- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
5เดือนต่างชาติขาย1.1แสนล้าน

นายคมศร ประกอบผล หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ เปิดเผยว่า ช่วง 5 เดือนแรกของปี 2561 (ณ วันที่ 24 พฤษภาคม) ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยไปแล้วกว่า 110,000 ล้านบาท นับเป็นการขายมากที่สุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในอดีต เป็นการเทขายอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นหลังการเติบโตของตลาดเกิดใหม่เริ่มมีอุปสรรคจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นท่ามกลางการขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ขณะที่สภาพคล่องโลกมีแนวโน้มลดลงจากการลดขนาดงบดุลของเฟดและการลดนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 50% ส่งผลกดดันกำลังซื้อและทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศตลาดเกิดใหม่ลดลง
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรติดตามการประชุมเฟดวันที่ 13 มิถุนายนนี้อย่างใกล้ชิด หากเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดก็จะจุดชนวนให้นักลงทุนต่างประเทศเทขายหุ้นไทยและหุ้นในประเทศตลาดเกิดใหม่อีกรอบ ซึ่งประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดจะกดดันการลงทุนในตลาดเกิดใหม่รวมถึงไทยไปตลอดปี 2561
นายคมศรกล่าวว่า ขณะนี้นักลงทุนคาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ทั้งหมด 3 ครั้ง ซึ่งได้ปรับขึ้นไปแล้ว 1 ครั้งในเดือนมีนาคม และคาดว่าจะขึ้นอีกครั้งในเดือนมิถุนายน หากทั้งปีเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้ง หรือเร็วกว่าที่คาด จะทำให้นักลงทุนเริ่มเทขายหุ้นในตลาดเกิดใหม่รวมถึงประเทศไทยอีกครั้ง ดังนั้น จึงแนะนำให้นักลงทุนลงทุนด้วยความระมัดระวังในช่วงที่เหลือของปี และควรให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐและญี่ปุ่น มากกว่าตลาดเกิดใหม่ ทั้งให้ถือเงินสดเพิ่มขึ้น เพราะจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2561
นอกจากนี้ยังประเมินว่าความเสี่ยงจะมีมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงไตรมาส 4 มีประเด็นที่ต้องจับตามองอีก 2 ประการ ได้แก่ สภาพคล่องที่ลดลงจากการลดขนาดงบดุลของเฟดและการยุติ QE ของ ECB และความเสี่ยงจากการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งพรรครีพับลิกันมีโอกาสสูญเสียเสียงข้างมากทั้งสภาบนและสภาล่าง ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงอาจเป็นความเสี่ยงให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถูกนำเข้ากระบวนการถอดถอนได้
You must be logged in to post a comment Login