- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 3 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 3 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 3 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 3 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 3 months ago
“อังคาร อุปนันท์” ทายาทวงการงานศิลปหัตถกรรม นำเครื่องประดับ “ยัดลาย” เทคนิคเชิงช่างชั้นสูง อวดสายตาคนเมืองในงาน SACICT Craft Fair 2019

“เทคนิคเครื่องประดับยัดลาย ทำได้ทั้งเงิน และทอง เป็นงานศิลปหัตถกรรมดั้งเดิมของล้านนา ที่มีประวัติยาวนานกว่า 50 ปี เป็นเทคนิคที่ต้องอาศัยความใจเย็น และมีความประณีต เป็นมรดกทางภูมิปัญญา และทักษะเชิงช่าง ซึ่งได้รับการสืบทอดมาจากคุณพ่อ ส่วนตัวมองว่า เป็นงานที่มีมนต์เสน่ห์ ดูอ่อนช้อย ช่างหัตถกรรมทำด้วยใจ เพื่อส่งต่องานศิลปหัตถกรรมที่ล้ำค่าแก่ผู้ซื้อ”(อังคาร อุปนันท์ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมปี 2558)
เครื่องประดับ “ยัดลาย” เป็นงานหัตถกรรมที่เลื่องชื่อของเครื่องเงินบ้านกาด จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งต้องใช้วัตถุดิบเงิน หรือ ทอง ที่มีค่าความบริสุทธิ์สูง 99% ไม่ใช้เงินที่มีส่วนผสมของแร่ชนิดอื่น อาทิ ทองแดง หรือทองเหลือง เพราะจะทำให้มีความเปราะ หักง่าย จนการดัดขึ้นรูปทำได้ยาก โดยกรรมวิธีในการผลิตเริ่มต้นจากการนำเงินมาหลอมเทเป็นแท่ง แล้วจึงนำมารีดจนแบนและดึงเป็นเส้นขนาดต่างๆ สำหรับใช้ทำเครื่องประดับประเภทต่างๆ ทั้งต่างหู สร้อย เข็มกลัด ฯลฯ
เสน่ห์ของเครื่องประดับยัดลาย ที่สืบทอดโดย อังคาร อุปนันท์ คือ ความประณีต และลวดลายที่สะท้อนประเพณี วัฒนธรรมของล้านนา ที่สร้างสรรค์เป็นลวดลายบนเครื่องประดับชิ้นต่าง ๆ เช่น ลายดอกกาสะลอง ตุง โคมล้านนา หรือเป็นคอลเล็คชั่นตามเทศกาลต่าง ๆ เป็นต้น ปัจจุบัน มีผู้ที่ยังคงสืบสานงานหัตถกรรมเครื่องประดับยัดลายจำนวนน้อยราย และเป็นเครื่องประดับที่หาชมได้ยาก ซึ่งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ได้นำศิลปหัตถกรรมยัดลายมาให้เป็นที่รู้จัก และยังได้เชิดชูให้ “อังคาร อุปนันท์ เป็นทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2558”นอกจากนี้ ยังได้จัดแสดงและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์แห่งวิถีชีวิตชาวล้านนา ภายในงาน SACICT Craft Fair 2019 และงานต่าง ๆ ของ SACICT ซึ่งสามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่ได้ชื่นชมผลงาน และยังเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานงานศิลปหัตถกรรมไทยให้คงอยู่ต่อไป
You must be logged in to post a comment Login