วันพฤหัสที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ชีวิตคู่พัง แต่ชีวิตลูกต้องไม่พัง

On April 2, 2021

คอลัมน์ : เปิดโลกสุขภาพ

ผู้เขียน : ”  พ.ต.อ.หญิง พญ.อัญชุลี เพ็ชรรัตน์

จิตแพทย์ทั่วไป และจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ศูนย์อายุรกรรม รพ.พญาไท นวมินทร์

(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 2-9 เม.ย. 64 )

ในสถานการณ์ Covid 19 ระบาดรอบ 2 นำพามาสู่ความเครียดในหลายรอบครัว “ชีวิตคู่พัง แต่ชีวิตลูกต้องไม่พัง”  พ.ต.อ.หญิง พญ.อัญชุลี เพ็ชรรัตน์ (หมอแอร์) จิตแพทย์ทั่วไป และจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ศูนย์อายุรกรรม รพ.พญาไท นวมินทร์ กล่าวว่า

1. ในปัจจุบัน อัตราการหย่าร้างของพ่อแม่มากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อเด็กไหม

จากสถิติ ตอนนี้การแต่งงาน 3 คู่ หย่าร้าง 2 คู่ 70% ถามว่าส่งผลกระทบไหม ส่งผลกระทบต่อเด็กมาก ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก หรือเด็กโต เพราะการหย่าร้างจะมีความเครียด ตั้งแต่ก่อนหย่า พ่อแม่ก็เริ่มทะเลาะกัน อาจก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง จนหย่าร้างกัน หลังหย่าอีกอย่านำมาสู่การแยกย้าย พ่อแม่ไม่อยู่บ้านเดียวกัน หรือ ลูกอาจจะต้องไปอยู่บ้านญาติพี่น้อง เด็กจะเกิดความเครียด จนอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้า เด็กบางคนถึงขั้นป่วย เช่น ปวดท้อง ปวดหัว เพื่อให้พ่อแม่หยุดทะเลาะกันแล้วหันมาดูแลเขา

2. การที่เด็กต้องเติบในสถานการณ์ พ่อ หรือ แม่เลี้ยงเดี่ยว เราควรให้การดูแลเด็กเป็นพิเศษอย่างไร

หลังจากพ่อแม่แยกทางกัน “ชีวิตคู่พัง แต่ชีวิตลูกต้องไม่พัง” ความเป็นสามี ภรรยามันเลิกกันได้ แต่ความเป็นพ่อแม่ มันเลิกไม่ได้ พ่อแม่ต้องดูแลชีวิตให้เติบโตไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะฉนั้นพ่อแม่ที่แยกทางกัน ต้องทำใจตั้งสติ และตั้งหลักให้ตัวเอง ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสถานะใหม่ ถ้าผู้ใหญ่เครียดเราจะดูแลเด็กบนความเครียด เด็กก็จะรับรู้ได้ เมื่อเลิกกันแล้วพ่อแม่ต้องตกลงกัน จะดูแลลูกอย่างไร แสดงออกอย่างไรให้ลูกรับรู้ได้ว่า ถึงพ้อแม่จะเลิกกันแต่ พ่อแม่ยังรักเขา ให้ความความอบอุ่นแกเขาาเหมือนเดิม พ่อแม่มีวันทิดทิ้งเขา และให้ความสำคัญต่อเขาเสมอ

3. ถ้าเด็กต้องพบเจอกับปัญหาทางโลกโซเชียล เช่นกันโดน ต่อว่า ถล่ม (ทัวร์ลง) หรือโดนบูลลี่ พ่อแม่ควรมีการเตรียมรับมือและแก้ไขปัญหานี้อย่างไร

ก่อนอื่นเลย พ่อแม่ต้องมีสติ และเข้าใจว่า โลกโซเชียลมีเดีย สำหรับเด็กกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว แต่มีเด็กส่วนชีวิตขึ้นอยู่กับโซเชียลมีเดีย มีเด็กกลุ่มนึง ที่มาหาหมอ ชีวิตอยู่บน ยอดLike ยอดLikeน้อยก็จะเศร้า พ่อแม่ควรอยู่เคียงข้างและเข้าใจเขา วิธีที่ดีที่สุด คือควรให้ลูกหยุดเล่นชั่วคราว อย่าเพิ่งไปดูและตอบโต้ และให้กำลังใจ บอกว่า “คนอื่นจะคิดอะไรก็ช่าง แต่สำหรับพ่อแม่หนูคือลูกที่ดีของพ่อแม่เสมอ” อยู่เคียงข้าง ให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่เป็นฝ่ายเดียวกับเขา อยู่เคียงข้างเขา และเราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน แต่ถ้าลูกเครียดมาก แนะนำให้พามา พบจิตแพทย์และวัยรุ่น


You must be logged in to post a comment Login