วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

“Regus” สำนักงานที่เสนอความยืดหยุ่นพร้อมพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

On February 25, 2020

อาวุธชิ้นใหม่ที่สำคัญในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศสภาวะโลกร้อนคือ การใช้พื้นที่ทำงานที่ยืดหยุ่น และสามารถตอบสนองการทำงานร่วมกันอย่างครบถ้วนในเขตชานเมืองใหญ่ เพราะการกระจุกตัวและใช้ทรัพยาการต่างๆ เพื่อการทำงานเฉพาะในย่านธุรกิจสำคัญเพียงอย่างเดียวนั้นมักจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและกลายเป็นเรื่องของอดีต

ทั้งนี้เมื่อเทรนด์การขยายตัวของสำนักงานที่มีความยืดหยุ่นได้ขยายตัวเป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของงานวิจัยชิ้นใหม่ เปิดเผยว่าภายในปี พ.ศ. 2572 นั้น พื้นที่สำนักงานที่มีถิ่นที่ตั้งในบริเวณ “เมืองรอบนอก” จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่ากับเที่ยวบินจำนวน 1,280,000 เที่ยว ข้ามเขตมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างมหานครลอนดอนสู่มหานครนิวยอร์กในแต่ละปี ซึ่งการทำงานใกล้บ้านสามารถหยุดยั้งก๊าซคาร์บอนจำนวน 2,560,000 เมตริกตันให้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ

การศึกษาเศรษฐกิจชานเมือง ได้รับการจัดทำโดย Regus และดำเนินการโดยนักเศรษฐศาสตร์อิสระมีการคาดการณ์ถึงประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างพื้นที่สำนักงานที่ยืดหยุ่นในเมืองขนาดเล็ก และเมืองขนาดกลาง และ พื้นที่ชานเมือง ในช่วงระยะเวลาปัจจุบัน ถึง ปี ค.ศ. 2029

ปัจจัยที่ทำให้พื้นที่สำนักงานแบบยืดหยุ่นของเราแตกต่าง

การที่บุคลากรสามารถทำงานใกล้บ้านผ่านสำนักงานในท้องถิ่นนั้น จะช่วยพนักงานประหยัดเวลาโดยเฉลี่ย 7,416 ชั่วโมงต่อปีในการเดินทาง เท่ากับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจำนวน 118  เมตริกตันต่อหนึ่งสำนักงานในระยะเวลา 1 ปี

ในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ใช้เวลาในการเดินทางไปทำงานมากที่สุดเพียงประเทศเดียว ถ้าทำงานใกล้บ้านจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงได้ราว 208 เมตริกตันต่อปี ส่วนในประเทศอุตสาหกรรมเกิดใหม่การลดคาร์บอนอาจน้อยกว่า เช่น ประเทศไทยจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้ราว 54 เมตริกตันต่อปี อย่างไรก็ตาม ในเมืองที่มีปัญหาด้านมลภาวะในระดับอันตราย เช่นกรุงเทพฯก็จะยังคงมีผลกระทบด้านคุณภาพอากาศอยู่

ผลรายงานยังเผยอีกว่า ผู้ที่ย้ายการทำงานยืดหยุ่นจากที่บ้านสู่พื้นที่ โค เวิร์คกิ้ง สเปซ จะส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อม โดยการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถใช้ความร้อนและแสงสว่างในพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันมากกว่าบ้านที่สามารถทำงานได้คนเดียว

คุณลาส์ วิททิก ผู้จัดการภูมิภาคประจำประเทศไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชาและเกาหลีใต้ (IWG)กล่าวว่า “การเดินทางไปมานั้นไม่สะดวกสบาย น่าเบื่อ และเสียเวลาอย่างมาก ที่สำคัญยังเป็นเป็นตัวการสร้างมลพิษทั่วโลก ในยุคที่ธุรกิจ และผู้คนทุกคนมีความรับผิดชอบต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การเดินทางไปยังเมืองใหญ่ๆ อย่างพร่ำเพรื่ออาจเป็นเรื่องที่ล้าสมัยจากผลการวิจัยนี้ เราตั้งเป้าว่าในทศวรรษหน้า จะมีการเปิดพื้นที่ทำงานครบวงจรขยายไปยังสถานที่อื่น ๆ ให้มากขึ้น ในเมืองเล็ก ๆ และพื้นที่ชานเมือง โดยวิสัยทัศน์ของเราคือ ในอนาคตอันใกล้จะมีพื้นที่ทำงานระดับมืออาชีพที่พร้อมให้บริการในทุก ๆ มุมเมือง ลดปัญหาในการเดินทาง ซึ่งสิ่งนี้จะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อสุขภาพของเราทุกคน เช่นเดียวกับโลกใบนี้”

ผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจ

ขณะนี้บริษัทใหญ่ๆ เริ่มมีการใช้นโยบายการทำงานแบบยืดหยุ่น เพิ่มพื้นที่การทำงานด้านนอกแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องทำงานที่สำนักงานใหญ่ซึ่งเป็นศูนย์รวมของทุกสิ่งเท่านั้น โดยจากผลการศึกษายังเผยให้เห็นถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจของพื้นที่ชานเมืองที่พบว่า “เศรษฐกิจแบบยืดหยุ่น”สามารถสร้างรายได้มากกว่า 254 พันล้านเหรียญสหรัฐให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นของไทยภายในปี 2029 และยังพบการสร้างงานใหม่ในชุมชนเฉลี่ย 121 งาน ซึ่งจะสร้างรายได้อีกราว 9.63 ล้านเหรียญสหรัฐไปสู่เศรษฐกิจท้องถิ่นโดยตรง

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่  www.regus.com/suburban-economic-survey

 

หมายเหตุ
•การศึกษาของ Regus วิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการทำงานที่ยืดหยุ่นใน 19 ประเทศออสเตรเลียออสเตรียเบลเยี่ยมบราซิลแคนาดาจีนฝรั่งเศสเยอรมนีอินเดียอิตาลีญี่ปุ่นเนเธอร์แลนด์นิวซีแลนด์ฟิลิปปินส์แอฟริกาใต้สเปน สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา


You must be logged in to post a comment Login