วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567

ชวนเอกชนลงทุนมอเตอร์เวย์นครปฐม–ชะอำ

On November 2, 2016

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย 8        เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่มีความสำคัญที่จะกลายเป็นประตูสู่พื้นที่เศรษฐกิจของภาคใต้ ซึ่งในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ นั้น จำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ เงินลงทุน และการบริหารจัดการอย่างมีประสิ ทธิภาพของภาคเอกชน กระทรวงคมนาคมจึงมีนโยบายในการผลักดันให้โครงการนี้ สามารถเริ่มกระบวนการหาตัวเอกชนผู้ร่วมลงทุนภายในปี 2560 เพื่อให้ทันแผนที่จะเปิดให้บริการใน พ.ศ. 2565 การสัมมนาในวันนี้จะนำไปสู่ ความร่วมมืออันดีระหว่างภาครัฐและเอกชนในการนำพาประเทศไทยไปสู่ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ด้วยการยกระดับการคมนาคมขนส่ งของประเทศให้เจริญก้าวหน้าด้ วยโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่ างประเทศในอนาคต

สำหรับโครงการนี้คาดว่าจะเปิดให้ภาคเอกชนยื่นข้อเสนอประมู ลในรูปแบบ PPP เป็นหนึ่งในเส้ นทางตามแผนระยะเร่งด่วน ที่มีความพร้อมในการดำเนินงานสูง ปัจจุบันได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จทั้งหมด และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA ผ่านความเห็นชอบจาก สผ. แล้ว ขณะนี้กรมทางหลวงอยู่ระหว่ างดำเนินการออก พรฎ. เวนคืนที่ดิน

โครงการมีมูลค่าการก่อสร้างประมาณ 63,998 ล้าน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือกรมทางหลวงจะเป็นผู้ เวนคืนที่ดิน มูลค่ากว่า 9,488 ล้านบาท และให้เอกชนเป็นผู้จัดหาแหล่ งเงินทุน ก่อสร้างโยธาและงานระบบ ดำเนินงานและซ่อมบำรุงรักษาเส้ นทาง รวมถึงการก่อสร้างและบริหารจั ดการที่พักริมทางทั้งหมด มูลค่าประมาณ 54,510 ล้านบาท โดยเบื้องต้นคาดว่าเมื่อเปิดให้ บริการในปี พ.ศ. 2565 จะมีปริมาณรถยนต์เฉลี่ยประมาณ 43,673 คัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 122,108 คัน/วันในปี พ.ศ.2594 โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้ อยละ 3.5 ต่อปี

สำหรับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม – ชะอำ เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิ เศษระหว่างเมืองหมายเลข 8 นครชัยศรี  –นราธิวาส (สุไหงโก-ลก) มีจุดเริ่มต้นเชื่อมกับโครงข่ ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่ อ. นครชัยศรี จ.นครปฐม ผ่านไปยัง จ.ราชบุรี จ.สมุทรสงคราม และสิ้นสุดที่ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ระยะทางรวมทั้งสิ้น 109 กิโลเมตร ออกแบบเป็นทางหลวงพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร มีการควบคุมทางเข้าออกอย่างสมบู รณ์และมีทางบริการในพื้นที่ จำเป็น เพื่อลดผลกระทบของชุมชน มีด่านเก็บค่าผ่านทางด้วยระบบปิ ดทั้งหมด 9 ด่าน และมีการติดตั้งระบบชั่งน้ำหนั กบริเวณด่านเก็บเงินค่าผ่านทาง  ตลอดแนวเส้นทาง กำหนดให้มีที่พักริมทางทั้งหมด 5 แห่ง แบ่งเป็นศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) 1 แห่ง สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) 2 แห่ง และสถานที่พักริมทางหลวง (Rest Area) 2 แห่ง

ทั้งนี้ เมื่อโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม-ชะอำ เปิดให้บริการ จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบริเวณถนนเพชรเกษมซึ่งปัจจุบันเป็ นเส้นทางหลักสายเดียวที่เชื่ อมการเดินทางสู่ภาคใต้ และยังมีส่วนช่วยเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญทั้งภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศ ตลอดจนประเทศเพื่อนบ้านทั้งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และมาเลเซีย เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจชาติให้ยั่งยืน


You must be logged in to post a comment Login