- พระศุกร์เข้า พระเสาร์แทรกPosted 10 hours ago
- เรียกมนุษย์ได้ไงPosted 1 day ago
- อะลุ่มอล่วยบ้างPosted 2 days ago
- รักษาความดีงามไว้Posted 6 days ago
- ไม่นานต้องจบPosted 6 days ago
- ปล่อยข่าวเท็จเพื่ออะไรPosted 1 week ago
- ทางออกที่แปลกPosted 1 week ago
- ศีลธรรมป้องกันโจรฉกรรจ์สามก๊กPosted 1 week ago
- หันมาดูความเสมอภาคบ้างPosted 2 weeks ago
- ปล่อยไว้ไม่ได้Posted 2 weeks ago
ถอดถอน“รุสเซฟฟ์” / โดย กองบรรณาธิการ

คอลัมน์ : รายงาน
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
ถือว่าเป็นไปตามคาด เมื่อสมาชิกวุฒิสภาบราซิลลงมติถอดถอนประธานาธิบดี ดิลมา รุสเซฟฟ์ พ้นจากตำแหน่งเมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา โทษฐานละเมิดกฎหมายงบประมาณ ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดเรื่องของกระบวนการถอดถอนที่ยาวนานมากว่า 9 เดือน
สมาชิกวุฒิสภาลงมติ 61-20 เสียง ตัดสินว่านางรุสเซฟฟ์กระทำผิดกฎหมายด้วยการใช้เงินจากเหล่าธนาคารของรัฐไปอุดรูรั่วทางด้านงบประมาณในปี 2014 สิ้นสุดช่วงเวลา 13 ปีที่พรรคคนงาน (PT) ปกครองประเทศบราซิล อันเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาใต้
ผลจากการที่สมาชิกวุฒิสภา ลงมติถอดถอนประธานาธิบดีรุสเซฟฟ์ ทำให้ นายมิเชล เทเมอร์ อดีตรองประธานาธิบดี ที่ทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีรักษาการ ได้เข้าพิธีสาบานตนทันที สำหรับนั่งเก้าอี้ผู้นำประเทศไปจนหมดวาระตลอดปี 2018
อย่างไรก็ตาม วุฒิสภาบราซิลลงมติ 42 ต่อ 36 ไม่ห้ามเธอจากการดำรงตำแหน่งสาธารณะ โดยคงสิทธิทางการเมืองแก่เธอ ซึ่งตามกฎหมายของบราซิล วุฒิสภาต้องให้ความเห็นชอบ 2 ใน 3 สำหรับห้ามประธานาธิบดีที่ถูกถอดพ้นเก้าอี้จากหน้าที่การงานราชการใดๆ ไม่เว้นกระทั่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐ ฝ่ายตรงข้ามของ รุสเซฟฟ์ พอใจกับการถอดถอนครั้งนี้ โดยมองว่าเป็นโอกาสที่จะพาบราซิลก้าวหลุดพ้นจากวิกฤตทางการเมือง จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งเลวร้ายที่สุดในหลายชั่วอายุคน และกวาดล้างเรื่องอื้อฉาวคอร์รัปชันในบริษัทเปโตรบาส
ประชาชนบางส่วนที่ขับขี่รถยนต์พากันบีบแตรกลางกรุงริโอ เดอ จาเนโร เมืองหลวงของบราซิล เพื่อแสดงความยินดีต่อมติถอดถอนนางรุสเซฟฟ์ ส่วนที่เซาเปาลู เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ มีการยิงพลุไฟฉลองหลังทราบผลโหวต
ขณะที่ นายเทรเมอร์ ประกาศจะกระตุ้นเศรษฐกิจที่หดตัวมา 6 ไตรมาสติดต่อกัน และจะนำเอามาตรการเข้มงวดกวดขันต่างๆ มาบังคับใช้เพื่ออุดรูรั่วการขาดดุลงบประมาณที่กำลังเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งทำให้บราซิลถูกลดอันดับจากเครดิตเรตติ้งระดับที่ถือว่าสามารถลงทุนได้เมื่อปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม นางรุสเซฟฟ์ ปฏิเสธว่าเธอไม่ได้ทำอะไรผิด และบอกว่ากระบวนการถอดถอนมีเป้าหมายปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นสูงทางเศรษฐกิจของประเทศและล้มเลิกโครงการสวัสดิการทางสังคมที่ช่วยพลเมืองจำนวนหลายล้านหลุดพ้นจากความยากจนระหว่างทศวรรษที่แล้ว
ต่อจากนี้คงต้องจับตาดูสถานการณ์ในบราซิลให้ดี เพราะมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่หนุนหลังนางรุสเซฟฟ์และไม่พอใจคำตัดสิน แถมเหล่านักการเมืองของพรรคคนงาน ก็ประกาศว่าจะระดมพลสู่ท้องถนนเพื่อประท้วง
You must be logged in to post a comment Login