วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

กลุ่มยางพาราวอนทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่านค้านหยุดเล่นเกมการเมืองหันช่วยเหลือเกษตรกรจริงจัง

On August 19, 2019

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากการประชุมโครงการประกันราคาเกษตรกรชาวสวนยาง ประสบปัญหาล้มเหลว เนื่องจากสูตรคำนวณต้นทุนการผลิตเกษตรกรสวนยางของปีนี้ แจ้งว่า ต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมอยู่ที่ 55 บาท ซึ่งขัดแย้งกับความเป็นจริง ต้นทุนการผลิตต่อกิโลกริมอยู่ที่ 65.65 บาท ซึ่งเป็นการประเมินเมื่อ 5 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2557) ดังนั้น ต้นทุนการผลิตไม่มีทางลดลงเหลือ 55 บาทอย่างแน่นอน ด้วยการเพิ่มขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจากนโยบาย ภาวะเงินเฟ้อ ราคาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ดังนั้น มาตรการประกันราคายางที่ราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม จึงไม่สะท้อนราคาที่แท้จริง

ขณะเดียวกัน คลางแคลงใจกับนโยบายพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ทุกพรรคต่างประกาศสงครามกับความจน ยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ให้ประชาชนและเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศ แต่กลับเอื้อกลุ่มนายทุน โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม การปั่นกระแสข่าวการแบน 3 สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พาราควอต ไกลโฟเซต คลอร์ไพรีฟอส เพื่อเปิดทางให้สารเคมีของนายทุนพรรคการเมือง กลูโฟซิเนต ที่ราคาแพงและมีอันตรายเหมือนกัน เป็นที่น่าสังเกตุอย่างยิ่ง หากภาครัฐต้องการเลิกใช้สารเคมีจริงๆ ทำไมจึงห้ามใช้สารเคมีตัวหนึ่ง และแนะนำสารเคมีอีกตัวหนึ่งให้เกษตรกรแทน แบบนี้ควรแบนสารเคมีให้หมดทุกตัว จะได้ไม่มีวาทะกรรมแผ่นดินอาบสารพิษ จากกลุ่มต่อต้านการใช้สารเคมี ที่มากดดันเกษตรกร

2

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศแบน 3 สารเคมีฯ ส่งผลให้เกิดการลักลอบนำเข้าปุ๋ย-สารเคมีกำจัดศัตรูพืชผิดกฎหมายและไม่ได้มาตรฐานจากต่างประเทศมาตามชายแดนไทย-ลาว พม่า กัมพูชา โดยภาครัฐไม่สามารถควบคุมได้

“แนวทางการจัดการที่เหมาะสมที่สุด คือ การวางแผนและจัดการเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ใช่นึกอยากจะทำอะไรก็ทำ โดยไม่มีการวางแผนหรือไตร่ตรองไว้อย่างรอบคอบถึงผลกระทบในทุกมิติ รวมทั้ง ประเด็น 3 สารเคมีฯที่ชอบบอกว่า มีพิษสูง ทำให้อวัยวะภายใน ตับ ไต ล้มเหลว นั่นก็เพราะมีคนเอาไปกินใช่หรือไม่ แบบนี้เอาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ใช่หรือไม่ เพราะสารเคมีเกษตร พาราคตวอตมีไว้กำจัดหญ้า ถ้าจะมีปัญหาสุขภาพนั่นก็ต้องไปดูว่ามีการใช้อย่างไร ถูกต้องไหม อย่าเหมารวม เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่มีประสบการณ์ใช้มายาวนาน ไม่ได้มีปัญหาอย่างที่เป็นข่าว และหากแนะนำสารเคมีตัวใหม่ และเกิดมีข้อกล่าวหาด้านสุขภาพอีก รมว. รมช. เกษตรฯ และคุณหมอ จะมารับผิดชอบต่อผลเสียหายที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรไหม” นายอุทัย กล่าวสรุป


You must be logged in to post a comment Login