วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

หนุนเด็กอาชีวะสร้างแกนนำช่วยเพื่อนพ้นภัยปัจจัยเสี่ยง

On June 30, 2023

ปัจจุบันเยาวชนไทยต้องเผชิญกับความเสี่ยงรอบด้านทั้งเรื่องของยาเสพติด การพนัน สุขภาพ และอุบัติเหตุ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะกลุ่มเด็กอาชีวะที่สังคมมองว่าพวกเขาเหล่านี้เข้าถึงปัจจัยเสี่ยงได้ง่ายจะดีหรือไม่ถ้าจเปลี่ยนกลุ่มเสี่ยงมาเป็นแกนนำช่วยเพื่อนพ้นอันตรายจากสิ่งรอบข้าง

ในปี 2563 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา(สอศ.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายและหนุนเสริมศักยภาพครูและแกนนำนักศึกษาอาชีวศึกษาป้องกันปัจจัยเสี่ยง(เหล้า-บุหรี่) ในสถานศึกษา โดยมีจำนวนสถาบันการศึกษาเข้าร่วมโครงการจำนวน 25 สถาบัน และในปีนี้(2566)เข้าสู่ระยะที่ 2 และจะขยายการทำงานไปยังวิทยาลัยอาชีวศึกษาจำนวน 45 แห่ง ร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนรู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยในเรื่องของบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด การพนัน และอุบัติเหตุ โดยมีความคาดหวังว่าเยาวชนจะมีสุขภาวะที่ดี รวมทั้งสามารถช่วยเหลือเพื่อนๆให้รอดพ้นจากปัจจัยเสี่ยงได้แบบในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน โดยมีอาจารย์ในสถานศึกษาคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำและช่วยเหลือ

กลุ่มเยาวชนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า กลุ่มเยาวชนเป็นกลุ่มที่เป็นกำลังสำคัญของชาติ และเป็นกลุ่มเผชิญกับปัญหารอบด้าน โดยเฉพาะการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ตั้งแต่ปี 2554-2564 กลุ่มเยาวชนอายุ 15-19 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 20-24 ปี เพศชายเสียชีวิตมากกว่าเพศหญิง 4-5 เท่า ส่วนใหญ่เกิดจากดื่มแล้วขับ ใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนด และไม่สวมหมวกนิรภัย ขณะที่สถิติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปี 2564 พบกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้น เป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี มากถึง 84.1% ส่วนสถิติบุหรี่ยังน่าเป็นห่วงเยาวชนไทยหันไปใช้บุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้น กลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี มีสัดส่วนการสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากที่สุด 30.5% จากผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าทั้งหมด 78,742 ราย

ดร.สุปรีดา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้าพยายามออกแบบผลิภัณฑ์ สร้างภาพลักษณ์ใหม่เรียนกว่าบุหรี่ไฟฟ้า gen 5 หรือ toy pod ใช้ตัวการ์ตูนชื่อดัง ทำให้ดูน่ารัก น่าลอง มีกลิ่นหอม ที่สำคัญประชาชนมีความเชื่อผิด ๆ ว่าสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นอันตราย สสส. และภาคีเครือข่ายพยายามให้ข้อมูลที่ถูกต้องว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตราย มีสารนิโคตินเป็นสารเสพติดที่มีผลทำลายสมองของเด็กและเยาวชนที่ยังเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้เสี่ยงต่อการเสพติดนิโคตินมากขึ้น และมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปอด ทำให้เกิด “โรคปอดข้าวโพดคั่ว” (Popcorn Lung) ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

ใช้วิธีเพื่อนสอนเพื่อนได้ผลดีที่สุด

ดร.สุปรีดา กล่าวว่า จากการดำเนินงานของสถาบันอาชีวศึกษาที่เข้าร่วมโครงการพบว่า การสอนโดยครู พระ หรือหมอมันไม่ค่อยเวิร์ก เพราะเป็นช่วงวัยที่ชอบท้าทาย เราไม่คากหวังให้คนที่แข็งแรงมาดูแล แต่เราจะชวนเขามาท้าทายให้เห็นปัญหา พิษภัยจากอุตสาหกรรมที่ค้าความตาย เราจะชวนเขาออกมาช่วยเพื่อน ช่วยน้อง เพื่อเป็นพลังในการช่วยสังคม

ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ เรืออากาศโทสมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่กล่าวว่า สอศ. มุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงเพื่อการพัฒนาประเทศ ให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและทักษะวิชาชีพ และยังจำเป็นต้องมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีด้วยเช่นกัน จึงได้กำหนดให้มีการขับเคลื่อนศูนย์ความปลอดภัย สอศ. เป็นนโยบายเร่งด่วน รวมทั้งการเสริมสร้างอาชีวศึกษาปลอดภัย (safety) เพื่อมุ่งสู่การเป็นสถานศึกษาแห่งความสุข

“การที่บุคลากร ผู้เรียนมีความรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน ประกอบกับวัยรุ่น เป็นช่วงวัยที่ให้ความสำคัญกับเพื่อน เพราะสื่อสารง่ายและเข้าใจกันมากกว่า การจัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายและหนุนเสริมศักยภาพครูและแกนนำผู้เรียนอาชีวศึกษา ที่ส่งเสริมให้มีการทำกิจกรรมที่สอดแทรกองค์ความรู้ไปด้วยกัน เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ช่วยป้องกันปัจจัยเสี่ยงและส่งผลต่อผู้เรียนในหลายด้าน ทั้งผลการเรียน สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ และการสูญเสียจากอุบัติเหตุลดลง” รองเลขาธิการ สอศ. กล่าว

วิทยาลัยเทคนิคพังงา- เชียงราย ตัวอย่างความสำเร็จ เพื่อนช่วยเพื่อน

นางสาวประทิน เลี่ยนจำรูญ ครูชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยเทคนิคพังงา หัวหน้าโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์พังงา และหัวหน้าโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง กสศ.วท.พังงา กล่าวว่า ทางวิทยาลัยมีเด็กอยู่ 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่เรียนไป-กลับ กับกลุ่มที่เป็นเด็กประจำ อยู่หอของโรงเรียน ซึ่งเด็กกลุ่มหลังนี้เป็นเด็กที่มีปัญหา เช่น ครอบครัวมีปัญหา เด็กฐานะยากจน จากการดำเนินงานที่ผ่านมาทางเทคนิคพังงา ถือว่ามีประความสำเร็จเนื่องจากว่าเรามีครูถึง 4 คนคอยติดตามดูแลศึกษาในหออย่างใกล้ชิด ซึ่งเด็กส่วนมากจะติดบุหรี่ น้ำท่อม เราจึงต้องมีการคัดกรองโดยใช้สายสืบครู (เพื่อน) เมื่อได้ข้อมูลมาว่าเด็กคนใดติดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า เป็นต้น เราจะมีทีมครู และทีมนักเรียน มาช่วยกันทำกิจกรรม และเปิดโอกาสให้เด็กนำบุหรี่ บุหรี่ฟ้า เหล้า นำมาให้ครู เมื่อได้สิ่งของเหล่านี้แล้วครูจะไม่ดุด่า ว่ากล่าว หรือประจาน ไม่ถือว่าเป็นความผิด เพราะตนคิดว่าเด็กวัยนี้คือวัยที่อยากลอง และที่นี่เรามีครูที่ปรึกษาครู 1 คน ต่อนักเรียน 10 คน เพื่อให้ครูได้เข้าไปดูและเด็กได้อย่างใกล้ชิด  และหลังจากนั้นจะสอบถามว่าเด็กต้องการอะไร ครูจะให้สิ่งนั้น ซึ่งส่วนมากจะเป็นเด็กผู้ชาย เข้าจะเสนอกันมามากมาย เช่น ขอเล่นกีฬาจนถึงเที่ยงคืน ขออุปกรณ์กีฬา ครูจะจัดการให้ทันทีเด็กจะมีความสุนกสนาน จากการเฝ้าสังเกตจพบว่าเด็กจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด เราจะไม่ใช้คำว่าลงโทษ เราจะใช้คำว่าทำความดีชดเชย จนเรากลายเป็นวิทยาลัยปลอดสิ่งเสพติดและให้เราไปรณรงค์กับสถานศึกษาต่างๆ

“เราจะชี้ให้เขาเห็นถึงอนาคต ถ้าเรายังยุ่งกับสิ่งเหล่านี้เราจะมีวังวนเดิมๆ เหมือนที่เขาเห็นจากครอบครัวที่มีปัญหาของเขาเอง เด็กก็จะคิดเองได้ เราพยายามชี้ให้เขาเห็นถึงโลกอนาคตให้มากที่สุด เราจะพูดถึงมาตรฐานอาชีพ รายได้ที่มีขึ้นในอนาคต เพราะฉะนั้นเด็กเขาจะไม่เข้าไปอยู่ในที่เดิมๆ”นางสาวประทิน กล่าว

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานของพังงาประสบความสำเร็จคือ ทีมงาน และการสนับสนุนจากผู้บริหาร โดยยึดเด็กเป็นเกณฑ์หลัก เราใช้แบบพี่ปกครองน้องและให้เด็กๆบริหารกันเอง ทุกอย่างระเบียบวินัยกฎเกณฑ์พี่จะเป็นคนทำทุกอย่างแต่ถ้ามีปัญหาอะไรเขาจะมาครูที่ปรึกษา ซึ่งครูทุกคนจะให้ความร่วมมือ ผู้บริหารสนับสนุน จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ…

ด้าน นายยุทธการ ตั้งปัญญาศักดิ์ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวะศึกษาเชียงราย กล่าวว่า เรื่องของยาบ้า เฮโรอีนในสถานศึกษาตอนนี้ไม่มีแว ก่อนหน้าที่จะมีเรื่องของบุหรี่เยอะ หลังจากที่เราได้จัดกิจกรรมโครงการสานฝันอาชีวะเชียงราย หลังจากกิจกรรมไปแล้วเด็กจะเข้าใจเรื่องของการสูบบุหรี่และการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะช่วงนี้จะลดลง แต่อาจจะมีบ้างประปราย แต่จะลดลงจากช่วงเดิมอย่างมาก เราณรงค์ให้เขารับรู้ถึงโทษภัย ถือเป็นโครงการที่ดีใหเด็กได้ตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่มากขึ้นที่จะเกิดกับตัวเขาเองและเพื่อนๆรอบข้างมากขึ้น ซึ่งตนคาดว่าถ้ามีการทำกิจกรรมบ่อยๆจะทำให้วัยรุ่นหันไปทำกิจกรรมอื่นหรือเล่นกีฬามากกว่าที่จะมาสูบบุหรี่ ซึ่งจากการสำรวจในห้องน้ำพบก้นกรองบุหรี่มีจำนวนน้อยลงจากอดีตมากส่วนเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าส่วนมากที่ดูดจะเป็นเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย วันนี้ไม่มีเลย

สำหรับเรื่องอุบัติเหตุทางวิทยาลัยได้มีการทำประกันกลุ่มให้กับนักเรียนในแต่ละปีจะมีเด็กเสียชีวิตประมาณ  2-3 ราย จากอุบัติเหตุ ซึ่งทำให้ทางบริษัทประกันจะขึ้นค่าเบี้ยประกัน ดังนั้นทางวิทยาลัยจึงได้ให้แนวคิดอบรมเรื่องอุบติเหตุ กฎจราจร รณรงค์สวมหมวกกันน็อค ซึ่งหากเด็กมาอบรมที่วิทยาลัยแล้วสามารถไปทำใบขับขี่ที่ขนส่งได้เลย ทำให้ให้เด็กสนใจมากขึ้นซึ่งเราจะทำการอบรมทุกปี ผลลัพธ์ที่ได้คือ  2   ปีที่ผ่ามชนมาไม่มีอุบัติเหตุจนถึงขั้นเสียชีวิต เห็นผลอย่างชัดเจน

“ที่ผ่านมาหากเด็กไปตั้งวงกินเหล้า เราจะได้คนในชุมชนโทรมาบอก ทำให้ในช่วง2-3   ปีนี้จะไม่มีกลุ่มเด็กอาชีวะตั้งวงกินเหล้าในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ทำให้คนมองภาพลักษณ์ของเด็กอาชีวะเปลี่ยนไป” นายยุทธการ กล่าว

อย่างไรก็ตาม บริบทของการให้ความรู้กับเยาวชนได้เปลี่ยนไป การให้เพื่อนมาช่วยเพื่อนเพื่อช่วยเหลือ ออกกฎ กติกากันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เพื่อนๆของเขาเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับไปจัยเสี่ยงต่างๆดังที่กล่าวมาแล้วนั้นจะให้ผลลัพธ์ดีและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด โดยมีครู อาจารย์เป็นที่ปรึกษา


You must be logged in to post a comment Login