วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ไอเอฟเอส ชูบบอีอาร์พีหนุนไทยแลนด์ 4.0

On September 29, 2016

นายศรีดาราน อรูมูแกม รองประธาน ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้   บริษัท ไอเอฟเอส ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่ นสำหรับองค์กรชั้นนำระดับโลก จากประเทศสวีเดน  กล่าวถึงทิศทางการดำเนินธุรกิ จในประเทศไทยช่วงไตรมาสที่สี่ ของปี 2559 ว่า ใน      ไตรมาสที่สี่ของปีนี้บริษัท ไอเอฟเอสจะมุ่งลูกค้ากลุ่ มโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยคาดว่า กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่อยู่ในช่ วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทั ล ทราสฟอร์เมชั่นมากที่สุ ดในประเทศไทย   เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลและอิ นเทอร์เน็ตเป็นกุญแจสำคัญที่ จะช่วยให้การทำงานในโรงงานอุ ตสาหกรรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้ นและก้าวไปสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ ทั้งนี้อุตสาหกรรมควรเตรี ยมความพร้อมสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0  โดยบริษัทฯ จะเข้าไปช่วยปรับปรุง และเสริมประสิทธิภาพด้ วยการนำระบบการวางแผนทรั พยากรทางธุรกิจขององค์กร หรืออีอาร์พี ที่ครอบคลุมการใช้งานอย่ างครบวงจร และที่สำคัญมีความคล่องตั วในการใช้งานผ่านเดสก์ทอป แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน นอกจากนั้นยังสามารถวิเคราะห์ข้ อมูลในเชิงแนวโน้มและเชื่ อมโยงกับระบบคลาวด์ ซึ่งสามารถดูข้อมูลแบบเรียล ไทม์ ด้วยโซลูชั่นของอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือไอโอที

ไอดีซี คาดการณ์ว่าจุดติดตั้งอุปกรณ์ ปลายทางของไอโอที (IoT) จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนไม่ น้อยกว่า 13,000 ล้านชุดในปลายปี 2559 จนถึง 30,000 ล้านชุดในปี 2563 และอุตสาหกรรมที่ไอดีซี คาดการณ์ว่าจะมีการใช้จ่ ายงบประมาณไปกับโซลูชันไอโอที (IoT) มากที่สุด คืออุตสาหกรรมด้านการผลิต การขนส่ง พลังงานและสาธารณูปโภค รวมถึงร้านค้าปลีกที่มีรู ปแบบการใช้งาน ไอโอที (IoT) อย่างครอบคลุม

“เรากำลังก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0  คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลและอิ นเทอร์เน็ต มาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า  จะเป็นการบูรณาการโลกของการผลิ ตเข้ากับการเชื่อมต่อทางเครือข่ ายในรูปแบบ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือ ไอโอที ( Internet of Things (IoT)) ทุกหน่วยของระบบการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์หน่ วยต่างๆ เหล่านี้จะถูกติดตั้งระบบเครื อข่ายเพื่อให้สามารถสื่ อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกั นและกันอย่างอิสระเพื่อการจั ดการกระบวนการผลิตทั้ งหมดจะสามารถผลิตของหลากหลายรู ปแบบแตกต่างกันตามความต้ องการเฉพาะของผู้บริโภคแต่ ละรายเป็นจำนวนมากในเวลาพริ บตาเดียว โดยใช้กระบวนการผลิตที่ประหยั ดและมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี ดิจิทัลครบวงจร แบบสมาร์ท แฟคตอรี่”

นอกจากกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิ ตแล้ว บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้ าอื่นๆ  อาทิ อุตสาหกรรมด้านอากาศยาน  และยุทโธปกรณ์การรบ (Aerospace & Defense)  อุตสาหกรรมการให้บริการ (service provider)    อุตสาหกรรมด้านยานยนต์     ค้าปลีก การจัดการสินทรัพย์   อุตสาหกรรมด้านพลั งงานและสาธารณูปโภค    อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ    และการก่อสร้าง โดยไอเอฟเอส มีแผนขยายพาร์ทเนอร์ที่มี ความเชี่ยวชาญโซลูชั่นสำหรับลู กค้าญี่ปุ่นโดยเฉพาะกลุ่ มยานยนต์ และการขยายตลาดในประเทศเมี ยนมาร์และกัมพูชา  ทั้งนี้คาดว่า บริษัท ไอเอฟเอสในประเทศไทย จะมีอัตราการเติบโต 10%  ในปี 2559

ตลาดอีอาร์พีในประเทศไทยนั้นยั งคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลไทยกำลั งผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่เศรษฐกิจอยู่บนพื้ นฐานของความคิดสร้างสรรค์ และนวตกรรม ซึ่งต้องอาศัยการลงทุนด้ านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง   โดยการ์ทเนอร์ได้คาดการณ์ การเติบโตของตลาดอีอาร์พี ในประเทศไทย จะมีอัตราการเติบโตที่ 14.91 %   ระหว่างปี 2559 – 2563

นายศรีดาราน กล่าวต่อไปว่า สำหรับกลุ่มการบินและอากาศยาน  เป็นตลาดหลักของบริษัท ไอเอฟเอส ทั่วโลก  โดยในเดือนตุลาคมนี้ ทางบริษัทฯ     ได้เข้าร่วมงาน แอร์ไลน์ แอนด์ แอโรสเปซ  เอ็มอาร์โอ แอนด์ ไฟลท์ โอเปอเรชั่นส์ ไอที คอนเฟอเรนซ์  (Airline & Aerospace MRO & Flight Operations IT Conference)  ที่จัดขึ้นโดยแอร์คาฟท์ คอมเมิร์ซ ( Aircraft Commerce)  ที่จะจัดขึ้นเป็นครั้ งแรกในประเทศไทย  ซึ่งเป็นงานประชุมระดับโลกด้ านไอทีของกลุ่มการบิ นและอากาศยานเพียงงานเดียว ที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านไอที และการบริหารจัดการและการซ่ อมบำรุงด้านการบิน

สำหรับกลุ่มลูกค้าปัจจุบั นของไอเอฟเอฟในประเทศไทย  ประกอบด้วย  อุตสาหกรรมการผลิต     อุตสาหกรรมด้านอากาศยาน  และยุทโธปกรณ์การรบ (Aerospace & Defense)  อุตสาหกรรมการให้บริการ (service provider)    อุตสาหกรรมด้านยานยนต์     ค้าปลีก การจัดการสินทรัพย์   อุตสาหกรรมด้านพลั งงานและสาธารณูปโภค    อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ    และการก่อสร้าง


You must be logged in to post a comment Login