- ระลึกถึงพ่อหลวง ร.9Posted 15 hours ago
- 5 ธ.ค.วัดสวนแก้วแตกแน่Posted 1 day ago
- จะกลับมาแบบไหนPosted 2 days ago
- เลือกงานให้โดน บริหารคนให้เป็น ตาม“ลัคนาราศี”Posted 2 days ago
- ต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์ อยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างPosted 2 days ago
- โลภ•ลวง•หลง เกมพลิกชีวิต รีแบรนด์หรือรีบอร์นPosted 2 days ago
- กูไม่ใช่ไก่ต้มเว้ย! อย่ามาต้มกูเลย..Posted 2 days ago
- หยุดความรุนแรง-ลวงโลกPosted 3 days ago
- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 6 days ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 1 week ago
Asiatic Mode of Production / โดย เรืองยศ จันทรคีรี-ณัฐวุธ วัชรกุลดิลก
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร
ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี-ณัฐวุธ วัชรกุลดิลก
สำหรับผู้ที่ศึกษางานเขียนของคาร์ล มาร์กซ์ เจ้าของผลงาน Das Kapital หรือทุน ไม่ว่าเขาได้ปวารณาตนเองเป็นมาร์กซิสต์ หรือมาร์กเซียนคือเป็นเพียงระดับผู้รู้ลัทธิมาร์กซ์เฉยๆ ยังไม่ได้ลงลึกจนเป็นสาวกลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ตาม หากยังไม่เคยอ่านหรือศึกษาข้อเขียนของมาร์กซ์ในเรื่อง Asiatic Mode of Production ต้องถือว่าไม่ใช่ผู้รู้อย่างถ่องแท้ในวิชาความรู้เกี่ยวกับ Das Kapital และความรู้ของวิชา Marxist
บทความ Asiatic Mode of Production เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “AMP” เป็นเสมือนทฤษฎีสำคัญว่าด้วยการปฏิวัติมวลชนของมาร์กซ์เกี่ยวกับสังคมในทวีปเอเชีย เป็นบทความที่ทรงคุณค่าในการศึกษาลัทธิมาร์กซ์อย่างมาก ในระยะหลังมีชาวลัทธิมาร์กซ์จำนวนมากได้ศึกษาและให้เครดิตบทความนี้ โดยเฉพาะการทำให้เกิดมุมมองการเปลี่ยนผ่านทางสังคมหรือประวัติศาสตร์ที่อาจมีรูปแบบแตกต่างกันระหว่างภูมิภาคที่มีลักษณะเฉพาะตัว
มาร์กซ์ตั้งเป็นข้อสังเกตโดยชี้ให้เห็นความแตกต่างของสังคมตะวันออกกับตะวันตกเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนบน ซึ่งเป็นความแตกต่างเรื่องวัฒนธรรมและจิตสำนึกทางการเมือง
ต่อมาข้อเขียนชิ้นนี้ทำให้เกิดวิวาทะอย่างมากในกลุ่มนักลัทธิมาร์กซ์รุ่นหลังๆ การขาดตกบกพร่องของลัทธิมาร์กซ์ต้องยอมรับความจริงว่า ประสบการณ์และความรู้ของมาร์กซ์คือความรู้และประสบการณ์ล้วนๆของสังคมตะวันตกที่มีหลายเรื่องแตกต่างลิบลับกับสังคมตะวันออกที่ยังมีระบบศักดินาและเป็นสังคม Heirschy หรือสังคมเรียงตามลำดับชั้นที่เข้มข้นรุนแรงมากกว่าสังคมตะวันตกมาก ซึ่งผู้มีประสบการณ์สังคมตะวันตกจะทำความเข้าใจสังคมตะวันออกไม่ง่ายนัก เพราะระบบศักดินาและการเรียงลำดับชนชั้นสังคมตะวันออกแตกต่างอย่างมากกับสังคมศักดินาทางยุโรปหรือตะวันตก
สังคมเรียงตามลำดับชั้นนั้นยังยึดโยงอำนาจความลึกลับและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หากมองเรื่องราวตามทรรศนะของ Arnold Toynbee ที่เห็นว่าเรื่องของ civilization ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเหตุผลทางฟิสิกส์หรือชีววิทยาชั้นสูง แต่เกิดจากมนุษย์คนแรกในสมัยก่อนหน้ายุคบุพกาลเสียอีก จึงมีจิตสามัญเกิดขึ้นในทุกปัจเจกชนที่เรียกว่า commons mind ซึ่งได้รวมกันกลายเป็น social mind หรือจิตสำนึกของสังคมขึ้นมา
การผนวกรวมข้อคิดเรื่อง Asiatic Mode of Production ของมาร์กซ์ มาขยายเรื่องโครงสร้างส่วนบนของ Arnold Toynbee ค้นคว้าประวัติศาสตร์ลึกเข้าไปในเรื่องของ civilization และมองการเปลี่ยนผ่านทางประวัติศาสตร์จากประเด็นของ civilization โดยโฟกัสไปยังวัฒนธรรรมและจิตสำนึกทางการเมือง ได้สร้างความยิ่งใหญ่ให้ Arnold Toynbee
เมื่อมีความแตกฉานในเรื่อง civilization ทำให้ Arnold Toynbee สร้างทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่เกี่ยวกับการปฏิวัติหรือการเปลี่ยนผ่านทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ ทฤษฎี challenge and respond
ในการอ่านและศึกษาทฤษฎีมาร์กซ์โดยไม่ต่อยอดงานเขียนของ Arnold Toynbee จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจการปฏิวัติหรือการเปลี่ยนผ่านประวัติศาสตร์ของโลกตะวันออกได้อย่างรู้แจ้งแทงตลอด
นี่คือข้อยืนยันถึงความจำเป็นและยิ่งใหญ่ของ Arnold Toynbee ในฐานะผู้ต่อยอดและอธิบายโครงสร้างชั้นบนทางสังคมได้ลึกและเข้าใจอย่างถ่องแท้มากกว่ามาร์กซ์ด้วยซ้ำไป
ทฤษฎีของ Arnold Toynbee ที่เรียกว่าทฤษฎี challenge and respond คือประวัติศาสตร์หรือสังคมที่จะเปลี่ยนแปลงหรือมี civilization ใหม่เกิดขึ้นได้จะต้องมีการท้าทายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยกลุ่มที่เรียกว่า creative minority group ซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจนำของกลุ่มส่วนน้อย โดยกลุ่มนี้เรียกอีกอย่างว่า circumstance
Circumstance หมายถึงชุดทางความคิดหรือเหตุการณ์ จึงมีการปะทะกันของ 2 ชุดความคิด ซึ่งกลุ่ม creative หมายถึง circumstance สามารถพลิกตัวมาเป็น main circumstance ได้ คือบงการหรือควบคุม circumstance ได้ สังคมและประวัติศาสตร์ก็จะเปลี่ยนผ่านไปด้วย
แต่ทฤษฎี Challenge and respond ของ Arnold Toynbee ต้องเข้าใจว่าความหมาย civilization หมายถึง social norm หรือบรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่ 1.morality คือจารีตประเพณี 2.folkway หรือวิถีประชา และ 3.law หมายถึงระเบียบ กฎหมาย จนถึงระบอบของการปกครอง ซึ่งโครงสร้างชั้นล่างคือเรื่องเศรษฐกิจหรือการผลิต พลังการผลิต ความสัมพันธ์ทางการผลิต โครงสร้างชั้นบนเป็นเรื่องประเพณีวัฒนธรรมและจิตสำนึกทางการเมือง
Creative minority และ Leading challenger คือกลุ่มเดียวกับ circumstance ที่พลิกตัวมาควบคุมสถานการณ์หรือบงการสถานการณ์ได้เหนือกว่าอีกกลุ่มหลังจากที่เผชิญหน้ากันแล้ว
อย่างไรก็ตาม สำหรับสังคมไทยแล้ว ตัวอย่างที่สามารถมองเห็นได้ชัดคือ เรื่องราวในวรรณกรรมเรื่อง “ลูกทาส” ของรพีพร หรือสุวัฒน์ วรดิลก สะท้อนสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากมีพระราชบัญญัติเลิกทาส โดยสังคมทาสส่วนหนึ่งไม่ยินดีที่จะเป็นไท ยังยึดติดอยู่กับระบบอุปถัมภ์ของนายเรือน
นี่เองที่สะท้อนระหว่างโครงสร้างของสังคมที่แตกต่างกันระหว่างสังคมตะวันออกและสังคมตะวันตกที่เป็นไปตามแนวคิดของ Arnold Toynbee
You must be logged in to post a comment Login