วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ตุลาการภิวัตน์ / โดย นายหัวดี

On September 4, 2017

คอลัมน์ : ฉุก(ละหุก)คิด

ผู้เขียน : นายหัวดี

“ยูชิฟูมิ ทามาดะ” ศาสตราจารย์ประจำ ATAFAS ของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งศึกษาการเมืองไทยได้บรรยายในชั้นเรียนปริญญาโทที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในหัวข้อ “ประชาธิปไตยกับการทุจริตภายใต้กระแสตุลาการภิวัตน์” (Democracy, Corruption and Judiciary in Thailand)

โดยกล่าวถึง “ตุลาการภิวัตน์” ว่าเป็นกระแสที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรป แต่ที่ไทยมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่าไม่ถูกต้อง คือ หลักการ “Constitutionalism” ให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญในการปกครองประเทศ เพื่อควบคุมและจำกัดอำนาจรัฐ

“ตุลาการภิวัตน์” มาจากหลักการ “Constitutionalism” หรือ “รัฐธรรมนูญนิยม” เป็นหลักการที่ดี แต่ในความเป็นจริงกลับมีปัญหาสำคัญคือ แทนที่จะเป็น “Rule of Law” กลับกลายเป็น “Rule by Law” อย่างในไทยที่เขียนกฎหมายตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจแล้วก็ใช้กฎหมายนั้นกับประชาชน

ความเห็นของ “ยูชิฟูมิ ทามาดะ” จึงสอดรับกับการเมืองไทยช่วง 11 ปีที่ผ่านมา ที่ถูกมองว่ามีการดึง “ตุลาการภิวัตน์” กำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง อย่างการวินิจฉัยให้การเลือกตั้งโมฆะ ยุบพรรคการเมือง ยึดทรัพย์ ถอดถอนสิทธิการเมือง แม้แต่นโยบายโครงการรับจำนำข้าวที่แถลงในสภา ฯลฯ

ตลอด 11 ปีที่ผ่านมาจึงมีคำถามว่า “ตุลาการภิวัตน์” ส่งเสริมหรือทำลายประชาธิปไตย?


You must be logged in to post a comment Login