอบโต้เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม เช่น การประกาศไม่รับเงินประจำตำแหน่งวุฒิสมาชิก การใส่ชุดป้องกันอย่างรัดกุมออกมาพ่นยาฆ่าเชื้อโรค หรือการเรียกร้องให้กำลังพลเสียสละในการปฏิบัติหน้าที่ สิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนรายการ “เรียลลิตี้โชว์” ที่จะไม่ทำให้โครงการซื้ออาวุธถูกนำมาทบทวน ดังจะเห็นถึงความพยายามที่จะผลักดันโครงการซื้ออาวุธเข้าสู่การประชุมของคณะรัฐมนตรีในช่วงวิกฤตโควิด ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้กำลังกลายเป็น “ปัญหาความมั่นคงของสถาบันทหาร” เพราะยิ่งสังคมเผชิญหน้ากับการระบาดของโรคมากเท่าใด สังคมก็ยิ่งไม่มีความรู้สึกถึงความจำเป็นของการจัดซื้ออาวุธที่มีมูลค่าสูง ดังจะเห็นถึงการเอาภาพเรือดำน้ำที่กองทัพเรือไทยจัดซื้อจากจีนมาทำเป็นเรื่องตลกขบขัน สภาวะดังกล่าวกลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสถานะของสถาบันทหารในสังคมเป็นอย่างยิ่ง

วิกฤตภัยแล้งวิกฤตอาหาร : ความมั่นคงด้านอาหาร

วิกฤตคู่ขนานกับการระบาดของเชื้อโรคในครั้งนี้คือ ความแห้งแล้งและภาวะน้ำท่วม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะความผันผวนของอากาศที่เกิดขึ้นในชนบทของไทย หากความผันผวนของอากาศรุนแรงและขยายตัวไปมากขึ้นแล้ว ชนบทอาจจะไม่ใช่พื้นที่ทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะรองรับการตกงานของคนเช่นในปี 2540 ได้แต่อย่างใด วิกฤตโควิดที่กำลังพาคนตกงานจากเมืองกลับสู่ชนบทเพียงเพื่อพบว่าชนบทเองก็กำลังเผชิญกับวิกฤตครั้งใหญ่ อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ และอาจจะทำให้ภาคเกษตรมีปัญหา ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผลิตผลทางการเกษตรของประเทศ และอาจก่อให้เกิดปัญหา “ความมั่นคงด้านอาหาร” ได้ในอนาคต

ตัวแบบของผลดังกล่าวที่เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโรคระบาดกับปริมาณอาหารในสังคมไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในหลายสังคม กล่าวคือ การระบาดนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อขีดความสามารถในการผลิตอาหารของสังคม จนทำให้หลายฝ่ายเกิดความกังวลว่าการระบาดของโควิด-19 จะนำไปสู่ความขาดแคลนอาหาร อีกนัยหนึ่งคือการเกิดของ “ปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร” (Food Security) อันเป็นผลจากโควิด-19 และปัญหาเช่นนี้อาจขยายตัวเป็น “วิกฤตด้านอาหาร” (Food Crisis) ได้ด้วย

วิกฤตไฟ-ฝุ่น-ควัน : ความมั่นคงด้านอากาศ

วิกฤตอีกชุดที่สังคมไทยเผชิญเป็นประเด็นสำคัญคู่ขนานกับการระบาดของโควิด-19 คือ “ปัญหาความมั่นคงด้านอากาศ” (Climate Security) ตัวอย่างในสังคมไทยเช่น ความรุนแรงของไฟป่าและความรุนแรงของฝุ่นพิษที่กำลังเกิดขึ้นในภาคเหนือ ปัญหานี้กำลังชี้ให้เห็นถึงภาวะ “วิกฤตซ้อนวิกฤต” ไม่ต่างจากกรณีภัยแล้ง และเป็นเรื่องที่ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐเช่นกัน

นอกจากนี้ปัญหาในส่วนของฝุ่นพิษ (PM2.5) กำลังกลายเป็นปัญหาถาวรที่สังคมต้องเผชิญในทุกช่วงต้นปี โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ประเด็นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัญหา “ความมั่นคงกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ” (Climate Change and Security) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และในไทยเองด้วย ผู้นำการเมืองไทยในอนาคตคงต้องตระหนักถึงปัญหาความมั่นคงใหม่ที่ไม่ใช่ภัยคุกคามแบบเดิม แต่เป็นภัยคุกคามที่เป็นเรื่องของสภาวะอากาศ ซึ่งประเด็นเช่นนี้กำลังส่งผลกับพื้นที่ต่างๆของโลก และอาจจะกระทบอย่างมากกับสังคมเกษตรที่สภาวะการเปลี่ยนแปลงของอากาศมีผลโดยตรงต่อผลผลิต อีกทั้งยังต้องเผชิญกับการระบาดของเชื้อโควิด-19 อีกด้วย กล่าวคือ การทับซ้อนระหว่างวิกฤตโรคระบาดกับวิกฤตอากาศจะยิ่งมีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในสังคม

วิกฤตการบริหารจัดการ : ความมั่นคงแห่งชาติ

จากวิกฤตโควิดที่นำไปสู่วิกฤตอื่นๆนั้น สุดท้ายแล้วเรื่องทั้งหมดสะท้อนถึงปัญหาที่สำคัญที่สุดก็คือ “วิกฤตการบริหารจัดการ” ของรัฐบาล จนอาจกล่าวได้ว่าการจัดการกับวิกฤตของรัฐบาลได้กลายเป็นวิกฤตในตัวเอง และส่งผลต่อ “ความมั่นคงของรัฐบาล” (Regime Security) เงื่อนไขเช่นนี้จึงเป็นคำตอบในตัวเองว่า ความอยู่รอดของรัฐบาลจะถูกชี้ขาดจากขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาวิกฤตที่สังคมต้องเผชิญ

ดังนั้น ประเด็นที่มีนัยสำคัญกับอนาคตคือ หากรัฐบาลไทยก้าวข้ามวิกฤตการบริหารจัดการไม่ได้แล้ว วิกฤตที่กล่าวมาทั้งหมดอาจจะแก้ไขได้ยาก และการฟื้นตัวของประเทศในอนาคตก็จะใช้เวลามากขึ้น อันจะส่งผลโดยตรงต่อสถานะของประเทศ อาจกล่าวได้ว่าประสิทธิภาพของรัฐบาลเป็นองค์ประกอบสำคัญของการสร้าง “ความมั่นคงแห่งชาติ” (National Security) ฉะนั้นจึงอาจกล่าวเป็นข้อสรุปได้เสมอว่า รัฐบาลที่ไร้ประสิทธิภาพย่อมไม่มีความสามารถในการสร้างความมั่นคงแห่งชาติ

อนาคตแห่งความท้าทาย!

ถ้าประเทศไทยไม่สามารถพลิกฟื้นตัวเองจากวิกฤตโควิด-19 ที่พาเอาวิกฤตอื่นๆตามมาสมทบด้วยจนเกิดเป็น “อภิมหาวิกฤตไทย” ด้วยแล้ว ภูมิทัศน์ทางการเมืองของไทยอาจเป็นเพียงประเทศที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังในเวทีสากลในฐานะของ “ประเทศล้มเหลว-สังคมล้มละลาย” จนอาจทำให้ชีวิตของผู้คนต้องตกอยู่ในภาวะที่เป็น “ทุพภิกขภัย” และดำรงอยู่ด้วยความยากลำบาก ภาวะเช่นนี้อาจนำมาซึ่งปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองในอนาคต

ภูมิทัศน์ของประเทศไทยในยุคหลังโควิด-19 จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคำถามที่สำคัญในอนาคตคือ ประเทศจะก้าวออกจากวิกฤตโรคระบาด ตลอดรวมทั้งวิกฤตอื่นๆที่เกิดขึ้นคู่ขนานดังที่กล่าวในข้างต้น ได้จริงเมื่อใด!


You must be logged in to post a comment Login

Казино левлучший портал для азартных игроков
Игровые автоматызахватывающая игра начинается сейчас
azino777испытай удачу прямо здесь
1win казинооткрой для себя мир азартных игр
Вулкан платинумавтоматы с высокой отдачей ждут тебя
Казино левгде выигрыши становятся реальностью
Игровые автоматыразвлекайся и выигрывай каждый день
азино три топоранаслаждайся адреналином от побед
Казино 1winкаждая игра — шаг к успеху
Вулкан россиятвой шанс на большой выигрыш
Казино левоснова азартного мастерства
Игровые автоматытоповые игры для каждого
Azino777только для настоящих ценителей риска
1win казинокайф от игры начинается здесь
Вулкан 24где каждый день приносит победы
Казино левновые высоты азартных эмоций
Игровые автоматыгде выигрыши реальны
азино три топорасамые горячие игры ждут
Казино 1winвыигрывайте с комфортом
Казино вулкан россияисследуй мир азартных автоматов
Казино левтвой источник азарта и выигрышей
Игровые автоматыискусство выигрыша ждет тебя
azino777почувствуй азарт и драйв
1win казиноидеальный выбор для азартных игр
Вулкан платинумиграй и побеждай с удовольствием
Казино левнаслаждайся азартом без границ
Игровые автоматылучшие призы ждут тебя
азино три топоратвоя игра начинается здесь
Казино 1winновые уровни азарта и удачи
Вулкан россияначни путь к победе прямо сейчас
Coco chat - Rejoignez nouvelles discussions enrichissantes sur Bed and Bamboo
Chatrandom - Discover exciting chats with new people on Bed and Bamboo
Chatrandom - Entdecke spannenUnterhaltungauf Bed and Bamboo
Chatrandom - Ontdek boeienchats op Bed and Bamboo
Coco chat - Partagez des moments uniques sur Hoodrich France
Chatrandom - Connect and chat on Hoodrich France
Chatrandom - Chatte mit der Hoodrich France Community
Chatrandom - Geniet van chats in Hoodrich France gemeenschap
Coco chat - Connectez-vous pour des échanges passionnants sur I’m Famous 51
Chatrandom - Meet and chat on I’m Famous 51
Chatrandom - Führe spannenGespräche auf I’m Famous 51
Chatrandom - Beleef gesprekkop I’m Famous 51
Coco chat - Discutez avec la communauté Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Explore vibrant conversations at Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Tritt spannendChats bei Quincaillerie Outillage Thollot bei
Chatrandom - Ga mee in boeiengesprekkbij Quincaillerie Outillage Thollot
Coco chat - Rejoignez TurboSystem pour discuter
Chatrandom - Engage in exciting chats at TurboSystem
Chatrandom - Genieße spannenChats bei TurboSystem
Chatrandom - Beleef chatplezier bij TurboSystem