วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

“ธีระชัย”แนะวิธีคำนวณส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ2ขั้นตอน

On April 9, 2019

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ส่วนตัวเรื่อง “จำนวน ส.ส. พึงมีที่ไม่เต็มคน จะมีได้อย่างไร?” โดยระบุว่า

“ผมขอนำภาพข้างล่างของคุณสรุวิชช์ วีรวรรณที่อธิบายมาตรา 91 เกี่ยวกับวิธีคำนวนจำนวน ส.ส. พึงมีได้ชัดเจน

ขณะนี้ มีข้อถกเถียงกันระหว่าง :- แนวคิดที่อ้างว่าเป็นของ กกต. ที่ให้นำคะแนนไปเฉลี่ยให้แก่พรรคจิ๋วแบบกว้างขวาง อันจะทำให้จำนวนพรรคการเมืองเข้าสภามากถึง 26-27 พรรค

โดยจะเป็นพรรค “เรียงเบอร์” ที่มี ส.ส. เพียงคนเดียว ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนพรรคทั้งหมด กับแนวคิดที่ให้นำคะแนนไปเฉลี่ยให้แก่พรรคจิ๋วแบบแคบ อันทำให้มีจำนวนพรรคการเมืองเข้าสภาน้อยลง ซึ่งอาจจะเหลือเพียง 13-14 พรรค นั้น

ผมขอแสดงความเห็นว่า มาตรา 91 ระบุขั้นตอนการคำนวนไว้เป็นขั้นบันได

ขั้นที่หนึ่ง ให้นําคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง หารด้วยห้าร้อยอันเป็นจํานวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร

ขั้นนี้ชัดเจน ปฏิบัติอย่างอื่นไม่ได้

ขั้นที่สอง ให้นําผลลัพธ์ตามขั้นที่หนึ่ง ไปหารจํานวนคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรคการเมืองแต่ละพรรค

ที่ได้รับจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทุกเขต จํานวนที่ได้รับให้ถือเป็นจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้
ณ จุดนี้ จึงมีปัญหาที่ต้องพิจารณาว่า จำนวน ส.ส. พึงมีของพรรคจิ๋วหลายพรรค ที่คำนวนได้ข้างต้น ไม่ถึง 1.0

ถามว่ากรณีพรรคเหล่านี้ ควรจะให้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 1 คน หรือไม่? ซึ่งถ้าตอบว่าใช่ ก็จะเป็นไปตามสูตรที่ได้จำนวนพรรคมาก 26-27 พรรค

แต่ผมเห็นว่า ขั้นที่สอง ที่กำหนดว่า จํานวน ส.ส. ที่ได้รับให้ถือเป็นจํานวน ส.ส. พึงมี นั้น ย่อมจะหมายถึงเฉพาะกรณีที่พรรคนั้นได้รับจำนวน ส.ส. อย่างน้อยเต็ม 1 คน

พูดง่ายๆ ถ้าคำนวณได้เพียง 0.1 หรือ 0.9 ก็เปรียบเสมือนได้รับ ส.ส. เพียงหนึ่งแขน คือ 0.1 หรือยังขาดหัว ยังไม่เต็มตัว คือ 0.9

ดังนั้น จํานวน ส.ส. ที่พรรคนั้นควรได้รับให้เป็น ส.ส. พึงมีนั้น จึงควรจะได้เฉพาะกรณีที่เมื่อคำนวณแล้ว พรรคนั้นได้ตั้งแต่ 1.0 ขึ้นไปเท่านั้น


You must be logged in to post a comment Login