วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567

โรคโควิด-19 ในผู้สูงอายุ

On March 20, 2020

คอลัมน์ : พบหมอศิริราช

ผู้เขียน : ศ.นพ.ประเสริฐ  อัสสันตชัย

(โลกวันนี้วันสุข ประจำวันที่  20-27 มีนาคม 2563)

อาการของโรคโควิด-19 (COVID-19)

  • เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน
  • ส่วนมากเริ่มมีอาการหลังการได้รับเชื้อ 2-7 วัน
  • อาการ
    • ไข้ (อุณหภูมิกายวัดทางปากตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ผู้สูงอายุที่เปราะบางอาจใช้

เกณฑ์ 37.2 องศาเซลเซียส แต่โดยทั่วไปมักวัดอุณหภูมิด้วยเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิทัลทางช่องหูใช้เกณฑ์ 38 องศาเซลเซียสหรือบริเวณหน้าผาก ใช้เกณฑ์ 37.2 องศาเซลเซียส  อย่างไรก็ตามอาจไม่มีไข้ได้ครึ่งหนึ่งในคนที่ติดเชื้อในช่วงแรก)

  • อาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ หอบเหนื่อย
  • อ่อนเพลีย ปวดศีรษะหรือปวดเมื่อยตามตัว
  • ส่วนใหญ่มีอาการเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 80 หายได้เอง
  • ส่วนน้อยต้องรับไว้รักษาตัวในไอซียู ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร้อยละ 2-3 และเสียชีวิตร้อยละ 1-2
  • ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคร่วม เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคปอด เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการ

รุนแรงกว่า

โดยร้อยละ 10-30 อาจต้องรับไว้รักษาตัวในไอซียู และพบอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 4-11 ในผู้ที่

อายุ 65-84 ปี และร้อยละ 10-27 ในผู้ที่อายุ 85 ปีขึ้นไป

  • ผู้สูงอายุอาจมีอาการที่ไม่ตรงไปตรงมาเมื่อมีความเจ็บป่วย ข้อสังเกตคือ
  1. อ่อนเพลีย
  2. ซึมลง
  3. สับสนเฉียบพลัน
  4. เบื่ออาหาร หรือรับอาหารทางสายยางไม่ได้
  5. ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลงอย่างรวดเร็ว

การดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุทั่วไปในช่วงระบาดของโรคโควิด 19

  1. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในสถานที่ที่มีคนแออัด รักษาระยะห่าง (social distancing) จากผู้ที่ติดเชื้อ  2

เมตร หรือราว 2 ช่วงแขน

  1. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
  •  รับประทานยาประจำตัวให้สม่ำเสมอ
  • 4 อ. คือ อาหาร ออกกำลัง เอนกายพักผ่อน ออกห่างสังคมแออัด
  1. ปิดปากปิดจมูกเวลาไอจาม
  2. สวมหน้ากากอนามัย ในกรณี
  • มีอาการไข้หวัด ไอจาม
  • อยู่ในที่ที่มีคนแออัด
  • ไปโรงพยาบาลหรือสถานที่เสี่ยงหรือใกล้ชิดผู้ที่เสี่ยง
  1. ไม่เอามือสัมผัสหน้า จมูก ปาก
  2. ทำความสะอาดมือบ่อย ๆ โดย
  • ล้างมือด้วยสบู่ อย่างน้อยฟอกให้ทั่วมือเป็นเวลา 20 วินาที โดยเฉพาะตามง่ามมือ ซอกเล็บและ

เส้นลายมือที่มักจะฟอกไม่สะอาด และทำให้มือแห้ง 10 วินาที

  • อาจใช้แอลกอฮอล์เจล ที่มีแอลกอฮอล์ 70% โดยควรสังเกตวันหมดอายุ และหากเปิดทิ้งไว้นาน

แอลกอฮอล์จะระเหยทำให้เปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ลดลง

  1. ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านให้บ่อยขึ้น เนื่องจากเชื้อไวรัสอยู่บนพื้นผิวได้นานหลายวัน
  2. ผ่อนคลายความเครียด
  3. หากควบคุมโรคประจำตัวได้ดี อาจขออนุญาตแพทย์ที่ดูแล รับยาและเลื่อนนัดหมายให้นานกว่าปกติ ลด

การไปโรงพยาบาล

  1. การใช้สื่อและข้อมูลข่าวสาร
  • รับข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้
  • ไม่แชร์ โพสต์ ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
  • ลดการเสพข้อมูล
  • ส่งความรู้สึกที่ดี  ช่วยเหลือดูแลกันในสังคม มากกว่าการวิพากษ์วิจารณ์กล่าวโทษหาคนผิดในสังคมออนไลน์
  1. ช่วงที่ป่วย
  • รีบไปพบแพทย์ หรือโทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
  • แยกตัวจากผู้อื่น
  • หากมีไข้ที่เกิดจากโควิด 19 ไม่ควรใช้ยา ibuprofen (ไอบูโพรเฟ่น) ในการลดไข้ ให้ใช้พาราเซตา

มอล

  • ระวังการหกล้ม สับสน กินได้น้อย

โรคโควิด-19 กับผู้ป่วยสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมไม่ได้สัมพันธ์กับโควิด-19 โดยตรง แต่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยสมองเสื่อม ดังนี้

  • ผลของการจัดสภาพแวดล้อมให้แยกห่างจากผู้อื่น
    • รู้สึกไม่ปลอดภัย
    • เหงา เบื่อ
    • นอนไม่หลับ
    • วิตกกังวล
    • หงุดหงิด ก้าวร้าว
  • ผลจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยตรง
    • กังวล
    • กระสับกระส่าย
    • ซึม
    • ความสามารถในการประกอบกิจวัตรช่วยเหลือตนเองถดถอย
    • กินไม่ได้
  • ผลต่อผู้ดูแลผู้ป่วย
    • เครียด วิตก กังวลทั้งต่อสุขภาพของตนเอง และของผู้ป่วย
    • แพนิค
    • เหนื่อยล้า หมดไฟ (burn-out) รู้สึกขาดการช่วยเหลือ
    • เกิดประเด็นขัดแย้งกับผู้ป่วยมากขึ้น

การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19

  1. เฝ้าระวังอาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ซึมหรือไม่นอน เพ้อสับสน เห็นภาพหลอน เป็นต้น
  2. ผู้สูงอายุที่มีสมองเสื่อมอาจมีความสามารถในการดูแลความสะอาด สุขอนามัยส่วนตัวลดลง อาจจะหลงลืมการล้างมือ แนะนำให้มีป้ายเตือนให้ล้างมือไว้ภายในบริเวณอ่างล้างมือที่บ้าน และให้ผู้ดูแลช่วยสาธิตการล้างมือไปพร้อมกัน
  3. ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยหยิบจับบ่อย ๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น   แอลกอฮอล์ 70% เป็นต้น
  4. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่แออัด
  5. หากต้องจำกัดให้อยู่ในบ้าน ควรให้ได้ทำกิจกรรม งานอดิเรกต่างๆ และออกกำลังกาย
  6. วางแผนหาผู้ดูแลสำรองในกรณีผู้ดูแลเจ็บป่วย
  7. หากผู้ดูแล มีอาการสงสัยโรคโควิด-19 ควรแยกจากผู้ป่วยและเปลี่ยนผู้ดูแลได้ทันที
  8. หากอาการคงที่ อาจขออนุญาตแพทย์ที่ดูแล รับยาและเลื่อนนัดหมายให้นานกว่าปกติ เพื่อลดการไปโรงพยาบาล

You must be logged in to post a comment Login