วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ก.ล.ต. สานต่อโครงการ ฟินเทคยกระดับการพัฒนาตลาดทุนไทย

On September 28, 2017

ก.ล.ต. ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรจัดโครงการ FinTech Challenge ครั้งที่ 2 เพื่อสานต่อการพัฒนานวัตกรรมฟินเทคและต่อยอดการพัฒนาธุรกิจทางการเงิน การลงทุน และการประกันภัย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ก.ล.ต. ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร1 จัดโครงการ FinTech Challenge ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ Fast Forward for the Future เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2560 ณ โรงละครเคแบงค์สยามพิฆเนศ สยามสแควร์ วัน ซึ่งเป็นโครงการเพื่อ
เฟ้นหานวัตกรรมที่ตอบโจทย์หรือขจัดอุปสรรคที่เกิดขึ้นจริงในตลาดเงิน ตลาดทุน และประกันภัยของไทย
โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ และการนำฟินเทคมาปรับใช้กับการประกอบธุรกิจและการให้บริการ
นางทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)กล่าวว่า “โครงการ FinTech Challenge เป็นหนึ่งในการดำเนินการสำคัญที่ ก.ล.ต. และหน่วยงานพันธมิตรต้องการแสดงให้ทุกภาคส่วนเห็นถึงความตั้งใจที่จะเปิดรับความท้าทายต่าง ๆ และความมุ่งมั่นที่หน่วยงาน
กำกับดูแลจะปรับทั้งวิธีคิดและวิธีการทำงานเพื่อเป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันภาคการเงินและประเทศไทยให้ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยี เนื่องจากฟินเทคจะเข้ามาพลิกโฉมกระบวนการหรือวิธีการทำธุรกรรมต่าง ๆ ทั้งด้านการเงิน การลงทุน และการประกันภัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ภาคการเงินจึงต้องฉกฉวยโอกาสให้นวัตกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริงในไทย”KAG_2836
“ก.ล.ต. และหน่วยงานกำกับดูแลในภาคการเงินให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และวางกลยุทธ์ที่หลากหลาย
เพื่อเปิดพื้นที่ ขจัดอุปสรรค และส่งเสริมนวัตกรรมด้วยการสร้างระบบนิเวศ (ecosystem) หรือโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่เหมาะสม ขณะเดียวกันภาครัฐก็ให้การสนับสนุนโดยการผลักดันร่างกฎหมายส่งเสริมการประกอบธุรกิจและการเข้าถึงบริการของประชาชนด้วยเทคโนโลยีทางการเงินซึ่งได้ผ่านการรับฟังความเห็นจากประชาชนแล้ว และเมื่อมีผลบังคับใช้ก็จะทำให้ผู้ประกอบการเดิมและฟินเทคสตาร์ทอัพของไทยสามารถพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้บริการได้จริงอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ” นางทิพยสุดา กล่าวสรุป
สำหรับผลการแข่งขันผู้ได้รับทุนสนับสนุนนวัตกรรมทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ KAG_2327
(1) ทุนนวัตกรรมประเภท rising star สำหรับทีมที่เสนอแผนธุรกิจที่น่าสนใจและสามารถทำได้จริง จำนวน 2 ทีมได้แก่ ทีม noon และทีม UTUได้รับทุนทีมละ 100,000 บาท
(2) ทุนนวัตกรรมประเภท innovative จำนวน 100,000 บาท สำหรับทีมที่เสนอนวัตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการ ได้แก่ ทีม Flight DApp Bot
(3) ทุนนวัตกรรมประเภท popular vote จำนวน 50,000 บาท สำหรับทีมที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ได้แก่ ทีมWealth Me
นอกจากนี้ ยังมีการมอบทุนสนับสนุนนวัตกรรมทุนละ 20,000 บาท สำหรับทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ
ทั้ง 10 ทีม2 ด้วย
——————————————–
1หน่วยงานพันธมิตรประกอบด้วย 1. ธนาคารแห่งประเทศไทย 2. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม
การประกอบธุรกิจประกันภัย 3. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 4. เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย
5. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 6. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) 7. ศูนย์ C Asean 8. สมาคมฟินเทคประเทศไทย และ 9. สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่
2ทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 บริการช่วยผู้บริโภคตัดสินใจหรืออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการลงทุน ได้แก่
(1) Cryptovation.co – โรโบแอดไวเซอร์สำหรับการลงทุนใน cryptocurrencies
(2) StockRadars Gift – บัตรของขวัญเพื่อการลงทุนในหุ้น
(3) Wealth Me – เครื่องมือช่วยตัวแทนประกันชีวิตวางแผนทางการเงินให้ลูกค้า
(4) Moto Punk – แพลตฟอร์มช่วยลูกค้าเลือกดีลเช่าซื้อมอเตอร์ไซค์
กลุ่มที่ 2 กลุ่มบริการที่ช่วยผู้บริโภครักษาสิทธิ ได้แก่
(5) Flight DApp Bot – ระบบเคลมประกันอัตโนมัติด้วยบล็อกเชน
(6) UTU – แพลตฟอร์มใช้สิทธิแลกแต้มสะสมข้ามแบรนด์
กลุ่มที่ 3 บริการที่ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีของผู้เอาประกัน ได้แก่
(7) noon – ระบบบันทึกพฤติกรรมการขับขี่รถเพื่อเบี้ยประกันที่เป็นธรรม
(8) Insbee – ประกันรถยนต์ที่จูงใจพฤติกรรมที่ดีผ่านเพียร์คอมมิวนิตี้
กลุ่มที่ 4 บริการที่ช่วยส่งเสริมสังคม cashless ได้แก่
(9) VenDingCoin – E-wallet สำหรับตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ
กลุ่มที่ 5 กลุ่มระบบช่วยทางการและสถาบันการเงิน ตรวจจับการฟอกเงินได้แก่
(10) Siam RegTech – ระบบช่วยทางการและสถาบันการเงินตรวจจับการฟอกเงิน


You must be logged in to post a comment Login