- เลือกงานให้โดน บริหารคนให้เป็น ตาม“ลัคนาราศี”Posted 9 hours ago
- ต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์ อยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างPosted 10 hours ago
- โลภ•ลวง•หลง เกมพลิกชีวิต รีแบรนด์หรือรีบอร์นPosted 10 hours ago
- กูไม่ใช่ไก่ต้มเว้ย! อย่ามาต้มกูเลย..Posted 10 hours ago
- หยุดความรุนแรง-ลวงโลกPosted 1 day ago
- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 4 days ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 5 days ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 6 days ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 1 week ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 1 week ago
ซาอุฯกรุยทางหนีขายน้ำมัน / โดย กองบรรณาธิการ
คอลัมน์ : รายงาน
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
เมื่อเวลาเปลี่ยน สถานการณ์ต่างๆก็เปลี่ยนตาม โดยเฉพาะสถานการณ์ด้านพลังของโลก ทำให้เศรษฐีน้ำมันอย่างซาอุดิอาระเบียรีบไหวตัว ปรับกลยุทธ์พัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยความหวังจะได้ไม่กลายเป็น “ประเทศเคยรวย” หลังมีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถพึ่งพาน้ำมันได้อีกต่อไป
หัวเรือใหญ่ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของซาอุฯในปัจจุบัน คือ เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน รองมกุฎราชกุมาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และองค์ประธานสภาเศรษฐกิจและการพัฒนา
เจ้าชายมุฮัมมัดประกาศโครงการ “Vision 2030” เป็นแผนแม่บทในการนำประเทศลดการพึ่งพาน้ำมัน ไล่ไปจนถึงไม่พึ่งพาน้ำมันเลยภายในปี 2030 หรืออีก 14 ปีข้างหน้า เนื่องจากราคาน้ำมันมีแนวโน้มตกต่ำต่อเนื่อง
อีกทั้งยอดการใช้น้ำมันทั่วโลกก็ลดลงตามลำดับ เป็นผลมาจากการหันไปใช้พลังงานทางเลือกแทน
ซาอุฯเป็นชาติร่ำรวยในอันดับต้นๆของกลุ่มประเทศพึ่งพารายได้จากการขายน้ำมัน โดยประเทศเศรษฐีน้ำมันแห่งนี้ มีรายได้จากการขายน้ำมันปีละ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (70 ล้านล้านบาท) คิดเป็น 70% ของรายได้ทั้งหมด
นอกจากนั้น อุตสาหกรรมน้ำมันยังเป็นแหล่งจ้างงานสำคัญที่สุดของประเทศด้วย ดังนั้นการพลิกโฉมเศรษฐกิจของประเทศด้วยแผน “Vision 2030” จึงเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง
มาตรการที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทางดังกล่าว คือการส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว ภาคธุรกิจด้านสุขภาพ และส่งเสริมการลงทุนภาคการผลิต
โดยเปิดทางให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพิ่มสัดส่วนธุรกิจภาคเอกชนจาก 40% ขึ้นไปเป็น 65% ภายในปี 2030 เพื่อสร้างสินค้าให้สามารถส่งออกได้ เนื่องจากปัจจุบันซาอุฯไม่มีสินค้าส่งออกที่สำคัญเลยนอกจากน้ำมัน
การปฏิรูประบบการศึกษา เป็นอีกหนึ่งความสำคัญ เพื่อสร้างบุคลากรให้มีความสามารถในการทำงานและพัฒนาธุรกิจแนวใหม่
อีกทั้งควรยกเลิกข้อห้ามชายกับหญิงทำงานร่วมกันที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้แผนเพิ่มสัดส่วนบุคลากรทำงานหญิงจาก 22% เป็น 30% ภายในปี 2030 บรรลุเป้าหมาย
ปัจจุบันซาอุฯพึ่งพาบุคลากรและแรงงานจากต่างชาติเป็นหลัก โดยมีแรงงานต่างด้าวมากกว่า 9 ล้านคน
อีกมาตรการสำคัญหนึ่ง คือการแสวงหาพันธมิตรที่เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเหลือ โดยซาอุฯหันไปหาญี่ปุ่นให้มาช่วยเป็นพี่เลี้ยงพัฒนาเศรษฐกิจ ทำสัญญาการค้าและการลงทุนระหว่างกัน เพื่อให้การดำเนินงานตามแผน “Vision 2030” เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น
แม้ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งมองว่า โอกาสที่ซาอุฯจะประสบความสำเร็จตามแผน “Vision 2030” มีความเป็นไปได้ไม่ง่ายนัก
แต่ซาอุฯไม่มีทางเลือกอื่น เนื่องจากน้ำมันที่เป็นขุมทรัพย์เดิม มีแนวโน้มสูงที่จะพึ่งพาไม่ได้อีกต่อไป
You must be logged in to post a comment Login