- กลืนเลือดไม่ให้เสียใจPosted 1 day ago
- ระลึกถึงพ่อหลวง ร.9Posted 2 days ago
- 5 ธ.ค.วัดสวนแก้วแตกแน่Posted 3 days ago
- จะกลับมาแบบไหนPosted 4 days ago
- เลือกงานให้โดน บริหารคนให้เป็น ตาม“ลัคนาราศี”Posted 4 days ago
- ต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์ อยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างPosted 4 days ago
- โลภ•ลวง•หลง เกมพลิกชีวิต รีแบรนด์หรือรีบอร์นPosted 4 days ago
- กูไม่ใช่ไก่ต้มเว้ย! อย่ามาต้มกูเลย..Posted 4 days ago
- หยุดความรุนแรง-ลวงโลกPosted 5 days ago
- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 1 week ago
ประวัติศาสตร์ในมิติเศรษฐศาสตร์ / โดย เรืองยศ จันทรคีรี
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร
ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี
ในบรรดาเพื่อนฝูงทั้งหลาย ผมมีเพื่อนที่บ้าเรียนหนังสืออยู่คนหนึ่งได้แก่ ดร.ณัฐวุธ วัชรกุลดิลก ศิษย์สำนักเดียวกับธีรยุทธ บุญมี ในรุ่นที่ไล่เลี่ยกันที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ดร.ณัฐวุธจบทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วไปเรียนต่อปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ ก่อนจะจบปริญญาเอกด้านปรัชญา
ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้วคงจะหาคนคุยกับเขาได้ไม่ง่ายนัก ในจำนวนนั้นมีผมที่บ้าอยู่คนหนึ่ง จึงคบค้าสมาคมกันเรื่อยมา
ถ้าพูดถึงความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค ต้องถือว่า ดร.ณัฐวุธเป็นอีกคนหนึ่งที่อ่านและเข้าใจทฤษฎีมาร์กซิสต์ในแง่ของงานคลาสสิกได้ดีเยี่ยมคนหนึ่ง เข้าใจว่าสามารถตีความและเข้าใจทฤษฎีมาร์กซิสต์ได้ไม่แพ้นักวิชาการคนใดในประเทศไทยขณะนี้ ผมจึงได้เรียนรู้ด้านเศรษฐศาสตร์พอกล้อมแกล้มไปด้วย
วันก่อนได้แลกเปลี่ยนความรู้กับ ดร.ณัฐวุธ ผมเสนอประเด็นที่ว่าถ้าเรานำเอาประวัติศาสตร์จากมุมมองของเศรษฐศาสตร์มาพิจารณาดูบ้างก็จะได้ภาพบางอย่างที่ถือว่าแปลกใหม่และมีความน่าสนใจในแง่ของประวัติศาสตร์ ซึ่งต้องถือว่าประวัติศาสตร์คือธรรมชาติอย่างหนึ่งของรูปลักษณ์ เศรษฐกิจและกระบวนการพัฒนาที่สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของกระบวนการผลิต
ผมมองว่ากระบวนการโลจิสติกส์คือสายโซ่ที่สำคัญของความสัมพันธ์ในการผลิตส่วนหนึ่ง เหตุที่กล่าวเช่นนี้เพราะตระหนักว่าเมื่อย้อนไปในประวัติศาสตร์จีนได้แสวงหาผลประโยชน์และกำไรจากกระบวนการโลจิสติกส์มานานแล้ว โดยการทำตัวเป็นนายหน้าในการค้าขายกับนานาชาติ ตรงนี้คือข้อเท็จจริง ดังจะเห็นว่าจีนได้เรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากเส้นทางสายไหมซึ่งผ่านเอเชียกลางเพื่อติดต่อค้าขายกับโรมันในสมัยโบราณ ตรงนี้คือบทบาทที่ชัดเจนของจีนที่รู้จักใช้ประโยชน์จากเส้นทางการเดินทัพของพวกมองโกลที่บุกมายังยุโรป
จากพื้นฐานของเส้นทางเดินทัพดังกล่าว ทำให้จีนสามารถต่อยอดเป็นเส้นทางการค้าขายระหว่างเอเชียและยุโรปในเอเชียกลาง โดยข้อเท็จจริงแล้วผู้ค้าที่สำคัญที่สุดของจีนไม่ใช่พวกโรมันอย่างที่เราเข้าใจ แต่เป็นพวกที่เรียกชื่อขณะนั้นว่า “พวกคาร์มาร์ซัน” ความจริงก็คือประเทศอุซเบกิสถานในปัจจุบันนี้เอง
เอเชียกลางคือจุดเชื่อมต่อที่ใหญ่และสำคัญของจีนในขณะนั้น เรียกว่าตลาดซอคเตีย ซึ่งเป็นเสมือนตลาดนานาชาติ เพราะมีคนหลายเชื้อสาย และมีเชื้อสายหนึ่งที่สำคัญเรียกว่า “ชนเผ่าเย่จื่อ” ซึ่งเป็นบรรพบุรุษนักรบของจักรพรรดิศรีไชยนารถแห่งอาณาจักรศรีวิชัย
ทหารรับจ้างเย่จื่อคือทหารรับจ้างของจีน มีความสามารถในการสู้รบ โดยเฉพาะการใช้ธนู การรบบนหลังม้า ซึ่งเป็นทักษะและประสบการณ์ของกองทัพศรีวิชัยภายใต้การนำทางทหารของจักรพรรดิศรีไชยนารถ นอกจากนั้นชาวเย่จื่อยังเกี่ยวข้องกับพวกเติร์กเช่นกัน นอกจากจะเป็นนักรบ พวกเย่จื่อยังเก่งในการค้าขายอีกด้วย ดังนั้น เรื่องราวของพวกเย่จื่อจึงเป็นอีกองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ต้องปลายเปิดค้นคว้าศึกษากันต่อไป อันเป็นอีกคุณค่าของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง
จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ทำให้เราตีความได้ว่า จีนในสมัยราชวงศ์ถังได้ใช้นักรบเย่จื่อเป็นเขี้ยวเล็บและใช้ประโยชน์ในการทำการค้าของตัวเอง ในสมัย “ราชวงศ์หงวน” จีนเริ่มสร้างกองเรือมหาสมบัติหรือเรือสำเภาเป่าฉวน ซึ่งเป็นสัญญาณที่บอกว่าจีนได้แผ่ขยายอำนาจทางทะเลของตัวเองเพื่อการค้าสำเภาและผลประโยชน์ต่างๆ
แนวคิดทางการค้าของจีนไม่เคยเปลี่ยนแปลง แม้แต่ปัจจุบันนี้ก็ตาม
ขณะนี้รัฐบาลไทยมีโครงการรถไฟความเร็วสูงกับจีน ซึ่งจีนมียุทธศาสตร์จะเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งให้ทั่วทั้งเครือข่ายของเอเชีย แต่มีบางคนเกรงว่าประเทศไทยจะเสียเปรียบ ตรงนี้ผมไม่มีความเห็นอะไรนอกจากจะบอกว่าจีนถือว่ามีความเป็นเอกทางด้านเล่ห์กลในทางการค้ามาโดยตลอด ดังนั้น การที่มีคนทักท้วงติติงให้รัฐบาลละเอียดรอบคอบในการลงทุนกับจีนตรงนี้ผมว่าน่ารับฟัง เพราะบทเรียนประวัติศาสตร์คือการเรียนรู้และศึกษาซ้ำเพื่อไม่ให้สิ่งที่ผิดพลาดเกิดซ้ำรอยขึ้นมาอีก
ในประวัติศาสตร์นั้นถ้าวิเคราะห์ให้รอบด้านแล้วจะเห็นว่า ความยิ่งใหญ่ของศรีวิชัยโดยแท้จริงแล้วล้มลงมาเพราะถูกกระทบจากผลประโยชน์ทางการค้าและเขี้ยวเล็บของมหาอำนาจจีนในอดีตนั่นเอง
นี่เป็นการเขียนถึงในยุคศรีวิชัย แต่ในยุคของ คสช. คงจะไม่ล่มสลายเหมือนในยุคศรีวิชัย เพียงแต่ต้องการติงว่าประวัติศาสตร์คือการเรียนรู้สิ่งที่ผิดพลาดมาแล้วในอดีต และโดยความจริงนั้นเมื่อประวัติศาสตร์เป็นพันปีผ่านมา จีนก็หากินกับโลจิสติกส์การขนส่งทางเรือมาโดยตลอด
มาถึงปัจจุบันนี้ก็เห็นชัดเจนว่าจีนยังคงมียุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมทางทะเล ซึ่งรัฐบาลคงจะเข้าไปร่วมด้วย ผมเพียงแต่จะบอกว่าเขาก็มีฝีมือมากนะครับ
You must be logged in to post a comment Login