- ระลึกถึงพ่อหลวง ร.9Posted 14 hours ago
- 5 ธ.ค.วัดสวนแก้วแตกแน่Posted 1 day ago
- จะกลับมาแบบไหนPosted 2 days ago
- เลือกงานให้โดน บริหารคนให้เป็น ตาม“ลัคนาราศี”Posted 2 days ago
- ต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์ อยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างPosted 2 days ago
- โลภ•ลวง•หลง เกมพลิกชีวิต รีแบรนด์หรือรีบอร์นPosted 2 days ago
- กูไม่ใช่ไก่ต้มเว้ย! อย่ามาต้มกูเลย..Posted 2 days ago
- หยุดความรุนแรง-ลวงโลกPosted 3 days ago
- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 6 days ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 1 week ago
หมดยุคตู้ไปรษณีย์? / โดย ภูริวรรณ วรานุสาสน์
คอลัมน์ : China Today
ผู้เขียน : ภูริวรรณ วรานุสาสน์
จาง ลี่ รับหน้าที่เป็นบุรุษไปรษณีย์นานกว่า 30 ปี โดยเขตรับผิดชอบของเขาเป็นหมู่บ้านอยู่ทางตะวันตกของเทือกเขาในมณฑลเหอหนัน ตลอดระยะเวลา 3 ทศวรรษจำนวนจดหมายของเขาลดลงเรื่อยๆ จาก 70-80 ฉบับ เหลือเพียง 2-3 ฉบับ และในตู้ไปรษณีย์ส่วนใหญ่จะเป็นพวกใบโฆษณาและจดหมายขยะ
จาง เล่าว่า เมื่อก่อนนั้น จดหมายที่เขียนด้วยลายมือนิยมส่งกันมากในหมู่คนชราและผู้ชายที่ต้องเข้าร่วมกองทัพ ซึ่งตัวเขามีหน้าที่ต้องส่งจดหมายใน 22 หมู่บ้าน ในช่วงเวลานั้น เขาจำได้ว่าเขาต้องช่วยคนชราที่อ่านหนังสือไม่ออกอ่านจดหมายอยู่บ่อยๆ
ปัจจุบัน จำนวนจดหมายที่เขียนด้วยลายมือลดลงไม่ได้ปรากฏเฉพาะเขตชนบทของจีนเท่านั้น
แต่ละวัน สำนักไปรษณีย์ที่ปักกิ่งจะทำการรับและจัดส่งจดหมายและโปสการ์ดจากตู้ไปรษณีย์ไม่ถึง 200 ฉบับ ขณะที่พวกใบแจ้งค่าค้างชำระและพวกใบโฆษณามีมากกว่า 5,000 ฉบับ
เฉิน เหลียงจวิน เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จากเมืองหนิงโป มณฑลเจ๋อเจียงกล่าวว่า ตอนนี้ตู้ไปรษณีย์ทั่วเมืองหนิงโปที่มีทั้งสิ้น 2,000 ตู้ กว่าครึ่งที่ไม่มีจดหมายและที่เหลือก็มีจดหมายเพียง 2-3 ฉบับเท่านั้น
เฉินเล่าให้ฟังว่า ปลายทศวรรษที่ 80 เมื่อโทรศัพท์มือถือยังไม่ได้รับความนิยม ตู้จดหมายในเมืองหนิงโปจะเต็มไปด้วยจดหมายและโปสการ์ด โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่างๆจะยิ่งมากเป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเสน่ห์ของการเขียนจดหมายได้หายไปจากสังคม และคนส่วนใหญ่เลิกเขียนและส่งจดหมายกันแล้ว หากแต่ก็ยังคงมีการไขตู้ไปรษณีย์ทุกวันและเส้นทางการไขตู้ก็ยังปรากฏทางแอปพลิเคชันโทรศัพท์เช่นกัน
จากบันทึกของสำนักงานไปรษณีย์แห่งชาติพบว่า จำนวนตู้ไปรษณีย์ทั่วประเทศจีนลดลงเรื่อยๆตั้งแต่ปี ค.ศ.2013 โดยปลายปี ค.ศ.2015 มีตู้ไปรษณีย์ทั้งสิ้น 130,000 ตู้ ซึ่งน้อยกว่าปี 2014 ถึง 13,000 ตู้
นอกจากนี้ ราคาของจดหมายก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก ดังนั้น ขณะที่มีผู้ใช้บริการน้อยลง ทางไปรษณีย์กับยังต้องรับภาระทั้งการบริหารองค์กร จำนวนบุรุษไปรษณีย์และค่าบำรุงรักษาพาหนะในการขนส่งจดหมายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทางไปรษณีย์เองต้องหาทางรอดด้วยการออกนโยบายทางการเงินและธุรกิจที่เกี่ยวข้องเล็กๆน้อยๆ ที่ตอบสนองนโยบายของรัฐด้วย
ขณะที่ระบบไปรษณีย์ของจีนกำลังอยู่ในภาวะกระแสลง ธุรกิจขนส่งสินค้าและพัสดุกลับกำลังเฟื่องฟูอย่างต่อเนื่อง
จากสถิติของทางสำนักไปรษณีย์แห่งชาติพบว่า ธุรกิจรับส่งสินค้าและพัสดุเติบโตขึ้น เป็น 61.6 51.9 และ 48 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ปี 2013-2015 ขณะที่รายได้จากธุรกิจเพิ่มเป็น 36.6 41.9 และ 35.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในปีที่ผ่านมา ธุรกิจขนส่งสินค้าและพัสดุมีรายได้รวมมากถึง 68.6 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจด้านไปรษณีย์และการขนส่งสินค้าเลยทีเดียว
แม้ว่าธุรกิจขนส่งกำลังจะทำให้การส่งจดหมายแบบธรรมดาใกล้สิ้นใจ หากแต่บรรดาพนักงานที่ทำงานในสำนักไปรษณีย์ก็พยายามที่จะต่อสู้ดิ้นรนเพื่อรักษาวัฒนธรรมการส่งจดหมายนี้ไว้
เฉินกล่าวว่า จดหมายที่เขียนด้วยลายมือ คือเส้นทางแห่งวัฒนธรรมซึ่งจำเป็นต้องรักษาให้ดำเนินต่อไป
บุรุษไปรษณีย์เช่นจางก็เห็นด้วยเช่นกัน ซึ่งเขาปรารถนาให้จดหมายสามารถมีชีวิตรอดให้ได้ เพราะเขาไม่อยากเห็นจดหมายต้องเดินตามรอยโทรเลขที่หมดความหมายไปในโลกยุคใหม่นี้
You must be logged in to post a comment Login