วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567

“เถามัทนา”ผ้าฝ้ายพิมพ์ลายพิเศษผลงานสร้างสรรค์โดย ก้องเกียรติ เกตุแก้ว ในงาน “ฝ้ายทอใจ ครั้งที่ 12”

On August 6, 2019

มะพร้าว – ก้องเกียรติ เกตุแก้ว เจ้าของแบรนด์ห้องเสื้อKongkiatหนึ่งในดีไซนเนอร์ ผู้ร่วมออกแบบ ผ้าฝ้ายพิมพ์ลายพิเศษลิมิเต็ดอิดิชั่นสร้างความฮือฮาด้วยลาย “เถามัทนา”เปิดตัวในงาน “ฝ้ายทอใจครั้งที่ 12” จัดโดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICTด้วยแรงบันดาลใจต้นแบบ จากผ้าลายอย่าง อีกหนึ่งความพิเศษที่สร้างสรรค์ให้ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายของไทย ตอบโจทย์กลยุทธ์ SACICT หัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบัน หรือ “Today Life’s Crafts”

มะพร้าว – ก้องเกียรติ เกตุแก้ว  เจ้าของห้องเสื้อ “ก้องเกียรติ”  ที่มีชื่อเสียงด้านงานปักลูกปัดนานาชนิดและคริสตัลแพรวพราวลงบนผืนผ้าลูกไม้ทั่วทั้งชุด จุดเด่นที่ชวนให้สาว ๆ ต้องตื่นตาตื่นใจ เพราะไม่ว่าขนาดของชุดจะพองฟูเพียงใดหรือชายลากยาวขนาดไหน ทุกอณูของชุดจะถูกปักเลื่อมและคริสตัลอย่าง ละเอียดลออตระการตา

ที่สำคัญยังเป็นดีไซนเนอร์ชั้นนำ ที่ได้ออกแบบตัดชุดให้ศิลปินที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก และยังเป็นหนึ่งในดีไซนเนอร์ที่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบผ้าพิมพ์ลายพิเศษ ในชื่อลาย “เถามัทนา” ซึ่งเปิดตัวในงาน ฝ้ายทอใจ ครั้งที่ 12 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 – 30 มิถุนายน 2562 ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

2

โดย มะพร้าว – ก้องเกียรติ เกตุแก้วได้กล่าวถึง การออกแบบผ้าฝ้ายพิมพ์ลายพิเศษ ด้วยลาย “เถามัทนา” ว่า โจทย์ที่ได้รับจาก SACICT คือ “ผ้าลายอย่าง” และด้วยทราบว่า การทำงานของ SACICT นั้น มุ่งเน้นการสร้างสรรค์ให้งานศิลปหัตถกรรมเป็นหัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบัน ดังนั้น งานที่ออกมาจะต้องไม่ใช่งานตั้งโชว์ แต่ต้องสามารถนำมาใช้ได้และเข้ากับเทรนด์แฟชั่นได้ จึงได้นำลายอย่างมาผสมผสานความเป็นแฟชั่น  โดยเลือกใช้ดอกกุหลาบสีแดง กุหลาบสีขาว  ช่อมะกอก  เพิ่มหมุดสีทองและโซ่สีทองผสมผสานความเป็นยุคใหม่ เพื่อให้ดูเป็นแฟชั่นสมัยใหม่   ผสมผสานลวดลายกราฟฟิคที่เข้ากับยุคสมัยของปัจจุบัน เกิดเป็นลวดลาย “เถามัทนา” ที่ไม่ว่าจะนำไปออกแบบเป็นเสื้อผ้า หรือผลิตภัณฑ์ใด ก็จะมีความโดดเด่นอย่างแน่นอน

3

ด้านนางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ฝ้ายทอใจ ครั้งที่ 12 ในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ฝ้ายทอใจ สไตล์ลายอย่าง” โดยรับแรงบันดาลใจมากจากความงดงามและลวดลายของผ้าลายอย่าง ซึ่งเป็นผ้าพิมพ์ลาย ที่มีสีสัน เทคนิคการพิมพ์ลายที่มีความโดดเด่น ถ้าย้อนกลับไปในสมัยอดีต ผ้าลายอย่างเกิดขึ้นในราชสำนัก โดยเมื่อไทยทอผ้าแล้ว ก็จะส่งไปให้ประเทศอื่นๆ อย่างจีน อินเดีย พิมพ์ลายขึ้นมาใหม่ ฉะนั้นผ้าลายอย่างจึงมีความพิเศษเฉพาะตัว คือ มีลวดลาย และสีสันสดใสเป็นมรดกทางงานศิลปหัตถกรรมที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน ควรค่าแก่การสืบสาน ต่อยอด โดยความท้าทายที่มากขึ้นกว่าการ นำผ้าลายอย่างให้เป็นที่รู้จัก นั่นคือ การนำลายอย่าง มาสร้างสรรค์บนผืนผ้าฝ้าย และสามารถสร้างการยอมรับ สร้างความนิยมให้กับผู้ที่ชื่นชอบในงานผ้าฝ้าย ที่สามารถสะท้อนความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมจากการจัดงานที่ผ่านมา เพราะเมื่อนำผ้าฝ้ายพิมพ์ลายพิเศษมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า ของตกแต่ง ที่มีการออกแบบอย่างร่วมสมัยแล้ว ก็ยิ่งสร้างความนิยม และเกิดแรงบันดาลใจให้หันมาสวมใส่ผ้าฝ้ายไทยกันมากยิ่งขึ้น เพราะเล็งเห็นว่า นอกจากเนื้อผ้าฝ้ายจะใส่สบายแล้ว ลวดลายพิเศษที่ได้รับการออกแบบมายังดูทันสมัยเข้ากับเทรนด์แฟชั่นได้อย่างลงตัวอีกด้วย

 


You must be logged in to post a comment Login