- เอาไม้หวดก้นให้เข็ดPosted 23 hours ago
- อย่าไร้จิตสำนึกPosted 2 days ago
- กระสุนตกPosted 3 days ago
- ไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวรPosted 4 days ago
- คดีตัดยอดหมดอนาคตPosted 1 week ago
- ต้องระวังไว้ด้วยPosted 1 week ago
- อย่าเผาเศรษฐกิจPosted 1 week ago
- ระวังความ “เสื่อม”Posted 1 week ago
- นึกถึงศีลธรรม-โลกร่มเย็นPosted 2 weeks ago
- รัฐบาลเอาศีลธรรมกลับมาPosted 2 weeks ago
“QTC”เตรียมเคาะลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำสปป.ลาวก.ค.นี้
นายพูลพิพัฒน์ ตันธนสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ QTC ผู้ผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้า เปิดเผยว่า การเข้าไปศึกษาการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาด 164 เมกะวัตต์ ร่วมกับ บริษัท เจริญ เซกอง กรุ๊ป จำกัด (CSG) ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้น คาดว่าจะสามารถได้ข้อสรุปในเดือนกรกฎาคม นี้
สำหรับบริษัท เจริญ เซกอง กรุ๊ป จำกัด หรือ CSG ถือเป็นผู้มีประสบการณ์ในการพัฒนาและเป็นเจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำหลายโครงการในลาว และมีแผนการเข้าไปลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ “น้ำเชียม” กำลังผลิต 104 เมกะวัตต์ และ “น้ำคาน 3” กำลังผลิต 60 เมกะวัตต์ ซึ่งทั้ง 2 โครงการจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์(COD) ภายในปีนี้
“บริษัทฯ คาดหวังในการเข้าไปลงทุนในโครงการดังกล่าวไม่น้อยกว่า 20% เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจในอนาคต และยังมีแผนการศึกษาการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำในลาว เพิ่มอีก 2-3 โครงการตั้งแต่ขนาดเล็กสุด 30 เมกะวัตต์ และขนาดใหญ่ 500 เมกะวัตต์ หลังจากโครงการแรกสรุปในเดือนกรกฎาคมนี้ ส่วนเม็ดเงินลงทุนมาจากเงินด้านโครงการพลังงานนั้นจะมาจากเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ” นายพูลพิพัฒน์กล่าว
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ หรือ QTC กล่าวเพิ่มว่า ปัจจุบันบริษัทฯมีการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าแล้ว 1 โครงการ คือ โครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์ในไทย “L Solar 1” กำลังผลิต 8 เมกะวัตต์ ที่อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ภายหลังจากการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในช่วงปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ในปี2561 คาดว่าจะรับรู้รายได้ประมาณ 140 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการปรับปรุงประสิทธิภาพของแผงเซลแสงอาทิตย์ เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ซึ่งทำให้มั่นใจว่าธุรกิจของบริษัทฯ จะมีการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาวได้อย่างแน่นอน
นอกจากนี้บริษัทฯ ตั้งเป้าว่าภายใน 5 ปี(2561-2565) จะมีรายได้แตะ 2,000-3,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นสัดส่วนรายได้จากธุรกิจไฟฟ้า 70% และธุรกิจจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้า 30% จากปัจจุบันที่สัดส่วนรายได้หลักจะยังคงมาจากการจำหน่ายหม้อแปลงเป็นหลัก โดยใช้กลยุทธ์การเข้าไปซื้อหุ้นในโรงไฟฟ้าที่ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว เพราะสามารถรับรู้รายได้ทันที
You must be logged in to post a comment Login