วันพฤหัสที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2567

รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศชื่อรัชศกใหม่ ‘เรวะ’

On April 1, 2019

นายโยชิฮิเดะ สุกะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นแถลงข่าว รัฐบาลญี่ปุ่นมีมติให้ใช้คำว่า ‘เรวะ 令和’ (Rei Wa) เป็นชื่อรัชศกใหม่ที่จะเริ่มขึ้นเมื่อมกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะจะขึ้นครองราชย์ในวันที่ 1 พ.ค. 2562 ที่จะถึงนี้

คำว่า ‘เรวะ’ เป็นวลีที่นำมาจากบทกวีนิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นชื่อว่า ‘มันยุโช’ ซึ่งแตกต่างจากคำว่า ‘เฮเซ’ ซึ่งเป็นชื่อของรัชศกปัจจุบันที่นำมาจากวรรณกรรมของจีน

ตัวอักษรคันจิคำว่า ‘เรวะ’ เร (令 Rei) มีความหมายว่า ความเป็นสิริมงคล หรือสมถะ ขณะที่คำว่า ‘วะ’ ( 和 Wa) หมายถึง ความสุขสงบ หรือความสามัคคีกลมเกลียว

นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวว่า มันยุโชได้สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของฤดูกาลและธรรมชาติ และเขาต้องการส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นให้แก่คนรุ่นต่อไป

“ผมต้องการให้ญี่ปุ่นเบ่งบานเหมือนดอกบ๊วยที่ชูช่ออย่างสวยงามหลังจากที่ผ่านฤดูหนาวที่โหดร้าย เป็นสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ”

นอกจากนี้ นายอาเบะยังกล่าวว่า เขาปรารถนาให้ชื่อรัชศกใหม่นี้ช่วยเติมเต็มความรู้สึกของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ และมีส่วนผลักดันการปฏิรูปประเทศด้วยเช่นกัน

ประเทศญี่ปุ่นยังคงใช้ปฏิทินตามแบบฉบับญี่ปุ่น หรือ เกนโกะ ควบคู่ไปกับการใช้ปฏิทินตามแบบฉบับตะวันตกในเอกสารราชการต่างๆ และก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่นอยู่ในรัชสมัย ‘โชวะ’ มายาวนานกว่า 64 ปี ก่อนจะเปลี่ยนเข้าสู่รัชสมัยเฮเซ (Heisei) ในปี 1989 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระจักรอะกิฮิโตะขึ้นครองราชย์ และรัชศก ‘เฮเซ’ นี้จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เม.ย. 2562 พร้อมกับการสละราชสมบัติของสมเด็จพระจักรพรรดิฯ เพื่อเปิดทางให้มกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะขึ้นครองราชย์ในวันที่ 1 พ.ค.

ชาตินิยม และ ประวัติศาสตร์

ชื่อรัชศกของญี่ปุ่นจะแฝงไปด้วยความหมายที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และสภาพเศรฐษกิจและสังคมของญี่ปุ่นอย่างในรัชศกเฮเช ที่เริ่มตั้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 1989 คำว่า ‘เฮเซ’ มีความหมายสื่อถึงการบรรลุสันติภาพ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นคาดหวังจะให้ตนเองเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจหลักในการเมืองระหว่างประเทศ หลังจากประสบความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจมานานหลายทศวรรษ

อย่างไรก็ตาม ในรัชศกเฮเซ ญี่ปุ่นได้ประสบกับปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการขึ้นมาแข่งขันของจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งส่งผลให้ภาพของญี่ปุ่นในเวทีระหว่างประเทศนั้นชะงักลงไป นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งแผ่นดินไหวที่โกเบครั้งใหญ่ในปี 1995 และสินามิถล่มญี่ปุ่นในปี 2011

จุน อิจิมะ ทนายความวัย 31 ผู้ที่เกิดในช่วงปีสุดท้ายของรัชศก ‘โชวะ’ และเติบโตในรัชสมัย ‘เฮเซ’ กล่าวว่า นี่คือการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ หากนับตามระบบปฏิทินตะวันตกก็อาจจะนับช่วงเวลาดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ในปฏิทินเกนโกะจะให้ความหมายที่เป็นช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์

ทางด้านนักวิชาการด้านญุี่ปุ่นศึกษา เคน รอฟฟ์ นักวิชาการจากมหาวิยาลัยพอร์ตแลนด์กล่าวว่า การประกาศชื่อ ‘เรวะ’ นั้นมีสื่อถึง ความเป็นชาตินิยมแบบอ่อน ซึ่งรอฟฟ์กล่าวว่า “นี่คือหนึ่งในสิ่งที่ย้ำเตือนว่าญี่ปุ่นยังคงมีระบบการนับปฏิทินที่แตกต่างจากประเทศอื่นและญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีระบบสถาบันกษัตริย์”


You must be logged in to post a comment Login