- ความตายอย่ามาเยือนบ่อยPosted 22 hours ago
- ขึ้นภูดูเขาสู้กันPosted 2 days ago
- กลับมาอยู่กับความดีมากๆPosted 3 days ago
- ตั้งใจทำให้ดี อย่าท้อPosted 4 days ago
- ต้องรู้จัก “อนิจจัง” ให้ลึกซึ้งPosted 5 days ago
- กลืนเลือดไม่ให้เสียใจPosted 1 week ago
- ระลึกถึงพ่อหลวง ร.9Posted 1 week ago
- 5 ธ.ค.วัดสวนแก้วแตกแน่Posted 1 week ago
- จะกลับมาแบบไหนPosted 2 weeks ago
- เลือกงานให้โดน บริหารคนให้เป็น ตาม“ลัคนาราศี”Posted 2 weeks ago
สังคมที่เข้มแข็งกับสังคมที่อ่อนแอ ทรรศนะของ‘Arnold Toynbee’ / โดย เรืองยศ จันทรคีรี
คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร
ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี
ผมได้รับการบอกเล่าจากเพื่อนฝูงใกล้ชิดว่า ตัวเองไม่ได้โดดเดี่ยวมากนัก เพราะทราบว่ามีรุ่นพี่ที่เป็นปัญญาชนก้าวหน้าคนหนึ่งชื่อ “ปรีดี บุญซื่อ” ได้ให้ความสำคัญในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับงานเขียนของ Arnold Toynbee เช่นกัน
ปรีดีเป็นปัญญาชนก้าวหน้าคนสำคัญของประเทศไทย เคยมีบทบาทเป็น 1 ใน 14 ผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญจนส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นหนึ่งในผู้ถูกจับกุมข้อหากบฏก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นอดีตผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายพันธมิตรและธุรกิจตอบแทนลูกค้า อดีตผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายพัฒนาและสนับสนุนการตลาด บริษัทการบินไทย
ปัจจุบันปรีดีวางมือทางการเมืองแล้ว แต่ก็เป็นนักศึกษาที่ค้นคว้าอย่างไม่หยุดยั้ง ล่าสุดเขาบอกผ่านเพื่อนใกล้ชิดของผมว่า งานเขียนทางปรัชญาของ Arnold Toynbee นับว่าน่าสนใจมาก
ในช่วงเวลาที่ทุกคนทุกฝ่ายคิดว่า correct view on everything เป็นมุมมองที่คิดว่าถูกต้องสำหรับตนเอง นี่เองที่เป็นต้นตอปัญหาความขัดแย้งของสังคมในปัจจุบันคือ เป็นความคิดที่ยึดอัตตาเป็นที่ตั้ง correct view on everything จึงเป็นมุมมองที่ถูกต้องไปหมดทุกสิ่ง แต่ความคิดนั้นต้องเป็นความคิดที่สอดคล้องกับความคิดของตนเองเท่านั้น นอกเหนือจากนี้แล้วถือว่าผิดหมด
เหมือนตัวอย่างของม็อบ กปปส. ที่ถือว่าตัวเองเป็นคนดี สามารถทำอะไรได้ทุกอย่าง และทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งที่ถูกต้องหมด ฝ่ายที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญก็คิดว่าตัวเองอยู่ในจุดประชาธิปไตย เมื่อมองสิ่งต่างๆก็เป็นการมองที่ถูกต้องหมด ใครที่มองว่าตนเองเป็นคนจงรักภักดีก็คิดว่าจะต้องมองสิ่งต่างๆถูกต้องหมดเหมือนกัน
ในงานประวัติศาสตร์มีสาระสำคัญ 2 ประการคือ ประการแรก คือการเปิดเผยประสบการณ์ที่หลากหลายของมนุษยชาติ เพื่อทำให้เรามองไปในเหตุการณ์อนาคตได้อย่างผิดพลาดน้อยลง ประการที่สอง ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องราวของชาติต่างๆที่ปรากฏในเนื้อหา เล่าความเป็นมาของความเป็นชาตินั้นๆตามขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์ในแต่ละพื้นที่
อย่างไรก็ตาม แม้ประวัติศาสตร์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับชาติ แต่ในงานเขียนของ Arnold Toynbee ก็แตกต่างจากงานเขียนของนักประวัติศาสตร์คนอื่นๆ กล่าวคือ เขาเขียนประวัติศาสตร์อย่างไม่มีอคติ ไม่ได้มองไปที่เรื่องของชาติเป็นหลัก รวมทั้งไม่ได้มองไปที่เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ด้วย แต่ Arnold Toynbee ได้ให้ความสำคัญไปที่ civilization โดยอธิบายจากตัวตนของพฤติกรรมและอุดมการณ์ลัทธิความเชื่อ
Arnold Toynbee มองว่าตราบใดที่ civilization ยังดำเนินไปข้างหน้าก็ถือเป็นเรื่องปรกติที่จะต้องพบเจอกับการถูก challenge ซึ่งเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ นี่คือสิ่งที่สังคมจะต้องเผชิญหน้า เพราะถ้าจะขยายตัวและพัฒนาต่อไปก็ต้องยอมรับเรื่อง social mobility สังคมจะพัฒนาเช่นนี้ตลอดไปคือ จะถูก challenge เป็นระยะๆไป ซึ่งถ้าปรากฏการณ์เป็นเช่นนี้แล้วถือว่าสังคมแบบนี้เป็นสังคมสุขภาพดี
สำหรับสังคมที่อ่อนแอ Arnold Toynbee ให้มองอยู่ 2 ประการ ได้แก่ ข้อแรก การเป็นสังคมที่มี hierarchy หรือเป็นสังคมที่มีระดับชั้น ข้อสอง สังคมที่อ่อนแอจะมีระบบกฎหมายที่หยุมหยิมและเคร่งครัดเกินไป
มาพิจารณาเมืองไทยในปัจจุบัน ตอนนี้เรามีโอกาสที่จะมีการเลือกตั้งในวันข้างหน้าถ้าเป็นไปตามโรดแม็พอย่างที่นายกรัฐมนตรีกล่าวไว้คือ ไม่เกินปี 2560 คนไทยจะมีโอกาสใช้สิทธิใช้เสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง รวมถึงการปลดล็อกการเลือกตั้งท้องถิ่นทั้งหลายด้วยเช่นกัน
แต่ก่อนจะไปถึงวันนั้น มีข่าวว่าจะมีการใช้ใบอาญาสิทธิ์ลงโทษผู้กระทำผิดตามร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. โดยมีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 5 หมวด มีการกำหนดระดับความผิดฐานกระทำทุจริตไว้เป็น “ใบเหลือง-ใบส้ม-ใบแดง-ใบดำ” ซึ่งรายละเอียดต่างๆระบุยิบย่อยทั้งฐานความผิด การลงโทษ จากตัวบุคคลถึงพรรคการเมือง ทั้งการเพิกถอนสิทธิทางการเมือง การระงับสิทธิทางการเมือง การชดใช้ค่าเสียหาย ค่าสินไหม เป็นต้น
การออกใบเหลือง ใบส้ม ใบแดง และใบดำเช่นนี้ เจตนาเพื่อควบคุมการเลือกตั้งให้เป็นระเบียบ และให้อำนาจแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้จัดการการเลือกตั้งได้ ข้อนี้ผมเข้าใจดี แต่ไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้หยุมหยิมเกินไปหรือเปล่า?
อีกประการคือ เรามี ส.ส. ที่เป็น hierarchy คือ ส.ส. จากการเลือกตั้งของประชาชน และมี ส.ว. จากการแต่งตั้ง ซึ่งไม่รู้ว่าจะเรียกว่านักการเมืองที่มีระดับชั้นได้หรือเปล่า รวมทั้งองค์กรอย่าง กกต. กับพรรคการเมืองและผู้ร่างรัฐธรรมนูญ มันคงสะท้อนความมี hierarchy ของประเทศไทยได้แล้ว
เมื่อนำทฤษฎีของ Arnold Toynbee เข้ามาจับแล้ว ผมเลยบอกไม่ถูกว่าสังคมไทยเราคือสังคมที่เข้มแข็งหรืออ่อนแอ ข้อนี้ผมไม่ห่วงว่าจะเป็นเผด็จการหรือประชาธิปไตย แต่ที่กังวลคือ มันจะเป็นอะไรกันแน่ระหว่างสังคมที่เข้มแข็งกับสังคมที่อ่อนแอ ก็ฝากไปพิจารณาดูนะครับ
You must be logged in to post a comment Login