วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567

จอประสาทฉีกขาด เสี่ยงตาบอดไหม

On April 30, 2021

คอลัมน์ : เปิดโลกสุขภาพ

ผู้เขียน : นพ.ชัยรัตน์  เสาวฤทธิ์

แพทย์ที่ปรึกษาด้านจอประสาทตา โรงพยาบาลพญาไท 2

(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 30 เม.ย.-7 พ.ค. 64)

จอประสาทตาลอก จอตาลอก หรือ จอตาหลุดลอก (Retinal detachment) คือ ภาวะที่เกิดการแยกหรือลอกตัวของจอประสาทตาออกจากตำแหน่งเดิม ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ

อาการจอประสาทตาฉีกขาด

โครงสร้างของตาเปรียบเสมือนกล้องถ่ายรูปที่มีเยื่อรับภาพ เรียกว่า จอตา หรือจอประสาทตา (Retina) คือ เนื้อจอประสาทตาที่รับภาพแล้วส่งสัญญาณไปแปรผลที่สมอง ซึ่งมีตัวโพรงกลาง เรียกว่าวุ้นตา โดยสถานภาพเป็นน้ำเป็นวุ้นที่อายุน้อย ถ้าอายุมากขึ้นจะเปลี่ยนสถานภาพเป็นของเหลว การขยับบางส่วนของตาอาจมีแรงกระชากผิวประสาทตาให้มันฉีกขาด เรียกว่า วุ้นตาเสีย คนสายตาสั้นหรืออายุมากขึ้น โดยสังเกตอาการได้ ดังนี้

  • ฟ้าแล่บ และอาจจะมีไฟกระพริบ
  • มองเห็นจุดดำหรือเส้นสีดำ ๆ คล้ายเงาหยากไย่ลอยไปลอยมา
  • ตามัว
  • มีตระกอนดำ ๆ ในตา
  • บางรายอาจมีเลือดออกในตา

ซึ่งอาจจะเกี่ยวพันกับจอประสาทตาฉีกขาด แนะนำว่าควรพบจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว หากไม่รีบทำการรักษาอาจเสี่ยงถึงขั้นตาบอดได้

สาเหตุที่ทำให้เสี่ยงจอประสาทฉีกขาด

  • สายตาสั้นมากจนเกินไป
  • โรคประจำตัวเบาหวาน
  • คนในครอบครัวมีภาวะจอประสาทตาลอก
  • มีการติดเชื้อหรือการอักเสบภายในลูกตา
  • มีเนื้องอกหรือมะเร็งที่เกิดขึ้นภายในลูกตาหรือแพร่กระจายมาจากส่วนอื่น
  • การได้รับบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุที่ลูกตาอย่างรุนแรง
  • เคยได้รับการผ่าตัดภายในลูกตามาแล้ว
  • เป็นเกี่ยวกับโรคตา เช่น Retinoschisis (โรคจอประสาทตาหลุดลอกชนิดหนึ่ง)

วิธีการรักษา มีหลายวิธี ได้แก่

  • หากเป็นไม่รุนแรงมากจะมีการรักษาด้วยการฉายแสงเลเซอร์ โดยการยิงเลเซอร์รอบรอยขาด ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด หลังทำเสร็จสามารถกลับบ้านได้ทันที ไม่ต้องพักฟื้น
  • การฉีดแก๊สเข้าไปในตา (Retinopexy) ร่วมกับการยิงเลเซอร์หรือจี้ด้วยความเย็น ซึ่งสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น

การผ่าตัด มี 2 วิธี

  • การผ่าตัดจอประสาทตา (Scleral Buckling) ใช้วัสดุมาหนุนที่รอบนอกของดวงตาเพื่อช่วยดันให้ผนังดวงตากลับมาติดกับจอประสาทตา ซึ่งแพทย์อาจใช้การเลเซอร์หรือการจี้ด้วยความเย็นช่วยปิดรอยฉีกขาดควบคู่ไปด้วย
  • การผ่าตัดที่ทาง รพ.พญาไท 2 จะเน้นด้วยการส่องกล้องผ่าตัดวุ้นตาและจอประสาทตา (vitrectomy Machine) คือ จะได้รับยาดมสลบก่อนผ่าตัด แล้วสอดเครื่องมือ 3 อย่างเข้าไปข้าง ๆ ในดวงตาดำ เนื่องจากเครื่องมือเล็กมากทำให้แผลเล็กมาก ไม่จำเป็นต้องเย็บ ไม่เคืองตา และไม่ต้องพักฟื้น

You must be logged in to post a comment Login