วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567

9 ราชมงคลขานรับ”ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง”

On December 2, 2018

ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน(มทร.อีสาน) ในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) เปิดเผยว่า  ในการประชุมคณะกรรมการอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่10/2561 ล่าสุด ได้มีการหารือแลกเปลี่ยนกับผู้แทนกองทุนเเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เกี่ยวกับโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ถือว่าเป็นทุนที่ตอบโจทย์หลายด้าน    จากข้อมูลพบว่าทุกวันนี้เยาวชนต่ำกว่าปริญญาตรี มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมสูง โดยเฉพาะในเรื่องของการศึกษา เด็กอยากเรียนต่อ แต่ด้วยทุนที่ไม่มี พ่อแม่ประสบปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการส่งเรียน หากไปขอทุนที่ต้องกู้และจ่ายคืนเมื่อจบการศึกษา ตรงนี้เป็นการผูกภาระ และพบเด็กหนีการจ่ายทุนคืนจำนวนมาก เนื่องจากเด็กจบการศึกษามาแล้วทำงานไม่ตรงสายเรียน ได้เงินเดือนไม่ตรงเป้า แต่สำหรับกองทุน กสศ. มีวัตถุประสงค์ชัดเจน ดูแลเด็กตั้งแต่แรกรับทุนแล้วจะมีคนดูแลพร้อมชี้แนะ ที่สำคัญ เด็กที่จะรับทุนต้องตอบโจทย์ 10 อุตสาหกรรมหลักของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น 5 เอสเคิร์ฟ นิวเอสเคิร์ฟใหม่ เมื่อจบแล้วมีงานทำอย่างแน่นอน 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะขณะนี้มีความต้องการเด็กที่จบมามีฝีมือและมีความรู้หลายศาสตร์ กองทุนนี้จึงออกมาถูกกาลเทศะถูกวันเวลาอย่างยิ่ง ถ้าเริ่มต้นแรกของโครงการ 2,500 คนสำเร็จด้วยดี จะสามารถสร้างกำลังของบุคลากรของชาติเพื่อตอบโจทย์ พร้อมต่อยอดและยกระดับต่อไป

“ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง มีความชัดเจนตั้งแต่เด็กเข้าโครงการ จบ ม.3 ต่อ ปวช. ปวช. ระยะเวลา 5 ปี ไม่เหมือนการให้ทุนทั่วๆ ไป เกิดประโยชน์แน่นอน ไม่เกิดช่องโหว่ เป็นเรื่องที่ดีในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้กับประเทศชาติ โดยเบื้องต้นได้รับในหลักการแล้ว ทาง 9 อธิการบดี จะไปดูว่าราชมงคลใดบ้างเปิดสอนต่ำกว่า ป.ตรี เพื่อพิจารณาเข้าร่วมโครงการตามกรอบเงื่อนไขที่ กสศ. ระบุไว้ ถ้าเรามีเด็กมาต่อยอดเพื่อทำให้เกิดบุคลากรของชาติ 4.0 คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ก็อยากให้ทุกมหาวิทยาลัย ทุกสถาบันการศึกษาของประเทศเข้ามาช่วยขับเคลื่อนโครงการนี้กับทาง กสศ.” ผศ.ดร.วิโรจน์ กล่าว

2

นางสาวธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์  รักษาการผอ. สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมนวัตกรรมและทุนการศึกษา กสศ. กล่าวว่า ข้อมูลจากงานวิจัยบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติปี 2559 พบว่า ภาครัฐลงทุนค่าใช้จ่ายระดับมัธยมศึกษา(สายอาชีวะ) อยู่ที่ 5% หรือประมาณ 43,138 ล้านบาท ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อยหากเทียบกับรายจ่ายในระดับการศึกษาอื่นๆ ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงของกสศ. จึงเป็นโครงการที่จะเข้ามาช่วยเสริมกลุ่มเป้าหมายนี้ โดยคิดค้นนวัตกรรมการสนับสนุนทุนที่ไม่ได้ใช้งบประมาณสูงแต่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่คุ้มค่า ทำให้ได้ผลประโยชน์ 3 วินคือ 1. เด็กยากจนด้อยโอกาส มีโอกาสเรียนต่อสูงขึ้น มีศักยภาพและอาชีพต่างๆ สูงขึ้น 2. สถาบันเก่งขึ้น เพราะจะช่วยกันยกระดับการเรียนการสอนสายอาชีพเป็นนวัตกรรมชั้นสูง และตอบโจทย์ตลาดแรงงาน โจทย์ความต้องการของประเทศ  และ3. ประเทศชาติได้ประโยชน์ในแง่ของกำลังคนที่จะมีคนเก่งขึ้น พัฒนาประเทศและตอบโจทย์เรื่องการเปลี่ยนแปลงปัจจุบันที่รัฐบาลต้องการ

“กสศ. ให้ความสำคัญกับสถาบันสายอาชีพ โดย มทร. เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญ ที่จะทำการปฎิรูปในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำในการเพิ่มโอกาสของเด็กเยาวชนที่มาจากยากจนและด้อยโอกาสให้เรียนต่อสูงขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีสัดส่วนที่น้อยมากแค่เพียง 5% และการพัฒนาทุนมนุษย์ร่วมกัน เพื่อให้กำลังคนโดยเฉพาะสายอาชีพมีความเข้มแข็งขึ้น ตอบโจทย์ของรัฐบาลในเรื่องของนโยบายไทยแลนด์ 4.0  การทำงานลักษณะพันธมิตรร่วมกันกับสายอาชีพเช่นนี้”

4

รองศาสตราจารย์ศีลศิริ สง่าจิตร ผู้ปฎิบัติหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา(มทร.ล้านนา) กล่าวว่า มทร.ล้านนา เปิดสอนในระดับ ปวช. ปวส. ครอบคลุม 5 จังหวัดภาคเหนือทั้งตอนล่างและตอนบน มีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 20,000 คน ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาที่อยู่ชายขอบติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีจำนวนมากที่ขาดแคลนโอกาสทุนทรัพย์ทางการศึกษา โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง จะตอบโจทย์นักศึกษากลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสายอาชีพที่ด้อยโอกาสได้เข้ามาในระบบและได้รับโอกาสทางการศึกษามากขึ้น อีกทั้งยังเป็นแรงจูงใจให้กับเด็กรุ่นใหม่ค้นพบตัวเอง ว่าถนัดและมีความสามารถด้านใด ซึ่งตรงนี้จะสอดรับกับการขาดแคลนแรงงานที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่

3

“โครงการนี้ช่วยตอบโจทย์ กระตุ้นให้กับนักศึกษาที่สนใจด้านสายอาชีพให้เข้าถึงการศึกษามากขึ้น และเป็นประโยชน์กับอาจารย์ผู้สอน ที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างวินัยให้กับเด็ก นำไปสู่การสร้างงานสร้างอาชีพที่มั่นคงในอนาคต และฝากถึงนักศึกษาหากค้นพบว่าตัวเองมีความสามารถหรือมีใจรักด้านสายอาชีพ ต้องมุ่งมั่นมุ่งมั่นทำให้จริงจัง เพื่อให้เกิดทักษะในการทำงานในอนาคต ทั้งนี้อยากเชิญชวนสถาบันศึกษาต่างๆ เข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป” รองศาสตราจารย์ศีลศิริ กล่าว

5

สำหรับ “ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง” จะสนับสนุนงบประมาณผ่านสถาบันการศึกษาประกอบด้วย ทุนสำหรับพัฒนาสถาบันการศึกษาที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกตามคุณภาพ ประมาณ 50 แห่ง ซึ่งต้องพัฒนาหลักสูตรที่รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักของประเทศ สายอาชีพที่กำลังขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงานในท้องถิ่นหรือจังหวัด รวมถึงสายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และทุนการศึกษาแก่นักศึกษาจำนวน 2,500 ทุนต่อปีที่ผ่านการคัดเลือกโดยสถาบันการศึกษา  โดยเปิดกว้างให้สถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาสายอาชีพจากทุกสังกัด ทั้งนี้กำหนดรับข้อเสนอโครงการตั้งแต่ วันที่  15 –  28  ธันวาคม 2561   โดยมีการจัดกิจกรรมชี้แจงแนวทาง “โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เพื่อตอบโจทย์แผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0” แก่สถาบันการศึกษาสายอาชีพ ใน 4 ภูมิภาค   ซึ่งสามารถติดตาม ข่าวสารที่ www.EEF.or.th หรือ สายด่วน  โทร 02-079-5475 กด 2 ในวันและเวลาราชการ

6


You must be logged in to post a comment Login