วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567

“ไทย ดินแดน ของผู้ลี้ภัย” โดย เกรียงศักดิ์ โยธาประเสริฐ

On May 7, 2021

ภุมิใจได้เลย ว่าเรา เป็นดินแดนของผู้ลี้ภัยจากนานาประเทศ จะภัยเศรษฐกิจหรือภัยการเมืองก็ดี ได้อพยพหนีร้อนมาพึ่งเย็น พลเมืองจากเพื่อนบ้าน ที่ใหญ่โตขั้น มหาอำนาจ ไม่ว่าจะ จีน อินเดีย แม้กระทั่งญึ่ปุ่น ก็ยังหนีภัยเศรษฐกิจหรือความวุ่นวายทางการเมือง มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย หรืออีกมุมหนึ่ง เพราะความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และอัธยาศรัยที่ดีของคนไทยเป็นมิตรต่อผู้มาเยือน จึงเป็นดินแดนสำหรับผู้แสวงหา นักบุกเบิก

จาก จีน มีทั้งแต้จิ๋ว ฮกเกี๋ยน ไหหลำ  ฯลฯ สำหรับแต้จิ๋ว ก็มาจากพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลกว้างตุ้งปัจจุบันแบ่งเป็นสามจังหวัด พื้นที่เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ถือว่าหนาแน่น มีภัยธรรมชาติบ่อยเรียกว่าหากินลำบาก สำหรับผู้อพยพชาวจีนที่มาสยามหรือไทยมีปรากฎตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ที่เข้ามาและเพิ่มอย่างรวดเร็วคือเมื่อเปิดประเทศโดยสัญญาบาวริ่ง เศรษฐกิจขยายตัว ความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น การเดินทางสะดวกขึ้นเพราะมีเรือกลไฟ ชาวจีนโดยเฉพาะแต้จิ๋วจากซัวเถาจึงเดินทางอพยพมาหาชีวิตที่ดีกว่าในดินแดนประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย

การลี้ภัยของชาวจีนมาไทยอันเนื่องจากการเมือง ก็คือกองพล๙๓ของจีนคณะชาติที่พ่ายแพ้ ต่อจีนคอมมูนิสต์และขอลี้ภัยอยู่ในจังหวัดภาคเหนือของไทย

จากอินเดีย มากตามลำดับคือ ชาวสิกข์ จากรัฐปัญจาก ชาวฮินดู จากรัฐปัญจาบ  ชาวคชราตเป็นมุสลิม จากรัฐคชราต นักวิชาการ นักธุรกิจ นักแสดง ชื่อเสียง ตระกูลดัง มีให้เห็นหลากหลาย เหตุทีอพยพมา ก็เหมือนจากจีน ลี้ภัยเศรษฐกิจมาเมืองไทยหากินง่ายกว่า

จากญี่ปุ่น ใครที่ไปเที่ยว อยุธยา ในตัวเมือง ก็อาจเห็นป้ายบอกทางไปหมู่บ้าน โปรตุเกส และหมู่บ้านญี่ปุ่น สำหรับหมู่บ้านญึ่ปุ่น ถือเป็นการอพยพลี้ภัยทางการเมือง …ในหนังสือประวัติการเผยแพร่คริสต์ศาสนาเล่มหนึ่งได้เขียนไว้ว่า อิชิกาวะจิเฮอิ[Ishigawa Jihei]เข้ารีต เขาเป็นคนสำคัญของคาโตะ คิโยะมาสะลี้ภัยศาสนาจากเมืองนางาซากิมาพำนักอยู่อยุธยา บันทึกดังกล่าวทำให้เราสันนิษฐานได้ว่า คงจะต้องมีชาวญี่ปุ่นอีกหลายคนที่ลี้ภัยมาพำนักอยู่ทีอยุธยาด้วยเหตุผลเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบคำให้การของบาทหลวง แอนโทนิโอ คาร์ทูมที่กล่าวว่าเคยประกอบพิธีศิลมหาสนิทแก่คริสเตียนชาวญี่ปุ่น 400 คนที่อยุธยาเมื่อ พ.ศ 2170 (ค.ศ 1627 ) เพราะฉะนั้นจำนวนชาวคริสเตียนชาวญี่ปุนที่ลี้ภัยศาสนามาพำนักที่อยุธยาอาจจะมีจำนวนมากกว่าที่คาดไว้ก็เป็นได้…(ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปีโดยอิชิอิ โยเนะโอะและโยชิกาวะ โทชิฮารุ)

โตกุกาวา เมื่อชนะศึกตั้งตนเป็นโชกุนได้แล้ว พบว่ามีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ เห็นว่าจะเป็นภัยทางการเมืองจึงปราบบาทหลวงและผู้เขารีตอย่างรุนแรง

จากเวียดนาม  ญวนก็เข้ามาช่วง ร.3 อันเนื่องจากการปราบผู้เข้ารีตทางศาสนา มากเช่นกัน ช่วงสงครามคอมมูนิสต์ก็เข้ามาอยู่แถบอิสาณ ชื่อสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯ ก็สะท้อนว่าเป็นแหล่งที่อาศัยของผู้อพยพ ญวน สามเสน สี่แยกบ้านแขก แม้กระทั้งมักกะสัน ซึ่งเป็นชาวเกาะมากัสซาร์จากอินโดนิเซีย

กรณีของไทย เคยอพยพไปที่ไหน เมื่อประมาณ 60 ปีก่อน หรือค่อนยุคเบบี้บูม น่าจะเป็นยุคหนึ่ง ใครที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้คนยุคนั้น จะรู้สึกหมดอนาคตทันที่เพราะไม่มีทีเรียนไม่มีงาน จึงอพยพไปสหรัฐ อีกช่วงหนึ่งคือ เวียดนามแตก เศรษฐีไทยเตรียมอพยพไปมาก

กรณีที่มีผู้สร้างเพจ ชวนอพยพ แล้วมีสมาชิกขณะนี้ แปดแสนกว่าสะท้อนให้เห็นว่า ระบบการปกครองและ เศรษฐกิจมีปัญหา ไม่สามารถให้ความหวังกับเขาได้ รัฐบาลจึงควรทบทวนและหาทางแก้ไข

สำหรับคนที่ไปกระแหนะกระแหนคนกลุ่มนี้ ก็พึงสำรวจด้วยว่า บรรพบุรุษตัวเองอพยพมาจากที่ไหนหรือเปล่าและทำไมอพยพ


You must be logged in to post a comment Login