วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567

เงินดิจิทัล / โดย ณ สันมหาพล

On December 4, 2017

คอลัมน์ : โลกไม่หยุดนิ่ง

ผู้เขียน : ณ สันมหาพล

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า บิทคอยน์ (Bitcoin) สกุลเงินดิจิทัลชื่อดัง ปรับตัวเพิ่มขึ้นผ่านหลัก 9,500 ดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายระหว่างวันเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยสามารถขึ้นไปมากกว่า 9,747 ดอลลาร์ ใกล้แตะ 10,000 ดอลลาร์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีคำถามว่า Bitcoin และ Digital Assets ต่างๆจะเกิดฟองสบู่หรือเหมืองแตกหรือยัง เมื่อราคาตกครั้งใหญ่ โดยกลางเดือนมิถุนายน 2560 Digital Currencies แตะจุดสูงสุด และร่วงลงถึง 25-50% ของราคาสูงสุด

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Bitcoin เป็นเพียง Digital Currency สกุลหนึ่งในหลายร้อยสกุลทั่วโลก Digital Currencies เป็นแค่ส่วนหนึ่งของ Digital Assets ที่ประกอบด้วย Digital Shares (หุ้นดิจิทัล) และ Digital Currencies (เงินดิจิทัล) ไม่ต่างกับหุ้นและเงินตราที่ทั่วโลกถือเป็นสินทรัพย์

ที่แตกต่างคือ Digital Assets ทำงานบน Blockchain ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานในการทำธุรกรรมแบบไม่รวมศูนย์ (Decentralized) และมีค่าธรรมเนียมต่ำ (Low fee)

Bitcoin เป็นสกุลเงินรูปแบบดิจิทัล ถูกสร้างขึ้นมาด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีรูปร่างและไม่สามารถจับต้องได้เหมือนธนบัตรหรือเหรียญ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มนักพัฒนาเล็กๆกลุ่มหนึ่งตลอดจนบริษัทใหญ่ๆทั่วโลก ระบบของ Bitcoin ถูกรันโดยคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่วโลก ใช้ระบบซอฟต์แวร์ในการถอดสมการคณิตศาสตร์

Bitcoin ถือเป็นสกุลเงินแรกของโลกที่ถูกเรียกว่า Cryptocurrency สามารถใช้แทนเงินสดซื้อสินค้าออนไลน์คล้ายระบบซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตทั่วไปที่ใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต แต่ความพิเศษของ Bitcoin ที่ทำให้เป็นที่นิยมคือ ถูกควบคุมแบบกระจาย (decentralize) คือไม่มีสถาบันการเงินไหนสามารถควบคุมได้ ทำให้คนจำนวนมากเริ่มเลือกใช้ Bitcoin

Bitcoin เกิดจากนักพัฒนาด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้นามแฝงว่า ซาโตชิ นาคาโมโตะ โดยอ้างอิงอยู่บนการถอดสมการคณิตศาสตร์ จุดประสงค์เพื่อสร้างสกุลเงินที่เป็นอิสระจากรัฐบาลและธนาคาร สามารถส่งหากันผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและมีค่าธรรมเนียมที่ถูกมากๆ

Bitcoin ไม่มีการพิมพ์ออกมาเหมือนธนบัตรทั่วไป แต่มีกฎเกณฑ์ในตัวของมันเองเพราะถูกสร้างเหมือนไฟล์คอมพิวเตอร์ที่ใครก็สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ การผลิต Bitcoin ต้องใช้วิธีการ “ขุด” โดยใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือข่ายที่จัดวางไว้ให้เท่านั้น ทั้งยังสามารถใช้เพื่อช่วยจัดการโอน Bitcoin ให้กันได้ในเครือข่ายส่วนตัวของ Bitcoin เอง

โพรโตคอลที่เปรียบเสมือนผู้คุมกฎแห่งเครือข่าย Bitcoin กล่าวไว้ว่า สามารถผลิต Bitcoin ได้เพียงแค่ 21 ล้าน Bitcoin เท่านั้น แต่สามารถแบ่งออกเป็นจำนวนย่อยๆได้ โดยหน่วยที่เล็กที่สุดของ Bitcoin คิดเป็น 100 ล้านต่อ 1 Bitcoin หน่วยนี้เรียกว่า “ซาโตชิ” เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้สร้าง Bitcoin

ราคา Bitcoin ไม่ได้ถูกอ้างอิงกับทอง แต่ถูกอ้างอิงด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ ผู้คนทั่วโลกสามารถใช้ซอต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการถอดสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อผลิต Bitcoin ซึ่งสูตรคณิตศาสตร์มีให้หาแบบไม่คิดเงิน โดยซอฟต์แวร์เป็นระบบ open source ทุกคนสามารถตรวจสอบความโปร่งใสได้

Bitcoin เลียนแบบไม่ได้ แต่ต้องใช้เครื่องเท่านั้น การทำธุรกรรมในการจ่ายเงินของ Bitcoin และเครื่องขุดจะทำงานด้วยกันทั่วโลก ไม่มีรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจใดเข้ามายึดหรือสั่งทำลายเครื่องขุด Bitcoin ให้ระบบเครือข่ายล่มสลายได้ ซึ่งธนาคารกลางยุโรปเคยพยายามลองทำมาแล้วที่ไซปรัสในปี 2013 แต่ก็ล้มเหลว

Bitcoin ไม่ได้ไร้ตัวตน แต่มีพลังในตัวเอง ไม่ต้องยุ่งยากเหมือนการเปิดบัญชีธนาคาร ผู้ใช้งานสามารถถือบัญชีได้หลายบัญชีและไม่ต้องมีชื่อหรือข้อมูลส่วนตัว

สรุปเบื้องต้นสำหรับผู้สนใจ Bitcoin คือโลกดิจิทัลที่ไร้พรมแดนอย่างแท้จริง แต่ในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดอะไรขึ้นนั้นถือเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างมาก

ปัจจุบันตลาดการแลกเปลี่ยน Bitcoin ในไทยเริ่มมีมากขึ้น เพราะมีผู้ให้บริการเปิดตัวมากขึ้น ผู้บริโภคต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนจะเริ่มลงทุนกับ Blockchain ใด


You must be logged in to post a comment Login