วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ม.มหิดล แนะสร้างโอกาสการเรียนรู้จากค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ สู่การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

On November 11, 2022

“คาร์บอนฟุตพริ้นท์” (Carbon Foofprint) เกิดขึ้นได้จากทุกกิจกรรมของมนุษย์ แม้การใช้ข้อมูลดิจิทัลที่เกินกว่าความจำเป็น เป็นเหตุสำคัญทำให้เกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ซึ่งทำให้โลกร้อนขึ้นได้เช่นกัน

อาจารย์ ดร.พูนเพิ่ม วรรธนะพินทุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิทยบริการ  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่แต่ละบุคคล หรือองค์กรสร้างขึ้น ถือเป็น “โอกาส” ในการเรียนรู้จากผลกระทบ  เพื่อเป็นข้อมูลให้สามารถนำไปจัดการต่อได้ในอนาคต

นับเป็นเวลา 5 ทศวรรษแล้วที่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการจัดการเรียนการสอน วิจัย และบริการวิชาการเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน โดยในด้านอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อม ได้มีการจัดตั้ง ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม (ECO-INDUSTRY Research and Train Center) เพื่อดูแลในด้านดังกล่าวโดยเฉพาะ

ในขณะที่ทั่วโลกมีการตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องการวัดและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์กันอย่างกว้างขวาง โดยที่สหภาพยุโรป (EU) ได้มีการเตรียมประกาศ “มาตรการ CBAM” หรือ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป หรือในอีก 4 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นการกีดกันทุกสินค้านำเข้าที่มีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์สูงเกินจริง ที่จะทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อประเทศคู่ค้าทั่วโลก

Air Pollution From Industrial Plants. Large Plant on the Background of the City. Pipes Throwing Smoke in the Sky

จึงรอช้าไม่ได้ที่ทุกประเทศจะต้องมีการประกาศมาตรการวัดและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์กันอย่างจริงจัง โดยในส่วนของประเทศไทย คาดว่าในเร็วๆ นี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะได้มีการประกาศใช้พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกต่อไป

CO2 emissions. CO2 greenhouse gas emissions from factory chimneys. Carbon dioxide gas global air climate pollution. Carbon dioxide in earths atmosphere. Greenhouse gas. Smoke emissions from chimneys.

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น “Decarbonization” เพื่อการลดร่องรอยสู่ภาวะโลกร้อนดูเหมือนจะยังคงไม่บรรลุเป้าหมายเท่าที่ควร เนื่องจากติดปัญหาที่หลายองค์กรในประเทศยังขาดความเข้าใจ การกำหนดเป้าหมาย และทิศทางในการวัดและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่แน่นอนและมีประสิทธิภาพ

“อุปสรรคสำคัญที่พบเกิดจาก ผู้ประกอบการยังคงขาดความเข้าใจ ไม่ทราบว่าจะต้องวัดและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ไปเพื่ออะไร จึงไม่กล้าที่จะลงทุนในเรื่องดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภค ทำให้ขาดข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าและบริการไปด้วย” อาจารย์ ดร.พูนเพิ่ม วรรธนะพินทุ กล่าวอธิบายเพิ่มเติม

CO2 emissions. CO2 greenhouse gas emissions from factory chimneys. Carbon dioxide gas global air climate pollution. Carbon dioxide in earths atmosphere. Greenhouse gas. Smoke emissions from chimneys.

ซึ่งการจะทำอย่างไรให้เศรษฐกิจชาติไม่หยุดชะงัก และเกิดความยั่งยืนต่อไปได้ในอนาคต ทุกภาคส่วนควรพิจารณาใช้กลไกของ “Decarbonization” มาเป็นเกณฑ์ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดโลกร้อน โดยมีการวัดผล และติดตามอย่างเป็นระบบ

Smart agriculture IoT with hand planting tree background

ทันทีที่มีการประกาศใช้พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยจะได้เป็น “ประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน” ที่มีการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์อย่างเป็นรูปธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม (ECO-INDUSTRY Research and Train Center) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ พร้อมรับหน้าที่ “ปัญญาของแผ่นดิน” มอบองค์ความรู้ และให้คำปรึกษา ติดต่อได้ที่โทร. 0-2441-5000 ต่อ 1001 Facebook : ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม


You must be logged in to post a comment Login