วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567

ไทยศรีวิไลย์”เตรียมบุก ป.ป.ช.เร่งชี้มุลทุจริต GT200 เจ้าหน้าที่รัฐ

On October 27, 2018

“ พร้อมเล็งยื่นตรวจสอบโครงการ DLIT สพฐ.กว่า 7 พันล้านบาท และ สอบ 2 บิ๊ก ศธ พัวพันการปล่อยกู้นอกระบบให้ครู
นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ กล่าวว่า ตนพร้อม นายณัชพล สุพัฒนะ หรือ มาร์ค พิทบูล รองหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ และ คณะฯ ในวันอังคาร ที่ 30 ตุลาคม 2561 เวลา 11.00 น. จะเดินทางไปที่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เพื่อยื่นหนังสือถึง พลตำรวจเอก วัชรพล ประสานราชกิจ ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อเร่งลัดชี้มูลความผิดคดีทุจริต GT200 หลัง กรมราชองครักษ์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด พร้อมกรรมการ และเจ้าหน้าที่ในบริษัทรวม 5 รายเป็นจำเลยที่ 1-5 ในคดีการจัดซื้อเครื่องตรวจจับอาวุธวัตถุระเบิด และสารเสพติดรุ่น GT200 รวม 3 ครั้ง เป็นเงิน 9 ล้านบาท เนื่องจากเครื่อง GT200 ไม่สามารถใช้งานได้ โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภค ได้ตัดสินคดีความแพ่งดังกล่าว ไม่รับคำฎีกา เมื่อ 29 ส.ค.61 ของบริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด เรื่องการขาดอายุความ ถือว่าคดีทางแพ่งถึงที่สุดแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ศาลแพ่ง พิพากษาให้บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด ชำระเงิน 9 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 บาท/ปี นับตั้งแต่วันที่ 26 เม.ย. 2557 ที่ผ่านมา
เมื่อ กลาง กันยายน 2561 ศาลเเขวงดอนเมืองได้อ่านคำพิพากษา คดีที่อัยการคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ฟ้อง กลุ่มจำเลย บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด ซึ่งศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุก 10 ปี นายสุทธิวัฒน์ จากการขายเครื่อง GT 200 รวม 12 สัญญา กระทงละ 3 ปี จำนวน 12 กระทง รวม 36 ปี แต่ตามมาตรา 91 (1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา กำหนดให้จำคุกได้ไม่เกิน 10 ปี และมีโทษปรับ 72,000 บาท รวมมูลค่า 600 ล้านบาท ซึ่งสำนวนนั้น กองทัพบก เป็นผู้เสียหาย โดยจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ ขอสู้คดีในขั้นอุทธรณ์
26 กันยายน 2561 ศาลแขวงดอนเมืองพิพากษาให้ บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด (จำเลยที่ 1) และนายสุทธิวัฒน์ วัฒนกิจ (จำเลยที่ 2) กรรมการ บริษัท เอวิเอ แซทคอม จำกัด มีความผิดฐานฉ้อโกง กรมราชองครักษ์ (ผู้เสียหาย) จึงสั่งปรับจำเลยที่ 1 รวม 18,000 บาท และโทษจำคุก จำเลยที่ 2 รวม 9 ปี จากการทำสัญญาซื้อขายเครื่อง GT 200 รวม 3 สัญญา เป็นจำนวน 8 เครื่อง แต่จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธขอสู้คดีในขั้นอุทธรณ์ จึงยื่นประกันตัวด้วยเงินสด 900,000 บาท
10 ต.ค.2561 ศาลแขวงดอนเมือง ศาลสั่งจำคุกกรรมการ บ.เอวิเอ แซทคอม จำกัด 9 ปี และปรับ บ.เอวิเอ 18,000 บาท พร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหาย 6,800,000 บาท ให้กับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ พร้อมสั่งยกฟ้องพนักงานของบริษัท 2 คน เหตุไม่มีหลักฐานยืนยันว่าสมรู้ร่วมคิด
ทราบว่าช่วง ปลาย กันยายน 2651 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับสำเนาคำพิพากษาจำคุก 7 ปี เจ้าของผลิตภัณฑ์ และ เอกสารประกอบจากศาลประเทศอังกฤษ แล้วนั้น ความเสียหายที่เกิดกับหน่วยงานภาครัฐทั้ง 18 หน่วยงาน วงเงิน จัดซื้อเครื่องตรวจระเบิด GT200 และ Alfa6 แพงเกินจริง แล้วทำงานไม่ได้ผล ซึ่งมีการจัดซื้อหลายครั้งจากหลายหน่วยงาน กว่า 1,137 ล้านบาท
นายมงคลกิตติ์ กล่าวว่า ความเสียหายนี้เอกชนจะมีความผิดแต่ฝ่ายเดียวคงไม่ได้ จะต้องมีเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องร่วมกันรับผิดชอบแตกต่างกัน ทั้งทางอาญา-ทางวินัย(อยู่ในราชการ)-ทางละเมิด กับ เจ้าหน้าที่รัฐ ณ ขณะนั้น ปี 2548-2553อาทิ อดีตเจ้ากระทรวง อดีต ผบ.ทบ.-ผบ.ทอ-ผบ.ทร.-ผบ.ตร. อดีตเจ้ากรม อดีตอธิบดี อดีตผุ้ว่า อดีตผุ้อำนวยการ เจ้าหน้าที่จัดซื้อจัดจ้าง เจ้าหน้าตรวจรับพัสดุ ว่ามีความผิดตาม พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542(ฮั้ว) และต้องรับผิดชอบ พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มากน้อยลดหลั่นกันไป คดีนี้ก็คล้ายกับคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย – คดีทุจริตรถดับเพลิงเรือดับเพลิง กทม.
นายมงคลกิตติ์ กล่าวเสริมว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้รับเรื่องร้องเรียนอยู่ 2 เรื่อง 1.การอาจจะทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT)ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน(สพฐ) กระทรวงศึกษาธิการ งบประมาณ ปี 2560-2562 งบประมาณกว่า 7 พันล้านบาท
2.ร้องเรียนข้าราชการระดับสูง 2 ราย สังกัด กระทรวงศึกษาธิการ อาจจะพัวพันการกระทำความผิดการปล่อยเงินกู้นอกระบบให้กับครูอัตราดอกเบี้ยสูงเกินกว่ากฏหมายกำหนด ซึ่งถ้าเป็นเรื่องจริงก็จะเข้าข่ายผู้มีอิทธิพลซึ่ง คสช กำลังปราบปรามอยู่ในขณะนี้
ข้อสังเกตุ การจัดซื้อจัดจ้างโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) ในแต่ละ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา-มัธยมศึกษา 1.มีผู้ยื่นราคา 3-4 เจ้า ซ่ำๆกัน ซื้อของมาจากแหล่งผู้ผลิตแค่ไม่กี่ราย มีการลดราคาแค่หลักร้อยเป็นไปได้อย่างไร ทั้งที่เป็นระบบ อี-บิดดิ้ง น่าจะต้องตรวจสอบ 2. มีการจัดซื้อรวมกันทั้ง ทีวี และ โน๊ตบุ๊ค เป็นราคารวมไม่สามารถแยกซื้อได้ 3.มีการล๊อคหน้าจอแสดงผลของทีวีในสเป็ค ให้แสดงผลเป็นของ สพฐ.ป้องกันขโมย ผู้รับจ้างรู้ได้ไงว่าจะได้งานเพราะต้องสั่งผลิตล่วงหน้าหลายเดือนเป็นจำนวนมากๆ 4.ราคากลางอาจสูงเกินจริงกว่าราคาท้องตลาด ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เข้ามาแทนที่การดำเนินนโยบายประชานิยมของพรรคเพื่อไทย คือ โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย ที่ใช้งบกว่า 8,000 ล้านบาท ณ ปัจจุบันพังหมดแล้วกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ กว่า 3 ล้านกว่าเครื่อง ฉะนั้นในช่วงสัปดาห์เป็นต้นไปจะดำเนินการยื่นหนังสือต่อ รมว.ศึกษาธิการ และ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 2 เรื่อง ให้ตรวจสอบต่อไปก่อนความเสียหายจะเกิดขึ้น


You must be logged in to post a comment Login