วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ขสมก.เอื้อเอกชน หวังแก้สัญญาอีทิคเก็ต

On October 25, 2018

ภายหลังจากที่ นายวีระพงษ์ วงศ์แหวน ประธานสหภาพฯ (สร.ขสมก.) พร้อมสมาชิกกว่า 100 ชีวิตยื่นหนังสือเลขที่ สร.ขสมก./513/2561ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2561 ถึงนายประยูร ช่วยแก้ว รักษาการ ผอ.ขสมก. เรื่องให้องค์การฯจ่ายค่าตอบแทนกรณีพนักงานเก็บค่าโดยสาร ปฏิบัติหน้าที่โดย ฉีกตั๋วคูปองให้ผู้โดยสารที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่องค์การยังมิได้จ่ายค่าตอบแทนหน้าตั๋วใบละ 10 สตางค์ของ พขร.และ พกส. 5 สตางค์ จากยอดฉีกตั๋วคูปองแทนยอดการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อุปกรณ์อีทิคเก็ตไม่สามารถใช้งานได้ ยาวข้ามปีกว่าจำนวนเงินรายได้ของ ขสมก.มากกว่า 70 ล้านบาท
ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนายธนธัช วิจิตลิมาภรณ์ ในฐานะประชาชนผู้เสียภาษีและเฝ้าติดตามความไม่ชอบมาพากลมาตลอด กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของสหภาพฯขสมก.ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก โดยเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2560 ขสมก.แถลงข่าวว่า ไม่สามารถติดตั้งระบบอีทิคเก็ตสำหรับอ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ครบทั้ง 800 คันเกิดปัญหาในการใช้บริการของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในครั้งนั้น นายวีระพงษ์ วงศ์แหวน ประธานสหภาพฯ
ขสมก.ออกมาระบุว่า บริษัท ช.ทวี จำกัด (มหาชน) คู่สัญญาของ ขสมก. ไม่สามารถติดตั้งระบบ อีทิคเก็ต ได้ตามสัญญาซึ่งบริษัทฯ จะต้องส่งมอบงานงวดที่ 2 ในวันที่ 12 ธ.ค. 2560 จำนวน 800 คัน และเนื่องจากนโยบายรัฐบาลได้ยกเลิกโครงการรถเมล์ฟรี ซึ่งมีรถจำนวน 800 คัน ในวันที่ 1 พ.ย. 2560 ขสมก.จึงได้ทำข้อตกลงกับบริษัท ช. ทวี ให้ทำการติดตั้งเครื่องอ่านบัตรบนรถโดยสารให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ต.ค. 2560 หากไม่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จ บริษัทฯ จะนำอุปกรณ์มือถือ โมบายโฟน มาให้ ขสมก.ใช้แทนเป็นการชั่วคราว และบริษัทฯ ตกลงรับผิดชอบชดใช้ค่าโดยสารกรณีผู้โดยสารที่นำบัตรฯ มาใช้กับอุปกรณ์มือถือตามจำนวนจริง
การใช้อุปกรณ์มือถือ โมบายโฟน หรือการให้พนักงานเก็บค่าโดยสารฉีกตั๋วคูปองให้ผู้โดยสารที่ถือบัตรคนจน หากระบบฯ ใช้งานไม่ได้ จะทำให้เกิดปัญหาในการตรวจสอบจำนวนผู้โดยสาร และการคำนวณเพื่อคิดค่าตอบแทนให้แก่พนักงานประจำรถ และรายได้ค่าโดยสารขององค์การ เนื่องจากข้อมูลจำนวนผู้โดยสารไม่สามารถเข้าสู่ระบบหลังบ้านของธนาคารกรุงไทยและกรมบัญชีกลางได้
นายธนธัช กล่าวต่อไปว่า ขสมก.ไม่สนใจความเสียหายที่เกิดขึ้นกับองค์กรฯ ขสมก. เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชนรายนี้มายาวนาน กระทั่งหมดอายุสัญญาโดยไม่สนใจระเบียบปฏิบัติเห็นได้ชัดในหลายประเด็นดังนี้
1. จริงๆจำนวนอุปกรณ์ อีทิคเก็ค 800 เครื่องที่เอกชนต้องส่งมอบให้ ขสมก. ต้องส่งมอบตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี60 ไม่ใช่ส่งมอบ 800 เครื่องในวันที่ 15 ตุลาคมปีนี้ แต่เรื่องนี้ ขสมก.ไม่เคยสนใจความเสียหายที่เกิดขึ้นกับองค์กรและกับประชาชนเลย รวมทั้งระยะเวลาสัญญาที่เลยกำหนดเวลาส่งมอบ 2,600 ชุดมาตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน61
2 .ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่อุปกรณ์ อีทิคเก็ตไม่เคยใช้ได้แม้แต่เครื่องเดียว เอกชนเสนอให้ใช้โมบายและการฉีกตั๋วคูปองเพื่อนับยอดค่าโดยสารในแต่ละวัน ขสมก.ไม่เคยพูดถึงข้อตกลงที่ทำไว้กับเอกชน โดยเฉพาะเรื่องที่เอกชนต้องรับผิดชอบค่าโดยสารแทนการที่เครื่องอีทิคเก็ตไม่สามารถหักยอดเงินค่าโดยสารจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ ซึ่งเงินรายได้ดังกล่าวของ ขสมก.รวมถึงค่าตอบแทนที่ ขสมก.ต้องจ่ายให้แก่ พขร. 10 สตางค์ และ พกส. 5 สตางค์ ซึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาและ ทีโออาร์ (TOR) ถ้าหากคำนวณตามตารางสรุปรายงานการใช้บริการบัตรสวัสดิการแบบประจำวันจากทุกเขตการเดินรถตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา มียอดผู้ใช้บริการประมาณวันละ 25,000 -30,000 คนต่อวัน รายได้ของ ขสมก.จากผู้ใช้บัตรคนจนจะอยู่ที่วันละ 195,000 บาท หรือเดือนละ 5,850,000 บาท เวลา1 ปีที่ผ่านมา ขสมก.ต้องมีรายได้ 70,200,000 บาท ซึ่งยอดเงินจำนวนนี้ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
ข้อ 3.การที่ ขสมก.อ้างคำว่า “สังคมไร้เงินสด”ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายไพรินทร์ ชูโชติรมช.คมนาคม ที่ว่า“อุปกรณ์ แคชบ็อกซ์ไม่เหมาะกับบ้านเราที่กำลังเข้าสู่ยุคสังคมไร้เงินสด” แท้ที่จริงแล้วเป็นการหาเหตุเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายนี้ เหตุผลที่แท้จริงก็คือเอกชนรายนี้ไม่มีขีดความสามารถจัดหาอุปกรณ์หยอดเหรียญหรือแคชบ็อกซ์ ที่สามารถนับเหรียญได้ 5เหรียญภายใน 1 วินาทีตามที่ระบุไว้ในทีโออาร์(TOR) และกรณีที่นางพนิดา ทองสุข ประธานกรรมการตรวจรับอุปกรณ์อีทิคเก็ต ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า ในวันศุกร์ที่ 26 ตุลาคมนี้ จะนำเรื่องแก้ไขสัญญาเครื่องเก็บค่าโดยสารแคชบ็อกซ์ กับบริษัท ช ทวีฯ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ขสมก. พิจารณา หากบอร์ดมีมติก็จะทำการแก้ไขสัญญา เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการตรวจรับอีทิคเก็ตได้ เพราะปัจจุบันแม้จะมีการเปิดใช้งานอีทิคเก็ตอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถตรวจรับอีทิคเก็ตได้ เนื่องจากสัญญาอีทิคเก็ตและกล่องเก็บค่าโดยสารยังอยู่ในสัญญาเดียวกัน หากนางพนิดา มีความต้องการแก้ไขสัญญา แสดงว่า ขสมก.มีความพยายามที่จะเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายขององค์กรและประชาชนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ดังนั้นในวันที่ 25ตุลาคม ตนจะไปยื่นหนังสือเพื่อเตือนบอร์ดทุกท่านแบบรายบุคคล หากมีมติให้แก้ไขสัญญาฉบับนี้ ตนจะแจ้งความดำเนินคดีอาญากับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งองค์กรและรายบุคคลอย่างแน่นอน


You must be logged in to post a comment Login