- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 3 months ago
กรมธนารักษ์ขยายเวลาจองเหรียญบรมราชาภิเษก

นายอำนวย ปรีมนวงศ์ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า หลังจากกรมธนารักษ์เปิดจองเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เหรียญที่ระลึก และเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 4 พฤษภาคม 2562 จำนวน 3 ประเภท ประกอบด้วย เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 3 ชนิดราคา ได้แก่ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกทองคำ ชนิดราคา 19,000 บาท ประเภทขัดเงา ราคาจำหน่ายเหรียญละ 40,000 บาท เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเงิน ชนิดราคา 1,000 บาท ประเภทขัดเงา ราคาจำหน่ายเหรียญละ 3,000 บาท เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกโลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคา 20 บาท ประเภทธรรมดา จ่ายแลกเหรียญละ 20 บาท
สำหรับเหรียญที่ระลึก 3 ประเภท ได้แก่ เหรียญที่ระลึกแพลทินัม (Platinum) จำหน่ายราคาเหรียญละ 1,000,000 บาท เหรียญที่ระลึกเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ จำหน่ายราคาเหรียญละ 5,000 บาท เหรียญระลึกทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ จำหน่ายราคาเหรียญละ 3,000 บาท และเหรียญที่ระลึกประดับแพรแถบ ชนิดบุรุษ และสตรี จำหน่ายราคาเหรียญละ 1,600 บาท
อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมธนารักษ์ได้ร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด ทุกแห่งทั่วประเทศ เปิดเป็นหน่วยรับจองเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก และเหรียญที่ระลึกดังกล่าว โดยกำหนดเปิดรับจองตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม-4 เมษายน 2562 หลังจากรูปแบบเหรียญได้รับโปรดเกล้าเรียบร้อยแล้ว กรมธนารักษ์เตรียมเผยแพร่รูปแบบของเหรียญบรมราชาภิเษกให้ประชาชนทราบ และพร้อมขยายเวลาการจองเหรียญให้ล่วงเลยวันพิธีสำคัญของประเทศ เพื่อให้จองเหรียญกันได้อย่างทั่วถึง
“เหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 10 นับเป็นโอกาสสำคัญ นับตั้งแต่ปี 2493 ผ่านมาแล้ว 69 ปี ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชย์ ซึ่งแตกต่างจากเหรียญที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่าง ๆ จึงอยากให้ประชาชนจองเอาไว้เป็นที่ระลึก เพราะผลิตเพียงครั้งเดียวในรัชกาลที่ 10” นายอำนวย กล่าว
You must be logged in to post a comment Login