วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

สงครามการค้าซ้ำเติมการค้าโลกและส่งออกไทย

On May 17, 2019

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2019 รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐจากเดิมที่อัตรา 10% เพิ่มขึ้นเป็น 25% สืบเนื่องมาจากการเจรจาข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร และเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม จีนประกาศตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าสหรัฐฯ มูลค่าราว 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในอัตรา 5-25% เช่นกัน

* สงครามการค้าที่กลับมาปะทุมีแนวโน้มส่งผลลบต่อภาคการส่งออกไทยผ่าน 2 ช่องทาง คือ ทางตรงผ่านห่วงโซ่อุปทานการค้าไทยจีนและทางอ้อมผ่านภาวะการค้าโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวจากเศรษฐกิจจีนและคู่ค้า หากสหรัฐฯ และจีนยังไม่มีความคืบหน้าในข้อตกลงการค้าในระยะเวลาอันใกล้จะส่งผลให้แนวโน้มมูลค่าส่งออกไทยในรูปดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 มีโอกาสสูงที่จะเติบโตต่ำกว่าที่อีไอซีประเมินไว้ที่ 2.7% สำหรับผู้ประกอบการไทยควรเร่งกระจายตลาดส่งออก และพิจารณาใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าของไทยในปัจจุบันเพื่อเพิ่มโอกาสการขยายตลาด รวมถึงป้องกันความผันผวนของค่าเงินในระยะต่อไป

รัฐบาลสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐจากเดิมที่อัตรา 10% ตั้งแต่เดือนกันยายน 2018[1] เพิ่มขึ้นเป็น 25% เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2019 หลังจากประธานาธิบดีทรัมป์โพสต์ข้อความขู่ขึ้นภาษีนำเข้าในวันที่ 5 พฤษภาคม 2019 สืบเนื่องมาจากการเจรจาข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และจีนไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร หลังจากที่สหรัฐฯ ได้เลื่อนการขึ้นภาษีอย่างไม่มีกำหนดจากกำหนดการเดิมในวันที่ 2 มีนาคม 2019 ทำให้ต่อมาทางการจีนประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐจากเดิมที่อัตรา 5-10% เพิ่มเป็น 5-25% โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ เพื่อตอบโต้มาตรการทางภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งค่อนข้างสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดการเงินโลกถึงการปะทุขึ้นอีกครั้งของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ซึ่งก่อนหน้าเพียงไม่กี่สัปดาห์มีแนวโน้มที่ทั้งสองฝ่ายกำลังจะได้ข้อตกลงทางการค้า

การเจรจาข้อตกลงมีความล่าช้าและสหรัฐฯ ให้เหตุผลว่าจีนกลับลำข้อตกลงในหลายประเด็นทำให้ประธานาธิบดีทรัมป์ตัดสินใจขึ้นภาษีนำเข้าเพื่อกดดันจีน สาเหตุที่สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีในรอบนี้มี 3 ประการหลัก ได้แก่ 1) สหรัฐฯ กล่าวว่าจีนกลับลำแก้ไขข้อตกลงในร่างข้อเสนอที่มีจะผลผูกพันตามกฎหมายในประเด็นสำคัญที่สหรัฐฯ และจีนเจรจาลุล่วงแล้วในการประชุมครั้งก่อนหน้าใน 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การบังคับถ่ายโอนเทคโนโลยี การอุดหนุนบริษัทและรัฐวิสาหกิจ การเปิดตลาดภาคบริการและการแทรกแซงค่าเงิน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเจรจา โดยจีนอ้างเหตุผลความยากลำบากในการแก้ข้อกฎหมายภายในของจีน 2) การเจรจาข้อตกลงระหว่างจีนและสหรัฐฯ ในขณะนี้ไม่ได้มีเส้นตายในการปฏิรูปที่ชัดเจน รวมถึงการแก้ไขกฎหมายจีนให้สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ เป็นไปอย่างล่าช้าและเต็มไปด้วยข้อจำกัดจากฝั่งจีนในมุมมองของทางการสหรัฐฯ ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์ไม่สามารถยอมรับได้ และ 3) ภาษีสินค้านำเข้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐที่อัตรา 10% เดิมตั้งอยู่บนเงื่อนไขว่าจีนต้องทำตามข้อเรียกร้องการปฏิรูปของสหรัฐฯ อย่างเคร่งครัด ซึ่งหากทางการสหรัฐฯ พิจารณาแล้วว่าจีนไม่สามารถทำตามข้อเรียกร้องได้ สหรัฐฯ มีสิทธิเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนเพิ่มขึ้นเป็น 25% ได้ภายใต้มาตรา 301 ของกฎหมายการค้าสหรัฐฯ ตามกำหนดการเดิม จากเหตุผลข้างต้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประธานาธิบดีทรัมป์ตัดสินใจขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนอย่างกะทันหันและมองว่าการขึ้นภาษีครั้งนี้ใช้เพื่อเป็นกลยุทธ์บังคับให้จีนบรรลุข้อตกลงตามที่สหรัฐฯ เรียกร้องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

ขณะเดียวกัน จีนให้เหตุผลว่าสหรัฐฯ ควรสร้างหลักประกันให้จีนเชื่อมั่นก่อนที่จะให้จีนทำตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ โดยทางการจีนให้เหตุผลว่าข้อตกลงการค้ายังไม่สามารถได้ข้อสรุปเนื่องจาก 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) สหรัฐฯ ไม่มีหลักประกันที่ทำให้จีนเชื่อมั่นได้ว่าภาษีทั้งหมดหรือบางส่วนจะถูกยกเลิกในอนาคต ซึ่งจีนมองว่าสหรัฐฯ ยังไม่มีแนวโน้มผ่อนคลายมาตรการกีดกันทางการค้าที่ชัดเจนกับจีนก่อนที่จีนจะทำตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ และ 2) จีนเรียกร้องข้อตกลงที่ยุติธรรมและคำนึงถึงเกียรติภูมิของทั้งสองชาติ โดยเรียกร้องให้สหรัฐฯ ตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างภายในจีนไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่ายและต้องใช้เวลาพอสมควร อย่างไรก็ตามการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ สะท้อนว่าสหรัฐฯ จะไม่ยอมอ่อนข้อให้กับจีนและไม่รีบร้อนที่จะจบการเจรจาข้อตกลง โดยยังมีโอกาสกดดันจีนต่อไป หลังจากที่ในภาพรวมตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไตรมาสแรกออกมาดีกว่าที่คาดการณ์

นัยต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ-จีนและเศรษฐกิจโลก

สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนเป็น 25% ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อทั้งกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีนมากขึ้นโดยเฉพาะภาคการผลิตเพื่อการส่งออกของจีนในสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี สินค้าจีนจำนวนกว่า 5,745 รายการที่ถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้ารอบนี้มีหมวดสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่ เช่น อุปกรณ์โทรคมนาคม แผงวงจรไฟฟ้า ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และยังมีหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญหลายรายการ เช่น เฟอร์นิเจอร์ ของเล่นเด็ก กระเป๋าเดินทาง เป็นต้น ซึ่งในระยะสั้นภาษีนำเข้าจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตจีนและผู้นำเข้าของสหรัฐฯ โดยผู้นำเข้าของสหรัฐฯ ต้องซื้อสินค้านำเข้าในราคาที่สูงขึ้นและยังไม่สามารถหาตลาดอื่นทดแทนได้ทั้งหมดในระยะเวลาอันสั้นและอาจผลักภาระให้กับผู้บริโภคสหรัฐฯ บางส่วน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อ การบริโภคและการลงทุนของสหรัฐฯ ขณะที่ ผู้ผลิตจีนจะเริ่มได้รับผลกระทบผ่านการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ จากผลของราคา แต่ในระยะยาวหากสหรัฐฯ สามารถนำเข้าสินค้าจากตลาดอื่นทดแทนสินค้าจีนได้มากขึ้น ผลกระทบจะส่งผ่านสู่ผู้ผลิตจีนที่อาจเสียเปรียบการแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ และส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้น้อยลงต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ภาคการส่งออกจีนได้รับผลกระทบต่อเนื่องทั้งในปีนี้และอนาคต นอกจากนี้ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ขู่ว่าสหรัฐฯ ยังสามารถเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนในอัตรา 25% จากสินค้านำเข้าจากจีนส่วนที่เหลืออีกราว 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐได้ในระยะต่อไป

จับตาแนวโน้มการเจรจาและโอกาสที่สหรัฐฯ จะขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าจีนที่อัตรา 25% ในส่วนที่เหลือ
อีกราว 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ทางสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ระบุว่า รายการสินค้าจีนที่ถูกเรียกเก็บภาษีในรอบหน้าครอบคลุมจำนวนสินค้าถึง 3,805 รายการ ซึ่งรวมถึง โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ดี

อีไอซีมองว่าโอกาสการขึ้นภาษีในรายการสินค้าจีนในส่วนที่เหลือ สหรัฐฯ ต้องพิจารณาใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่
1. รายการสินค้าที่เหลือมีสัดส่วนสินค้าผู้บริโภคและสินค้าทุนมากกว่ารอบก่อนหน้า โดยการขึ้นภาษีรอบถัดไปจะมีสัดส่วนสินค้าผู้บริโภคและสินค้าทุนถึง 34% และ 48% ตามลำดับ (รูปที่ 2) จากมูลค่าสินค้าที่จะถูกเก็บภาษีทั้งหมด 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเทียบกับรอบก่อนหน้าที่มีสัดส่วนสินค้าขั้นกลางเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากสหรัฐฯ ตัดสินใจขึ้นภาษีในรอบใหม่ ผู้บริโภคสหรัฐฯ ย่อมได้รับผลกระทบจากราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้นและผู้ผลิตอาจต้องแบกรับต้นทุนสินค้านำเข้าที่สูงขึ้น จากการประมาณการของ Federal Reserve Bank of San Francisco ได้ประเมินการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อต่อการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนในกรณีที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจีนทั้งหมดในอัตรา 25% จะส่งผลต่อดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้นราว 0.4 percentage points และดัชนีราคาการลงทุนทางธุรกิจของภาคเอกชนที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย เพิ่มขึ้นราว 1.4 percentage points (รูปที่ 3) อย่างไรก็ดีอีไอซีคาดว่า ผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้ออาจจะยังไม่มีนัยต่อการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ทันที เนื่องจาก Fed ต้องประเมินสถานการณ์จากข้อมูลเศรษฐกิจก่อนที่จะตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมถึงพิจารณาผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในสหรัฐฯ ที่อาจชะลอลงในระยะข้างหน้าหากสหรัฐฯ ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจีนทั้งหมด

2. การขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนที่เหลือทั้งหมดมีกระบวนการอย่างต่ำ 2-3 เดือนกว่าจะมีผลบังคับใช้ซึ่งอาจมีเสียงคัดค้านระหว่างทาง เนื่องจาก USTR ต้องทำประชาพิจารณ์ (public hearing) ในวันที่ 17 มิถุนายนนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและประชาชนที่จะได้รับผลกระทบก่อนการประกาศใช้ ซึ่งอาจมีเสียงคัดค้านจากภาคเอกชนและมีนัยต่อคะแนนเสียงในช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะเกิดขึ้นในปี 2020 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาว่าจะมีการตอบโต้จากทางการจีนจนทำให้ผู้บริโภคและธุรกิจในสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบ ด้วยสาเหตุข้างต้น อีไอซีจึงมองว่าโอกาสของการเก็บภาษีนำเข้ามูลค่า

3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐยังเป็นไปได้ต่ำ แต่หากสหรัฐฯ พิจารณาแล้วว่าการเจรจาไม่เกิดผลและทางการจีนมีทีท่าไม่ยินยอมต่อข้อเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างจากสหรัฐฯ โอกาสของการที่จีนจะถูกเก็บภาษีทั้งหมดราว 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้โดยขึ้นอยู่กับผลของการเจรจาและต่อรองกันระหว่างสองฝ่ายในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า ซึ่งหากสหรัฐฯ ตัดสินใจขึ้นภาษีในสินค้านำเข้าส่วนที่เหลือของจีน อัตราภาษีใหม่จะมีผลบังคับใช้ได้ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2019 เป็นอย่างเร็ว

จีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ในอัตรา 5-25% ส่วนใหญ่เป็นรายการสินค้ามูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเดิมโดยมีผลตั้งวันที่ 1 มิถุนายน จับตาจุดยืนของจีนและแนวโน้มการตอบโต้มาตรการกีดกันการค้าในระยะข้างหน้า เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ทางการจีนประกาศรายการสินค้าที่เก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ จำนวน 5,142 รายการ เพื่อตอบโต้มาตรการทางภาษีจากสหรัฐฯ โดยแบ่งอัตราภาษีเป็น 4 ขั้น คือ 5% 10% 20% และ 25% ส่วนใหญ่เป็นรายการสินค้าที่เคยถูกเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 5-10% ในสินค้ามูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อครั้งที่จีนตอบโต้การเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ในเดือนกันยายน 2018 แต่มีสินค้าบางรายการถูกตัดออกจากรายการสินค้าเมื่อเดือนกันยายน 2018 ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ (มูลค่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายนนี้ ในระยะต่อไปหากการเจรจาไม่ประสบผลและสหรัฐฯ เดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนทั้งหมดซึ่งเป็นกรณีร้ายแรงที่สุด จีนไม่อาจตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ในจำนวนมากได้อีกต่อไปเพราะจีนนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ในปี 2018 แค่ราว 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีสินค้าที่ยังไม่ได้ขึ้นภาษีอีกเพียง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น อีไอซีมองว่า ทางเลือกต่อไปของจีนต่อจากนี้จึงเป็นมาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (non-tariff barriers) 3 ทางเลือกในการตอบโต้ ได้แก่

1) ยื่นเรื่องฟ้องต่อองค์การการค้าโลก (WTO) เพิ่มเติม ในกรณีที่สหรัฐฯ ตั้งกำแพงภาษีทั้งหมดกับจีน ซึ่งจีนมองว่าสหรัฐฯ อาจเข้าข่ายการละเมิดหลักการพื้นฐานของ WTO ที่ห้ามเลือกปฏิบัติในการตั้งกำแพงภาษีกีดกันสินค้าจีนทั้งหมด แต่ทางเลือกดังกล่าวเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลานานและยืดเยื้อ ที่ผ่านมาจีนเคยยื่นฟ้องข้อพิพาททางการค้าหลายครั้งและครั้งล่าสุด คือ การยื่นฟ้องสหรัฐฯ เรื่องการขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กกล้าและอะลูมิเนียมตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2018 และภาษีสินค้านำเข้าจีนที่สหรัฐฯ เรียกเก็บตามมาตรา 301 ของกฎหมายการค้าสหรัฐฯ ซึ่งจีนมองว่าไม่เป็นธรรมตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2018 ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงระหว่างการดำเนินการ

2) ชะลอการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หรือขายพันธบัตรที่ถืออยู่ เป็นมาตรการตอบโต้ทางอ้อมที่อาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้น ปัจจุบันจีนเป็นผู้ที่ถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อันดับหนึ่งโดยมีมูลค่าสูงราว 1.13 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2018) หากจีนขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ออกมาจำนวนมากจะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของสหรัฐฯ สูงขึ้น แต่จีนเองก็จะได้รับผลกระทบด้วยผ่านความผันผวนของราคาสินทรัพย์และค่าเงินในตลาดการเงินโลกจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดในการตอบโต้สำหรับจีน

3) การจำกัดขอบเขตรวมถึงสร้างความยากลำบากต่อธุรกิจสหรัฐฯ ที่ดำเนินธุรกิจในจีน รวมถึงลดจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่จะเดินทางเข้าสหรัฐฯ บริษัทและธุรกิจสหรัฐฯ ในหลายอุตสาหกรรมที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในจีนอาจตกอยู่ในภาวะลำบาก หากสถานการณ์สงครามการค้าตึงเครียดและเลวร้ายลงถึงขั้นที่จีนเริ่มใช้มาตรการกำจัดสิทธิ์ รวมไปถึงการรณรงค์ต่อต้านการเดินทางเข้าสหรัฐฯ จากทางการจีน นักท่องเที่ยวจีนซึ่งมียอดค่าใช้จ่ายเบ็ดเสร็จในการท่องเที่ยวรวมมูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี จะสร้างผลกระทบต่อธุรกิจในสหรัฐฯ ได้ ดังที่เคยเกิดเหตุการณ์คล้ายกันกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้มาแล้วในอดีต ซึ่งหากจีนเลือกใช้มาตรการตอบโต้ที่ไม่ใช่ภาษีกับสหรัฐฯ เช่นนี้อาจยิ่งสร้างความร้าวฉานระหว่าง 2 ประเทศเพิ่มขึ้น

อีไอซีมองว่า โอกาสที่จีนจะเลือกใช้มาตรการกีดกันสุดโต่งดังกล่าวมีความเป็นไปได้ต่ำ และทั้งสองประเทศยังมีแนวโน้มการเจรจาเพื่อหาข้อตกลงทางการค้าร่วมกันต่อเนื่องถึงช่วงปลายปี 2019 เนื่องจากหากยังคงขึ้นภาษีเพื่อตอบโต้กันย่อมส่งผลลบต่อทุกฝ่าย และทั้งคู่เริ่มเผชิญผลกระทบจากการใช้มาตรการกีดกันทางภาษีและสงครามการค้าที่ดำเนินมาเริ่มส่งผลเสียต่อภาวะเศรษฐกิจและการลงทุน โดยเฉพาะจีนที่กำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ในขณะที่สหรัฐฯ ก่อนเข้าสู่ช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2020 ประธานาธิบดีทรัมป์น่าจะมีแนวโน้มลดความรุนแรงของสงครามการค้าเพื่อไม่ให้ผลกระทบของมาตรการทางภาษีลุกลามและเป็นภาระตกสู่ผู้ผลิตผู้บริโภคและเกษตรกรที่เป็นประชากรฐานเสียงของพรรครีพับรีกัน

บรรยากาศความไม่แน่นอนของภาวะการค้าการลงทุนเริ่มสูงขึ้น ทำให้ตลาดการเงินโลกตอบสนองในเชิงลบโดยเฉพาะตลาดจีน ตั้งแต่ที่ประธานาธิบดีทรัมป์โพสต์ข้อความขู่ขึ้นภาษีนำเข้าในวันที่ 5 พฤษภาคม ตลาดการเงินเกิดความผันผวนและกลับมาอยู่ในภาวะตลาดปิดรับความเสี่ยง (risk-off sentiment) จากความกังวลของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน โดยข้อมูล ณ วันที่ 14 พฤษภาคม ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (S&P 500) ปรับลดลงราว 2.8% และดัชนีตลาดหลักทรัพย์จีน (CSI 300) ลดลงราว 6.42% ขณะที่ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) อ่อนค่า 0.05% และค่าเงินหยวนเทียบดอลลาร์สหรัฐ (USDCNY) อ่อนค่า 2.06% (รูปที่ 4) รวมถึงตลาดการเงินโลกในภาพรวมตอบสนองและยังมีปฏิกิริยาเชิงลบต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น หุ้นบริษัทสหรัฐฯ ที่มียอดขายในจีนสูงและหุ้นบริษัทจีนที่มียอดขายในสหรัฐฯ สูง เป็นต้น หากสงครามการค้ายังมีแนวโน้มบานปลายอาจส่งผลให้ภาวะการเงินตึงตัวขึ้นเกินคาดจากการปรับฐานและการลดลงของราคาหลักทรัพย์ อย่างไรก็ดี เงินบาทไทยถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ปลอดภัย (safe haven) สำหรับภูมิภาคเอเชียของนักลงทุนคล้ายกับเงินเยนญี่ปุ่น เนื่องจากฐานะทางการเงินไทยยังแข็งแกร่ง ทำให้เงินบาทตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคมถึง 14 พฤษภาคมแข็งค่าขึ้น 1.23% อีไอซียังคงประเมินค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ในระยะกลางจนถึงช่วงสิ้นปีจะอยู่ในช่วง 31-32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากแนวโน้มการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่ยังคงสูงในปี 2019 ที่ราว 6% ต่อ GDP อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยที่ต่ำประมาณ 0.9% และเสถียรภาพเศรษฐกิจด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่ง แม้จะมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้าเข้ามากระทบในบางช่วงก็ตาม

นัยต่อเศรษฐกิจไทย
สงครามการค้าที่กลับมาปะทุส่งผลลบต่อภาคการส่งออกไทยทางตรงผ่านห่วงโซ่อุปทานการค้าไทยจีนและทางอ้อมผ่านภาวะการค้าโลกที่ชะลอตัวหากเศรษฐกิจจีนและคู่ค้าชะลอลงมากกว่าที่คาด ซึ่งภาคการส่งออกไทยจะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าผ่าน 2 ช่องทางนี้ ได้แก่

1) ผลกระทบโดยตรงจากการเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานกับจีนในการผลิตสินค้าจีนเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ โดยหมวดสินค้าที่มีห่วงโซ่อุปทานกับจีนสูง ได้แก่ คอมพิวเตอร์-อุปกรณ์และส่วนประกอบ, แผงวงจรไฟฟ้า, ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ และเคมีภัณฑ์ ซึ่งตั้งแต่เริ่มต้นมาตรการกีดกันทางการค้าในเดือนสิงหาคม 2018 จนถึงเดือนมีนาคม 2019 การส่งออกไทยไปจีนในหมวดดังกล่าวหดตัว 23.6% 30.6% 36.1% และ 75.9% ตามลำดับ และหากสงครามการค้ายืดเยื้อต่อเนื่องก็อาจจะไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวจากหมวดสินค้าดังกล่าว และหากพิจารณารายการสินค้าจีนมูลค่ากว่า 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐที่ถูกขึ้นภาษีนำเข้าเป็น 25% กลุ่มสินค้าที่ไทยมีโอกาสได้รับผลกระทบสูงอยู่ในสินค้าขั้นต้นและขั้นกลาง ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก ยางพารา และไม้ ซึ่งเบื้องต้นจากการประเมินมูลค่าการส่งออกในปี 2018 คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากห่วงโซ่อุปทานกับจีนใน 4 หมวดสินค้าหลักดังกล่าวมีสัดส่วนราว 2.1% ของมูลค่าการส่งออกไทยทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่าผลกระทบราว 633.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

2) ผลกระทบผ่านการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและคู่ค้าจากการชะลอของการบริโภคภายในของประเทศคู่ค้า เป็นผลให้การชะลอตัวของการส่งออกไทยมีทิศทางกระจายตัวมากขึ้น ทั้งในมิติของรายสินค้าและรายตลาดส่งออก เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย EU15 ASEAN5 ฯลฯ (รูปที่ 6) หากสหรัฐฯ และจีนยังไม่มีความคืบหน้าในข้อตกลงในระยะเวลาอันใกล้และเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปีฟื้นตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ จะส่งผลให้ตัวเลขมูลค่าการเติบโตของการส่งออกไทยในรูปดอลลาร์สหรัฐอาจมีความเสี่ยงต่ำกว่าที่อีไอซีประเมินไว้ที่ 2.7% ในปี 2019 โดยเฉพาะหากข้อตกลงทางการค้าสหรัฐฯ และจีนยังมองไม่เห็นความเป็นไปได้ในการยุติข้อพิพาทในอนาคตและสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนทั้งหมด จึงนับเป็นความเสี่ยงด้านต่ำต่อผู้ประกอบการและผู้ส่งออกไทยที่ต้องพึ่งพาตลาดจีนที่ยังคงต้องเฝ้าติดตามความคืบหน้าการเจรจาสงครามการค้าอย่างใกล้ชิด

อีไอซีมองว่า สงครามการค้าจะส่งผลลบต่อการส่งออกไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ไทยอาจได้รับอานิสงค์จากการส่งออกทดแทนในตลาดจีนและสหรัฐฯ และได้ประโยชน์บางส่วนจากการนำเข้าสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า รวมถึงการย้ายฐานการผลิตบางส่วนของจีนมายังไทย สินค้าบางหมวดอาจได้รับประโยชน์เนื่องจากสหรัฐฯ ต้องหาตลาดนำเข้าทดแทน ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปยังสหรัฐฯ ได้มากขึ้น เนื่องจากสหรัฐฯ ลดการนำเข้าจากจีนแต่ความต้องการบริโภคสินค้ายังมีอยู่ ขณะเดียวกันไทยก็อาจสามารถส่งออกสินค้าบางส่วนไปทดแทนสินค้าสหรัฐฯ ในตลาดจีนได้ ได้แก่ สินค้าเกษตร ผลไม้สด แช่แข็งและแปรรูป อาหารปรุงแต่ง เนื้อไก่ เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งออกทดแทนส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ไทยครองสัดส่วนส่งออกในตลาดปลายทางที่ค่อนข้างสูงจึงมีศักยภาพในการส่งออกสูงเป็นทุนเดิม และเป็นโอกาสให้สินค้าเหล่านี้จะได้รับการพิจารณานำเข้าเพิ่มเติมจากทั้งสหรัฐฯ และจีนในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดีไทยยังคงต้องแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ที่มีส่งออกสินค้าที่ใกล้เคียงกันด้วย เช่น เวียดนามและมาเลเซีย เป็นต้น ทำให้ผลบวกของสงครามการค้าในการส่งออกทดแทนมีจำกัด นอกจากนี้ด้านกลุ่มประเทศ ASEAN อาจได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแผนการลงทุนของจีน เนื่องจากบริษัทจีนมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนแผนการลงทุน โดยอาจขยายกำลังการผลิตไปในประเทศอื่นเพื่อเลี่ยงมาตรการทางภาษี ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่จีนอาจเข้ามาลงทุนเพิ่มเพื่อผลิตสินค้าที่จะส่งออกไปสหรัฐฯ

จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เริ่มเห็นจำนวนเงินการลงทุนจากจีนที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เพิ่มขึ้นในปี 2018 โดยอุตสาหกรรมที่บริษัทจีนยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดอยู่ในหมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง (รูปที่ 7) ซึ่งเป็นหนึ่งในหมวดสินค้าที่จีนได้รับผลกระทบสูงจากภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดีผู้ผลิตจีนมีทางเลือกการย้ายฐานการผลิตไปยังหลายประเทศ ทำให้ไทยต้องแข่งขันเพื่อดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ซึ่งมีความได้เปรียบของข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามทำไว้กับหลายประเทศ โดยเฉพาะความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) และข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA) อีกทั้งเวียดนามมีระยะทางที่ใกล้จีนมากกว่า ค่าแรงขั้นต่ำถูกกว่า และเป็นฐานการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำคัญหลายชนิด เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ทำให้ผลบวกจากการย้ายฐานการผลิตจึงค่อนข้างจำกัดในบางรายการสินค้าที่ไทยได้เปรียบในการผลิต เช่น อุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

จับตาสินค้าราคาถูกจากจีนที่อาจไหลทะลักเข้าไทย เพื่อเลี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้าซึ่งส่งผลต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก เนื่องจากตั้งแต่เดือนมีนาคม 2018 สหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าเหล็กกับเกือบทุกประเทศในอัตรา 25% ตามมาตรา 232 ของกฎหมายการค้าสหรัฐฯ (Trade expansion act of 1962) เพื่อป้องกันและส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กในสหรัฐฯ ซึ่งต่อมาสหรัฐฯ ได้เก็บภาษีนำเข้าเหล็กเพิ่มเติมอีกในอัตรา 10% ช่วงเดือนกันยายนปี 2018 และเพิ่มขึ้นเป็น 25% ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2019 เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งในรายการสินค้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้สินค้าเหล็กของจีนเสียเปรียบการแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ และส่งผลให้การส่งออกเหล็กจีนไปยังสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดลง แม้ว่าทางการจีนจะมีแผนเพิ่มการใช้เหล็กจากการก่อสร้างในการขยายโครงสร้างพื้นฐานภายในและมีแนวโน้มทยอยลดกำลังการผลิตเหล็กลงตามแผนการลดกำลังการผลิตส่วนเกินในอุตสาหกรรมหนัก เช่น เหล็กและถ่านหิน แต่ในระยะสั้นยังคงคาดการณ์ว่ามีผลผลิตส่วนเกินที่จะทำให้ผู้ผลิตเหล็กจีนเปลี่ยนเป้าหมายการส่งออกไปสู่ประเทศที่ไม่มีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping) ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่สินค้าเหล็กจากจีนมีแนวโน้มไหลเข้ามา โดยผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีโอกาสถูกทุ่มตลาดเนื่องจากไทยยังไม่มีมาตรการป้องกัน ได้แก่ เหล็กท่อนและเส้น (HS7215), เหล็กลวด (HS7217), สเตนเลส (HS7301), ท่อสเตนเลส (HS7304) และสปริงเหล็ก (HS7320) เป็นต้น ส่งผลให้ราคาเหล็กภายในประเทศมีแนวโน้มลดลงซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเหล็กโดยเฉพาะผู้ส่งออกและผู้ผลิตบางรายที่ไม่สามารถปรับตัวแข่งกับสินค้านำเข้าเนื่องจากไม่สามารถปรับลดภาระต้นทุนแข่งกับเหล็กนำเข้าจีนในราคาถูกได้ จึงเป็นประเด็นที่ต้องจับตาในระยะต่อไปอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ดี ไทยมีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดในผลิตภัณฑ์เหล็กบางรายการ ได้แก่ ท่อเหล็ก (HS7306) ซึ่งคาดว่าจะช่วยป้องกันการทุ่มตลาดในสินค้าเหล็กดังกล่าวได้

ในระยะต่อไป ผลกระทบต่อภาคการส่งออกจะมีมากขึ้นหากการเจรจาสหรัฐฯ-จีนไม่ประสบผล ผู้ประกอบการไทยควรเร่งกระจายตลาดส่งออก ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าของไทยในปัจจุบันเพื่อขยายตลาด รวมถึงป้องกันความผันผวนของค่าเงิน หากสหรัฐฯ กับจีนยังไม่สามารถหาบทสรุปของข้อตกลงการค้า และสงครามการค้าขยายวงกว้างโดยครอบคลุมสินค้านำเข้าทั้งหมดของทั้งจีนและสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีน ตามการประมาณการของ IMF ผลกระทบของสงครามการค้าจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และจีนในปี 2019 จะมีแนวโน้มชะลอลงราว 0.2% และ 1.16% ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้มูลค่าการส่งออกไทยในรูปดอลลาร์สหรัฐสำหรับปี 2019 มีความเสี่ยงต่ำกว่าที่อีไอซีประเมินไว้ที่ 2.7% ซึ่งยังต้องประเมินสถานการณ์ความคืบหน้าการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีนในระยะต่อไป

สำหรับผู้ประกอบการและผู้ส่งออกไทยควรพิจารณากระจายความเสี่ยงโดยหาตลาดการส่งออกที่ยังมีแนวโน้มเติบโตดี เช่น กลุ่มประเทศ CLMV และอินเดีย และใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการที่ไทยมีกับหลายประเทศที่ปัจจุบันยังมีมูลค่าการค้าขายไม่สูงเท่าที่ควร เช่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี ฯลฯ รวมถึงการวางแผนกลยุทธ์ในการป้องกันความผันผวนของค่าเงิน โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีการรับจ่ายเงินในสกุลเงินหยวน เนื่องจากค่าเงินหยวนต่อดอลลาร์สหรัฐมีความเสี่ยงอ่อนค่าต่อเนื่องหากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนในระยะต่อไป


You must be logged in to post a comment Login

Казино левлучший портал для азартных игроков
Игровые автоматызахватывающая игра начинается сейчас
azino777испытай удачу прямо здесь
1win казинооткрой для себя мир азартных игр
Вулкан платинумавтоматы с высокой отдачей ждут тебя
Казино левгде выигрыши становятся реальностью
Игровые автоматыразвлекайся и выигрывай каждый день
азино три топоранаслаждайся адреналином от побед
Казино 1winкаждая игра — шаг к успеху
Вулкан россиятвой шанс на большой выигрыш
Казино левоснова азартного мастерства
Игровые автоматытоповые игры для каждого
Azino777только для настоящих ценителей риска
1win казинокайф от игры начинается здесь
Вулкан 24где каждый день приносит победы
Казино левновые высоты азартных эмоций
Игровые автоматыгде выигрыши реальны
азино три топорасамые горячие игры ждут
Казино 1winвыигрывайте с комфортом
Казино вулкан россияисследуй мир азартных автоматов
Казино левтвой источник азарта и выигрышей
Игровые автоматыискусство выигрыша ждет тебя
azino777почувствуй азарт и драйв
1win казиноидеальный выбор для азартных игр
Вулкан платинумиграй и побеждай с удовольствием
Казино левнаслаждайся азартом без границ
Игровые автоматылучшие призы ждут тебя
азино три топоратвоя игра начинается здесь
Казино 1winновые уровни азарта и удачи
Вулкан россияначни путь к победе прямо сейчас
Coco chat - Rejoignez nouvelles discussions enrichissantes sur Bed and Bamboo
Chatrandom - Discover exciting chats with new people on Bed and Bamboo
Chatrandom - Entdecke spannenUnterhaltungauf Bed and Bamboo
Chatrandom - Ontdek boeienchats op Bed and Bamboo
Coco chat - Partagez des moments uniques sur Hoodrich France
Chatrandom - Connect and chat on Hoodrich France
Chatrandom - Chatte mit der Hoodrich France Community
Chatrandom - Geniet van chats in Hoodrich France gemeenschap
Coco chat - Connectez-vous pour des échanges passionnants sur I’m Famous 51
Chatrandom - Meet and chat on I’m Famous 51
Chatrandom - Führe spannenGespräche auf I’m Famous 51
Chatrandom - Beleef gesprekkop I’m Famous 51
Coco chat - Discutez avec la communauté Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Explore vibrant conversations at Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Tritt spannendChats bei Quincaillerie Outillage Thollot bei
Chatrandom - Ga mee in boeiengesprekkbij Quincaillerie Outillage Thollot
Coco chat - Rejoignez TurboSystem pour discuter
Chatrandom - Engage in exciting chats at TurboSystem
Chatrandom - Genieße spannenChats bei TurboSystem
Chatrandom - Beleef chatplezier bij TurboSystem